หลักการพัฒนาเครือข่ายทำงานนอกระบบในการป้องกันและ แก้ไขปัญหายาเสพติดกลุ่มประชาชนวัยทำงาน ด้วยหลักพุทธธรรมกับศาสตร์พระราชา
The Principle of Non-Formal Working Network Development for the Prevention and Solution of Drug Problems in Working Age Group Using the Buddhist Principles and the King’s Philosophy
Keywords:
เครือข่ายทำงานนอกระบบ, การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด, หลักพุทธธรรมกับศาสตร์พระราชาAbstract
ปัญหายาเสพติดในกลุ่มประชากรวัยทำงานส่งผลต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งการทำงานในพื้นที่ที่ผ่านมาจะเห็นว่าส่วนใหญ่เครือข่ายทำงานนอกระบบยังไม่มีการพัฒนากิจกรรมขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มประชากรวัยทำงานอย่างต่อเนื่อง ผู้เขียนจึงได้สังเคราะห์บทความวิชาการนี้ วัตถุประสงค์ เพื่อเติมเต็มคุณค่าการทำงานจิตสาธารณะสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในกลุ่มประชาชนวัยทำงานสู่ความสำเร็จยั่งยืน ด้วยวิธีการสังเคราะห์กรอบแนวคิดหลักพุทธธรรม-อิทธิบาท 4 ผสานศาสตร์พระราชา-หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา และหลักการทำงานจิตอาสา เสริมด้วยศาสตร์ตะวันตก-วงจรคุณภาพ พร้อมนำบทเรียน แนวทาง และข้อค้นพบการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มประชาชนวัยทำงาน หาข้อสรุป ข้อเสนอแนะ โดยให้เหตุผลเชิงอุปนัย เป็นองค์ความรู้ใหม่ “4 ขั้นตอนความสำเร็จหัวใจอาสาทำงานสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติด” เริ่มจาก 1) การคิดวิเคราะห์เข้าใจวางแผนด้วยใจรักอาสาทำงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 2) การเพียรทำกิจกรรมอาสาเข้าถึงการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติด พร้อมพัฒนาคุณภาพชีวิต 3) การใส่ใจร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปบทเรียน และประเมินผล เข้าถึงแก่นงานอาสาป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 4) การหมั่นพิจารณาไตร่ตรองพัฒนางานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มประชาชนวัยทำงานให้ดียิ่งขึ้น หมุนเวียนเป็นวัฏจักร อันเป็นหลักสากลสามารถปรับประยุกต์ใช้ได้กับทุกคน มุ่งหวังให้กลุ่มประชาชนทุกช่วงวัย มีภูมิคุ้มกันยาเสพติด-คุณภาพชีวิตที่ดี มีระบบเฝ้าระวัง ติดตาม ดูแล และช่วยเหลือ ด้วยพลังเครือข่ายที่พึ่งพากันเองอย่างยั่งยืน พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงในอนาคตReferences
กระทรวงแรงงาน. (2564). แผนปฏิบัติการด้านแรงงาน (พ.ศ.2563-2565) ฉบับทบทวน พ.ศ.2564 เพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน.
กัญญารัตน์ นามวิเศษ. (2562). รูปแบบบริหารจัดการสถานศึกษาสีขาวปลอดภัยยาเสพติดและอบายมุขแบบมีส่วนร่วม. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 6(1): 21.
เบญจมาศ สุวรรณวงค์, พระมหาสุพร รกฺขีตธมฺโม, มนัสพล ยังทะเล, และเบญญาภา จิตมั่นคงภักดี. (2563). การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการใหม่เชิงพุทธเพื่อมุ่งสู่ ‘Smart City Korat Startup’. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา.
ปรัชญา ปานเกตุ. (2561). สารานุกรมศาสตร์พระราชา (Encyclopaedia of the King’s Philosophy). กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์ดี จำกัด.
ปราโมทย์ ไม้กลัด. (2559). การทรงงานของพ่อในความทรงจำ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัท โรงพิมพ์ตะวันออก จำกัด (มหาชน).
พระครูอุทัยธรรมานุกูล (สามารถ อิทธิญาโณ). (2560). พลังคิดบวกในการบริหารงานตามแนวพุทธ บูรณาการ. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร. 8(2): 97 99.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2548). ธรรมนูญชีวิต (ฉบับชาวบ้าน). กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
ภิรมย์ศักดิ์ กิจพัฒนาสมบัติ, เกษมชาติ นเรศเสนีย์, และบุญเรือง ศรีเหรัญ. (2561). ยุทธศาสตร์การสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาสิ่งเสพติดอย่างยั่งยืนในเยาวชนของกรุงเทพมหานคร. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 5(1): 131-142.
สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงาน ป.ป.ส. (2559). การปรับนโยบายการแก้ไขปัญหายาเสพติดของชาติ ประชารัฐร่วมใจสร้างหมู่บ้าน/ชุมชนมั่นคงปลอดภัยยาเสพติด พ.ศ. 2559-2560. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2565, จาก https://www.oncb.go.th/Home/downloadmanual/GuidelinesImplementPlanForOperations2016.pdf
สมคิด บางโม. (2558). องค์การและการจัดการ (Organization and Management). พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: บริษัท จูน พับลิชชิ่ง จำกัด.
สาโรจน์ โอพิทักษ์ชีวิน. (ม.ป.ป.). การจัดการและพฤติกรรมองค์กร: เพื่อสร้างและรักษาความได้เปรียบเชิงแข่งขันไว้ให้ยั่งยืนในโกลบอลไลเซชั่น (Management and Organization Behavior: Creatting and Sustaining Competitive Advantage in a Globalization). กรุงเทพฯ: บริษัท ซีวีแอล การพิมพ์ จำกัด.
สิน สื่อสวน. (2561). การส่งเสริมคุณธรรม “พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา” สร้างคนดีสู่สังคม. กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์ดี จำกัด.
สุนทรี สุริยะรังษี. (2560). การศึกษาแนวคิดและวิธีปฏิบัติของเครือข่ายบัณฑิตอาสาในภาคเหนือ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่.
สุวิชาญ รักษ์รตนากร. (2559). รวมพลังสถานประกอบการ ประชารัฐร่วมใจ ปลอดภัยยาเสพติด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์.
สุวิทย์ อินนามมา. (2553). แรงงานนอกระบบ: วิถีชีวิต การทำงาน การดูแลสุขภาพและสังคม กรณีศึกษากลุ่มเย็บผ้าตำบลบ้านเม็ง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. 5(3): 379.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2564). (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2565, จาก https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=plan13
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2563). แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2563-2565. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2564). แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2549). เศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงชีวิต. กรุงเทพฯ: สำนักงาน กปร. สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดลำพูน. (2553). เครือข่ายการดำเนินงานป้องกันยาเสพติดสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดลำพูน. ลำพูน: สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดลำพูน.
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับย่อ). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
อารีณะ วีระวัฒน์, เสาวลักษณ์ ศรีสุวรรณ, และนิภา ใจเรือน. (2560). องค์กรคุณธรรม สร้างคนดี สังคมดี. กรุงเทพฯ: บริษัท คอนเท้น ดีไซน์ จำกัด.
Kanato Manop, Sarasiri Rachanikorn and Leyatikul Poonrut. (2021). ASEAN Drug Monitoring Report 2020. Bangkok: ASEAN Narcotics Cooperation Center.
United Nations Office on Drugs and Crime (UNODC). (2022). World Drug Report 2020: 1 Executive Summary Policy Implications. Vienna: UNODC.
United Nations Office on Drugs and Crime (UNODC). (n.d.). Transition from Compulsory Centres for Drug Users to Voluntary Community-based Treatment and Services: Discussion Paper. Retrieved on June 20, 2022, from https://www.unodc.org/roseap/uploads/archive/documents/Publications/2015/hiv/Discussion_Paper_on_Transition_from_CCDUs_Edited_Final4_04Sept15.pdf
W. Edwards Deming. (1967). What Happened In Japan?. 2nd ed. Washington: Industrial Quality Control.