การพัฒนารูปแบบการสอนสังคมศึกษาตามทฤษฎีการสร้างความรู้ ร่วมกับแนวคิด Growth Mindset เพื่อส่งเสริมสมรรถนะ การจัดการเรียนรู้ของนิสิตการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา
A Development of Instructional Social Studies Teaching Model Based on Constructivist Theory and the Growth Mindset in Promoting Learning Management Competencies of Social Studies Program Students
Keywords:
รูปแบบการสอนสังคมศึกษา, ทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วม, แนวคิด Growth Mindset, สมรรถนะการจัดการเรียนรู้Abstract
การพัฒนารูปแบบการสอนสังคมศึกษาตามทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับแนวคิด Growth Mindset เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนิสิตการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ของวิจัย 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนสังคมศึกษาตามทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับแนวคิด Growth Mindset เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนิสิตการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการสอนสังคมศึกษาตามทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับแนวคิด Growth Mindset เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ซึ่งเป็นทักษะเพื่ออนาคตของนิสิตการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา 2.1) เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนิสิตการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษาหลังจากที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการสอนสังคมศึกษาตามทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับแนวคิด Growth Mindset 2.2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนิสิตการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการสอนสังคมศึกษาตามทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับแนวคิด Growth Mindset กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นิสิตที่ลงทะเบียนวิชา วิธีการสอนสังคมศึกษา 2 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 34 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัยในครั้งนี้คือ รูปแบบการสอนสังคมศึกษาตามทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับแนวคิด Growth Mindset เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนิสิตการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา 2) แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนิสิตการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนารูปแบบการสอนสังคมศึกษาตามทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับแนวคิด Growth Mindset เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนิสิตการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา ขั้นที่ 1 การสร้างความสนใจ (Building Interest) ขั้นที่ 2 การวางแผนเพื่อสำรวจและรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ (Planning for exploration and information collecting) ขั้นที่ 3 การไตร่ตรอง อภิปรายผล ขยายความรู้ (Deliberation, Discussion and Explanation) ขั้นที่ 4 การสะท้อนผล (Reflection) ขั้นที่ 5 การจัดโครงสร้างแนวคิดใหม่และการนำไปใช้ (Reorganizing the concept and Using) ผลการศึกษาความคิดเห็นของนิสิตการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการสอนสังคมศึกษาตามทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับแนวคิด Growth Mindset ประสิทธิภาพกระบวนการเรียนการสอนตามรูปแบบการสอนสังคมศึกษาตามทฤษฎีการสร้างความรู้ร่วมกับแนวคิด Growth Mindset โดยภาพรวมเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากReferences
รสวลีย์ อักษรวงศ์. (2561). การพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู โดยใช้การนิเทศตามกระบวนการระบบพี่เลี้ยง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น. 15(2): 486-497
วิทวัส ดวงภุมเมศ และวารีรัตน์ แก้วอุไร. (2560). การจัดการเรียนรู้ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการ เรียนรู้อย่างกระตือรือร้น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 11(2): 1-4.
วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ และ วรวรรณ นิมิตพงษ์กุล. (2562). สอนสร้างสรรค์ เรียนสนุกยุค 4.0. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ศิริรัชส์ อินสุข อภิชาติ อัจฉริยศักดิ์ชัย และ รณภพ อิ้มทับ. (2559). การจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุก รายวิชาชีวเคมี ตามกรอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช. ใน การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้ สู่ความยั่งยืน 17 มิถุนายน 2559 (น. 192 - 200). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.
Burnette, Jeni L; O’boyle; Ernest H; VanEpps; Eric M; Pollack, Jeffrey M; & Finkel, Eli J. (2013). Mind-sets Matter: A Meta-analytic Review of Implicit Theories and Self Regulation. Psychological Bulletin. 139(3): 655.
Eggen, P.D.; & Kauchak, D. P. (2006). Strategies and Models for Teachers Teaching Content and Thinking Skills. 5th ed. Boston: Pearson Education.
Cunningham, D. J., & Knuth, R. (1993). Tools for Constructivism: Designing Environments for Constructive Leaning. Berlin: Springer.
Dweck, C. S. (2006). Mindset: The New Psychology of Success. New York: Random House.
Joyce, B.; & Weil, M. (1996). Model of Teaching. 5th ed. Boston: Allyn and Bacon.
Glasersfeld, E.V. (1989). Constructivism in Education in the International Encyclopedia of Education: Research and Studies. New York: Pergamon Press.
Richardson, V. (1997). Constructivist Teacher Education: Building a World of New Under-Standings. London: Falmer.