ผลตอบแทนทางสังคมของชาวประมงพื้นบ้านจากการสร้าง องค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนา สิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี
Social Return on Investment of Local Fishing Households from Environmental Knowledge Creation at The King’s Royally Initiated Laemphakbia Environmental Projects, Phetchaburi Province
Keywords:
ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน, ประมงพื้นบ้าน, แหลมผักเบี้ยAbstract
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงผลตอบแทนทางสังคมจากการสร้างองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่มีต่อกลุ่มอาชีพประมงพื้นบ้าน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่ ตัวอย่างจำนวน 70 ครัวเรือนที่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน การรวบรวมข้อมูลพื้นฐานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง การลงพื้นที่เก็บแบบสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการกำหนดโควต้า (Quota Sampling) และคัดเลือกตัวอย่างที่มีความคล้ายคลึงกันเพื่ออธิบายลักษณะของกลุ่มตัวอย่างได้อย่างชัดเจน (Homogeneous Sampling) ก่อนนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อประเมินผลตอบแทนทางสังคม (Social Return Investment; SROI) การศึกษาพบว่า งบประมาณเพื่อโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาของโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ 14,685,072 บาท ต่อกลุ่มอาชีพประมงพื้นบ้านบริเวณโดยรอบโครงการแหลมผักเบี้ยฯ ซึ่งจากการสนับสนุนเงินทุนวิจัยเพื่อการศึกษาจำนวน 2,995,340 บาท สามารถสร้างผลตอบแทนกลับคืนสู่สังคม 1 : 4.9 บาท กล่าวคือทุกการลงทุน 1 บาท จะสร้างผลตอบแทนกลับคืนสู่สังคม 4.9 บาท รวมทั้งการมีอยู่ของโครงการสามารถทำให้คนในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยการดำเนินงานของโครงการเกี่ยวกับการส่งเสริมและเผยแพร่เทคโนโลยีของโครงการออกสู่สาธารณะ จากการสร้างองค์ความรู้การวิจัยและพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมให้กับชุมชนและสังคม ทำให้ชุมชนสามารถนำสิ่งที่ได้ไปช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและสังคมให้กับชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพReferences
คณะกรรมการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัดเพชรบุรี. (2563). รายงานสถานการณ์ด้านทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งและการกัดเซาะชายฝั่งของจังหวัดเพชบุรี. สืบค้นจาก https://dmcr th.dmcr.go.th/attachment/dw/down load.php?WP=rUqjMT02qmIZG22DM7y04TyerPMjAT03qmyZAT1CM5O0hJatrTDo7o3Q
จันทร์ทิพย์ ไพเพอร์. (2564). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนของโครงการการรับผิดชอบต่อสังคมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (บริหารศาสตร์). สำนักบริหารและพัฒนาวิชากร มหาวิทยาลัยแม่โจ้. ถ่ายเอกสาร.
ไชยยะ คงมณี, พลากร สัตย์ซื่อ, และ ปุรวิชญ์ พิทยาพินันท์. (2561). ผลตอบแทนทางสังคมของโครงการวิจัยทาง
วิทยาศาสตร์ในชุดโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพารา. วารสารการจัดการสมัยใหม่. 16(2): 51-54.
สุกานดา โพธิพิทักษ์. (2560). การวัดค่าผลตอบแทนทางสังคมของโครงการฟาร์มสุกรภายใต้การลงทุนในโครงการที่มีการ
พัฒนาอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาบริษัท เอ จำกัด. บัญชีมหาบัณฑิต (สาขาบัญชี). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์. ถ่ายเอกสาร.
สฤณี อาชวานันทกุล และภัทราพร แย้มละออ. (2560). คู่มือการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมและผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
วัชนีพร เศรษฐสักโก. (2563). ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน: กรณีศึกษาโรงแรมรักษ์สิ่งแวดล้อมในประเทศไทย. วารสารวิชาชีพบัญชี. 16(50): 14-19.
Mark, C., Freeman, Ben, Groom, and Zachary, M., Turk. (2020). A Study to Determine the Appropriate
Social Discount Rate for the International Seabed Authority. Retrieved from https://isa.org.jm/files/files/documents/Freeman%20Groom%20and%20Turk%20%282020%29%20Social%20Discount%20Rates%20%20Post%20Review.pdf
Mayra Ortega Maldonado, Michael Corbey. (2016). Social Return on Invesment (SROI): a review of the technique. Management Accouting. (90), 80-87.
Nicholls, J. (2017). Social return on investment-Development and convergence. Eval Program Plann, (64), 127-135.