รูปแบบการขยายตัวของเมืองและการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ ที่ดินกรณีศึกษา ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
The Pattern of Urban Extension and Land Use Change: A Case Study of Nong Loo Sub-District Sangkhlaburi District Kanchanaburi Province
Keywords:
การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน, การขยายตัวของเมือง , หนองลูAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการตั้งถิ่นฐาน รูปแบบการขยายตัวของเมือง และวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงของการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณพื้นที่ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี โดยวิธีการแปลภาพถ่ายดาวเทียมและรูปถ่ายทางอากาศตามหลักการแปลภาพและตีความ เพื่อจำแนกและวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยจัดทำแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินระยะเวลา 50 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513, 2523, 2533, 2543, 2553 และ 2563 ผลจากการประเมินความถูกต้องของการจำแนกการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ศึกษา ค่าความถูกต้องโดยรวมเท่ากับ 84.17 เปอร์เซ็นต์ การศึกษาพบว่าชุมชนในตำบลหนองลูมีการตั้งถิ่นฐานแบบแนวยาว แบบกระจุกตัว และแบบกระจาย มีรูปแบบการขยายตัวของเมืองแบบ Distend grid และ Linear and integrated system movement จากการจำแนกและวิเคราะห์การใช้ที่ดินระหว่างปี พ.ศ. 2513 ถึง พ.ศ. 2563 พบว่าการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินมีสาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร นโยบายการสร้างเขื่อน การกลายเป็นเมืองท่องเที่ยว และการขยายตัวของชุมชน ตำบลหนองลูมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทไม้ยืนต้นเพิ่มขึ้นมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 6.287 ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ประเภททุ่งหญ้าธรรมชาติเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 3.202 ของพื้นที่ทั้งหมด และพื้นที่ประเภทพื้นที่ลุ่มเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 1.941 ของพื้นที่ทั้งหมด ตามลำดับ ในขณะที่พื้นที่ประเภทป่าผลัดใบลดลงมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 13.761 ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ประเภทไร่หมุนเวียนลดลงคิดเป็นร้อยละ 0.286 ของพื้นที่ทั้งหมด และพื้นที่ประเภทพืชไร่ลดลงคิดเป็นร้อยละ 0.094 ของพื้นที่ทั้งหมด ตามลำดับReferences
ฉัตรชัย พงศ์ประยูร. (2527). ภูมิศาสตร์เมือง. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิชย์.
ชลิตา เถยศิริ. (2560). รูปแบบการขยายตัวของพื้นที่เมืองและการกระทบต่อพื้นที่เปราะบางในจังหวัด สุราษฎร์ธานี. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การผังเมือง). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ถ่ายเอกสาร.
ญาณี เพลิงพิษ. (2559). แนวทางการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม กรณีศึกษา: ชุมชนมอญสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การออกแบบและวางผังชุมชนเมือง). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร. ถ่ายเอกสาร.
ณัชชา สกุลงาม เกรียงไกร เกิดศิริ และเกียรติคุณ อรศิริ ปาณินท์. (2555). ปัจจัยในการตั้งถิ่นฐาน และพลวัติของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนแพชุมชนพหุวัฒนธรรม: ชุมชนแพสะพานรันตี ต.ไล่โว่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี. หน้าจั่ว. 25: 21-44.
ดวงกมล พิหูสูตร. (2562). เรื่องจากปก: “เขื่อนวชิราลงกรณ” แหล่งน้ำที่สร้างพลังงานและชีวิต. วารสารสิ่งแวดล้อม. 23(2): 1-3.
นิสา พันยาง. (2558). การตั้งถิ่นฐานและการปรับตัวของชาวมุสลิมในเขตเทศบาลนคร จังหวัดพิษณุโลก. ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร. ถ่ายเอกสาร.
สรรค์ใจ กลิ่นดาว. (2542). ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์: หลักการเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานสถิติจังหวัดกาญจนบุรี. (2557). รายงานวิเคราะห์สถานการณ์การจัดทำข้อมูลเชิงพื้นที่ จังหวัดกาญจนบุรี. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2565, จาก http://osthailand.nic.go.th/masterplan_area/userfiles/file%20Download/Report%20Analysis%20Province.pdf
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2563). สถิติจำนวนประชากร. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2565, จาก https://stat.bora.dopa.go.th
สุรีรัตน์ อินทะจันทร์. (2551). การแปล ตีความภาพถ่ายดาวเทียม SPOT เพื่อหาพื้นที่ป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดินในทองที่จังหวัดนครพนม. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2565, จากhttp://frc.forest.ku.ac.th/frcdatabase/bulletin/Document/C00558.pdf
อภิชาติ ทัพวิเศษ. (2552). วงก่วนกว๊าดมอญ: ดนตรีชุมชนมอญ บ้านวังกะ หมู่ 2 ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (มานุษยดุริยางควิทยา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
อัญชัญ ตัณฑเทศ และวสินี ไขว้พันธุ์. (2560). การศึกษาสภาพวัฒนธรรมมอญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของกลุ่มมอญในอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน. กระแสวัฒนธรรม. 18(34): 40-51.