ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมลดการทิ้งขยะของประชาชนบริเวณชายทะเลจังหวัดชลบุรี

Factors Effecting Waste Reduction Behaviors of the People in the Costal Area of Chonburi Province

Authors

  • มณีรัตน์ ภาคธูป คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • เยาวภา ปฐมศิริกุล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • รุจา รอดเข็ม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • ปฏิภาณ เกิดลาภ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
  • พงษ์สวัสดิ์ คชภูมิ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

Keywords:

พฤติกรรมลดการทิ้งขยะ, การลดการทิ้งขยะชุมชน, การลดการทิ้งขยะพลาสติก

Abstract

          ขยะบริเวณชายฝั่งทะเลและในทะเลเป็นปัญหาระดับโลก การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมลดการทิ้งขยะชุมชน พฤติกรรมลดการทิ้งขยะพลาสติก ระดับความรู้ ทัศนคติและการมีส่วนร่วมในการลดการทิ้งขยะโดยรวม 2) ปัจจัยทำนายพฤติกรรมลดการทิ้งขยะชุมชน และ 3) ปัจจัยทำนายพฤติกรรมลดการทิ้งขยะพลาสติก กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมทะเลจังหวัดชลบุรีจำนวน 400 คน ใน 5 กลุ่มตัวอย่าง การเก็บข้อมูลจากกลุ่มครัวเรือน และกลุ่มธุรกิจประมง ด้วยวิธีการสุ่มบ้านเว้นบ้าน กลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐ และกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารทะเล-ธุรกิจการท่องเที่ยวสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ส่วนกลุ่มนักเรียนใช้การสุ่มโรงเรียนและสุ่มห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติการถดถอยพหุ ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมลดการทิ้งขยะชุมชนอยู่ในระดับมาก ( =3.96,SD =.62) ซึ่งมากกว่าพฤติกรรมลดการทิ้งขยะพลาสติกที่อยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.87, SD =.59)  มีความรู้โดยรวม และมีทัศนคติโดยรวม เรื่องการลดการทิ้งขยะอยู่ในระดับมาก ( =.80,SD =.16 และ=3.77,SD =.49) และมีส่วนร่วมในการลดการทิ้งขยะโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.74,SD =.92)  2) ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการลดการทิ้งขยะชุมชนของประชาชน พบว่า มีตัวแปร 5 ตัวที่ร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 29.40 คือ (1) ความรู้เรื่องการแยกขยะ (2)ทัศนคติทางด้านปัญญา (3) ทัศนคติทางด้านพฤติกรรม (4) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานลดการทิ้งขยะ และ (5) การศึกษาระดับอุดมศึกษา 3) ปัจจัยทำนาย พฤติกรรมลดการทิ้งขยะพลาสติก พบว่ามีตัวแปร 5 ตัวที่ร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 17.10 คือ (1) ความรู้เรื่องผลกระทบของขยะ (2) ทัศนคติด้านปัญญาต่อการลดการทิ้งขยะ (3)การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานการลดการทิ้งขยะ (4) การศึกษาระดับอุดมศึกษา (5) เพศหญิง ผลจากการวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่า หน่วยงานรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีการส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ในเชิงลึก ที่สามารถเชื่อมโยงอันตรายของขยะชุมชนและขยะพลาสติกที่เกิดขึ้นบนบกและชายทะเลให้มากขึ้น และให้ประชาขนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานเรื่องการลดการทิ้งขยะเพิ่มขึ้น

References

กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย. (2562). รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านจังหวัดชลบุรี ปี พ.ศ.2562. ค้นเมื่อ 10 เมษายน 2562. สืบค้นจาก http://data.cbo.moph.go.th/DATA-PERSON.php

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2555). สถานการณ์ขยะทะเลปี พ.ศ. 2555. ค้้นเมื่อ 2 กย2565 สืบค้นจาก https:// km.dmcr. go.th/c_260/d_393 เมื่อ

ชมพูนุช ชัยรัตนะ และ ณัฐพล เฆขแดง. ( 2564). การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเกาะพิทักษ์ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร. วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น. 5 (1) , 29-49.

ธีราพร ตันทีปธรรม. (2554). การใช้เฟสบุ๊คที่มีผลกระทบต่อลีลาชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการส่งเสริม สุขภาพ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รัถยานภิศ รัชตะวรรณ ธมลวรรณ แก้วกระจก วรรณรัตน์ จงเขตกิจ ปิยะพร พรหมแก้ว ดาลิมา ส าแดงสาร ดลปภัฏ ทรงเลิศ .(2561) กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาสุขภาวะ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 11 ( 1), 231-238.

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2562). การหาขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย: มายาคติในการใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน และเครจซี-มอร์แกน.วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา l ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2562)

ศรัณย์ พิมพ์ทอง. (2564). การพัฒนาเครื่องมือวัดในการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพมหา นคร. : บริษัทบุ๊คพลัส พับลิชชิ่ง จำกัด.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. (2561). ส่วนที่ 1.2 ประเด็นปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ในจังหวัดชลบุรี. ชลบุรี : องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดชลบุรี.

Abun, D. ; Magallanes, T.; Encarnacion, M.J. ; Alkalde, F. & Somera, K. (2019). Investigation of Cognitive and Affective Attitude of Students toward Environment and Their Environmental Behavioural Intention to Join Environmental Movement and Energy Conservation . The International Journal of Business Management and Technology , 3 (6), pp.110-129.

Adam, I. ; Walker, T.R. ; Claytond, C.A. & Bezerra, J.C. (2021). Attitudinal and behavioural segments on single-use plastics in Ghana: Implications for reducing marine plastic pollution. Environmental Challenges. 4(2021) : 1-9.

Arilinqhaus, K.R. & Johnston. C. A. (2018). Advocating for Behavior Change with Education. American Journal Lifestyle Medicine. 12(2), 113-116.

Amin, MA, AL; Adrianto, L.; Kusumastanto, T. & Imran, Z. (2021). Community knowledge, attitudes and practices towards environmental conservation: Assessing influencing factors in Jor Bay Lombok Indonesia. Marine Policy.120 (2021) 104521; pp 1-10. Retrived from https://doi.org/10.1016/ j.marpol.2021. 104521

Bezzina, F. H. & Dimech, S. (2011). Investigating the determinants of recyclingbehaviour in Malta. International Journal. 22 (4), 463-485.

Droplet, A. & Aaker. J. (2002). Off-Target? Changing Cognitive-Based Attitudes. Journal of Consumer Psychology. 12(1), 59-68.

Fishbein, M., Ajzen, I. (1975). Belief, attitude, intention, and behavior: An introduction to theory and research. Addison-Wesley, Reading : MA.

Hahn, L. ; Buttlar, B. & Walther, E. (2021). Sustainable. 2021, 13, 2186. Retrived from https://doi.org/10.3390/su 13042186 pp1-10.

Hu, S. (2020). Beach Pollution. February 25, 2021 Retrived from https://www.nrdc.org/ stories/ beach- pollution-101

Landrigan, P. J. ; Stegeman, J. J. ; Fleming, L. L. ; Allemand, D. ; Anderson, D. M. ; Backer, L.C. ; Brucker- Davis, F. ; Chevalier, N.; Corra, L. ; Czerucka, D. ; Bottein, M –Y D. ; Demeneix, B. ; Depledge, M. ; Deheyn, D.D. ; Dorman, C.J. ; Fenichel, P. ; Fisher, S. ; Gaill, F. ; Galgani, F. ; Gaze, W. H.; ... Rampal, P. (2020). Human Health and Ocean Pollution.

Ann Glob Health. 86(1) : 151. Published online 2020. Dec 3. Doi 10.5335/aogh.2831

Millar, M.G. & Tesser, A. (1986). Effects of Affective and Cognitive Focus on the Attitude-Behavior Relation. American Psychological Association Inc. 51(2); 270-276.

Sanda, C. ; Takacs, E. ; Suaria, G. ; Borgogno, F. Laforsch, C. Loder, M. M.J.(2020) .Society Role in the Reduction of Plastic Pollution. The Handbook of Environmental Chemistry. doi:10.1007/698_2020_483 downloaded on 2020-06-20 pp 1-27.

Soares,J. ; Miguel, I., Venancio,C. ; Lopes, I. & Oliveira, M. (2021). Public views on plastic pollution: Knowledge, perceived impacts, and pro-environmental behaviours. Journal of Hazardous Materials. 412 (2021) 125227 p 1-8

Susak, M. (2016). Factors that Affect Classroom Participation. Thesis Degree of Master of Science in Rochester Institute of Technology-Croatia. Zagreb, Croatia.

Testa , J. (2018) The Effects of Participatory Beach Clean-ups on Attitude and Awareness towards Marine Biodiversity and Conservation at the Destin Jetties. J Oceanogr Mar Res 6: 187. doi: 10.4172/2572-3103.1000187

Williams, A.T. & Rangel-Buitrago, N. (2019). Marine Litter: Solutions for a Major Environmental Problem. Journal of Coastal Research. 35(3), 648-663. doi : 10.2112/JCOASTRES-D-18-00096.1

Women Engage for a Commom Future. (WECF). (2018). Plastics, Gender and Environment. Netherlands : Women Engage for a Commom Future.

Downloads

Published

2023-02-17