ปัจจัยทางชีวสังคมและความสามารถในการเอาชนะอุปสรรคของนักศึกษา สาขาวิชาการจัดการธุรกิจสายการบิน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
Biosocial Factors and Adversity Quotient of Airline Business Management Students, Bangkok University
Keywords:
ความสามารถในการเอาชนะอุปสรรค , การจัดการธุรกิจสายการบิน , นักศึกษาAbstract
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสามารถในการเอาชนะอุปสรรคของนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการธุรกิจสายการบิน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการเอาชนะอุปสรรคของนักศึกษากับปัจจัยทางชีวสังคมเมื่อจําาแนกตามเพศ ชั้นปี รายได้ของครอบครัว และผลการเรียน ตัวอย่างการวิจัยคือนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต จําานวน 240 คน จากสาขาวิชาการจัดการธุรกิจสายการบิน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ปีการศึกษา 2562 โดยการเลือกแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประเภทให้เลือกตอบและมาตรประเมินค่า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ค่าสถิติทดสอบทีที่เป็นอิสระต่อกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนหนึ่งทาง และการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ผลการวิจัยที่สําาคัญพบว่า ความสามารถในการเอาชนะอุปสรรคของนักศึกษาอยู่ในระดับค่อนข้างสูง และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อจําาแนกตามผลการเรียน แต่ความสามารถในการเอาชนะอุปสรรคของนักศึกษาไม่แตกต่างกันเมื่อมีเพศ ชั้นปี และรายได้ของครอบครัวแตกต่างกันReferences
กองเศรษฐกิจการบิน ฝ่ายส่งเสริมอุตสาหกรรมการบิน สํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย. (2562). รายงานสภาวะอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทย พ.ศ. 2561. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2563, จาก https://www.caat.or.th/th/archives/42379
กมลพร แสนพิพิธ. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารวิทยบริการ. 26 (3): 17-25.
กิ่งแก้ว ทรัพย์พระวงศ์ (2550). ความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการเอาชนะอุปสรรคของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี: รายงานการวิจัย ทุนอุดหนุนการวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
กิ่งแก้ว ทรัพย์พระวงศ์, ปรัศนีย์ เกศะบุตร และปิยวุฒิ ศิริมงคล. (2559). ภูมิหลัง ความสามารถในการสร้างสรรค์ และ ความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรค ที่ส่งผลต่อความตั้งใจเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. สุทธิปริทัศน์. 30(93): 86-99.
ธีระศักดิ์ กําบรรณารักษ์ (แปลและเรียบเรียง). (2548). AQ อึดเกินพิกัด. กรุงเทพฯ: บิสคิต.
ปัทมา นาแถมเงิน, ทัศน์ศิรินทร์ สว่างบุญ และกุลภัสสร ศิริพรรณ. (2560). การพัฒนาแบบวัดเชิงสถานการณ์เพื่อวัดความสามารถในการเผชิญและ ฟันฝ่าอุปสรรค (AQ) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 36(5): 54-62.
ภาณุศักดิ์ สว่างบุญ. (2558). การเลือกใช้บริการสายการบินต้นทุนตํา่า. วิทยานิพนธ์ ศ.ม. กรุงเทพฯ: คณะเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคําแหง. ถ่ายเอกสาร.
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. (2561). สาขาวิชาการจัดการธุรกิจสายการบิน. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2563, จาก https://www.bu.ac.th/th/humanities/airline-business-management
ลดารัตน์ ศรรักษ์. (2556). ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสถิติธุรกิจแบบผสมผสานของนักศึกษาคณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. วารสาร มฉก. วิชาการ. 17(33): 17-34.
วรรณกร เพชรด้วง. (2558). อิทธิพลของบุคลิกภาพและการขัดเกลาทางสังคมที่มีต่อ ความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคของนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 41(2): 109-128.
สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2559). คุณภาพชีวิตต่างวัยของคนมีงานทํา.กรุงเทพฯ: เดือนตุลา.
อารีย์ ขันติธรรมกุล. (2552). ความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคของนักศึกษา มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรีตามทฤษฎีของสตอลทซ์. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 11(3): 49-55.
Bakare, B. M. (2015). Students’ Adversity Quotient and Related Factors as Predictorsof Academic Achievement in the West African Senior School Certificate Examination in Southwestern Nigeria. Ibadan (Nigeria): University of Ibadan.
Cicchino, N. C. (2015). What is Adversity Quotient?. Retrieved January 4, 2020, from https://www.linkedin.com/pulse/what-adversity
Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. 2nd eds. Hillsdale, NJ: Lawrence Earlbaum Associates.
Cronbach, L. J. (1990). Essential of Psychological Testing. New York: Harper & Row.
Faul, F.; Erdfelder, E.; Buchner, A.; & Lang, A. G. (2009). Statistical Power Analyses Using G*Power 3.1: Test for Correlation and Regression Analyses. Behavior Research Methods. 41(4): 1149-1160.
Khairani, A. Z.; & Abdullah, S. M. S. (2018). Relationship between Adversity Quotient and Academic Wellbeing among Malaysian Undergraduates. Asian Journal Scientific Research. 11(1): 51-55.
Phoolka, E. S.; & Kaur, N. (2012). Adversity Quotient: A New Paradigm to Explore. Contemporary Business Studies. 3(4): 67-78.
Relojo-Howell, D. (2016). The Role of Adversity Quotient in Dealing with Everyday Challenges. Retrieved January 4, 2020, from https://www.psychreg.org/adversity-quotient/
Stoltz, P.G. (1997). Adversity Quotient: Turning Obstacles into Opportunities. New York: Wiley & Sons.