ข้อตกลงหยุดยิงระหว่างรัฐบาลเมียนมากับกลุ่มชาติพันธุ์ ศึกษาเปรียบเทียบกรณีคะฉิ่น กับกลุ่มกะเหรี่ยง
The Ceasefire Agreements between the Governmentof the Union of Myanmar and Ethnic Groups:A Comparative Study on Kachin and Karen
Keywords:
ข้อตกลงหยุดยิง, คะฉิ่น, กะเหรี่ยง, กลุ่มชาติพันธุ์, เมียนมาAbstract
การทำข้อตกลงหยุดยิงในบริเวณพื้นที่ที่มีความขัดแย้งในปัจจุบันพบว่า เป็นการแก้ไขปัญหาอันเกิดจากความขัดแย้งภายในประเทศ หรือจากการทำสงครามกลางเมืองมากกว่าการยุติสงครามระหว่างรัฐที่ปรากฏในช่วงแรก ๆ ของการทำข้อตกลงหยุดยิง โดยการทำข้อตกลงหยุดยิงเริ่มต้นขึ้นในช่วงคริสตมาสระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยเป็นข้อตกลงหยุดยิงระหว่างกลุ่มรัฐฝ่ายมหาอำนาจกลางและกลุ่มรัฐฝ่ายสัมพันธมิตร แต่ในปัจจุบันข้อตกลงหยุดยิงส่วนใหญ่ เป็นการลงนามระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มชาติพันธุ์ที่ต้องการแบ่งแยกดินแดน ทั้งนี้การศึกษาข้อตกลงหยุดยิงในบทความนี้ศึกษาการทำข้อตกลงหยุดยิงระหว่างรัฐบาลสหภาพเมียนมา กับ กลุ่มชาติพันธุ์หลักสองกลุ่ม คือ คะฉิ่น และกะเหรี่ยง โดยตั้งคำถามต่อการเสนอข้อตกลงหยุดยิงที่รัฐบาลเมียนมาเสนอต่อกลุ่มชาติพันธุ์ว่ามีจุดประสงค์อะไร และมีความเหมือนและความต่างของเนื้อหาของข้อตกลงหยุดยิงระหว่างสองกลุ่มชาติพันธุ์อย่างไร ผลการศึกษาพบว่าเนื้อหาของการทำข้อตกลงหยุดยิงระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์มีความแตกต่างและไม่เสมอภาคกัน ซึ่งข้อเสนอลงนามข้อตกลงหยุดยิงโดยรัฐบาลจะทำให้แต่ละกลุ่มชาติพันธุ์สนใจการลงนามข้อตกลงหยุดยิงมากกว่าหันมาร่วมมือกันเอง และยังเป็นการรักษาเป้าหมายหลักของรัฐบาลเมียนมาในการบริหารประเทศในด้านการแบ่งแยกไม่ได้ ทั้งนี้ความแตกต่างของเนื้อหาการทำข้อตกลงหยุดยิงยังเป็นอีกเหตุผลสำคัญของรัฐบาลที่ต้องการสร้างความไม่เสมอภาคกันของทางความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ ภายใต้กรอบแนวคิด การแบ่งแยกและปกครอง เป็นยุทธศาสตร์ที่รัฐบาลเมียนมายังคงไว้ นับตั้งแต่ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ทั้งยังเป็นการสร้างระบบอุปถัมภ์ อันเกิดจากการพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นระหว่างรัฐบาลทหารเมียนมาและกลุ่มชาติพันธุ์หลังการลงนามข้อตกลงหยุดยิงReferences
ประชาไท. (2557). สภากลุ่มชาติพันธุ์ในเมียนมายังสําารองที่นั่งให้ KNU แม้ถอนตัวจากการประชุม.สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2563, จาก https://prachatai.com/journal/2014/09/55391
พงษ์พันธุ์ ชุ่มใจ.(2562). ประชาไท: แกะรอยสันติภาพพม่า รัฐกะเหรี่ยง และสหพันธรัฐที่ยังสร้างไม่เสร็จ. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2563, จาก https://prachatai.com/journal/2019/02/81124
พรพิมล ตรีโชติ. (2542). ชนกลุ่มน้อยกับรัฐบาลพม่า. กรุงเทพฯ: สําานักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย.
Acemonglu, Daron; Robinson, James; & Verdier, Thierry. (2014). Kleptocracy and Divide and Rule: A Model of Personal Rule. Journal of European Economic Association Papers, 2(2-3): 162-192.
Bethke, Felix S. (2012). The Consequences of Divide-and-Rule Politics in Africa South of the Sahara. Peace Economics, Peace Science and Public Policy, 18(3): 1-13.
Brenner, David. (2017). Explaining the Roots of KNU Power Struggles. New Mandela. Retrieved January 5, 2020, from https://www.newmandala.org/knu-ceasefire-contestation-beneath-myanmars-peace-process/
____________. (2018). Inside the Karen Insurgency: Explaining Conflict and Conciliation in Myanmar’s Changing Borderlands. Asian Survey, 14(2): 83-99.
Clapaham, C. (1982). Private Patronage and Public Power: Political Clientelism in the Modern State. London: Pinter.
Eisenstadt, S.N. & Louis Roniger. (1980). Patron-Client Relations as a Model of StructuringSocial Exchange. Comparative Studies in Society and History, 22(1): 42-77.
Federer, Des Julia Palmiano. (2019). Myanmar in Search of a National Identity.Retrieved January 5, 2020, from https://reliefweb.int/report/myanmar/myanmar- search-national-identityFree
Rangers Burma. (2013). Burma Army Continues Road and Camp Improvements, Taking Advantage of the Ceasefire in Karen State. Retrieved January 5, 2020, from http://freeburmarangers.dreamhosters.com/2013/01/31/northern-mu-traw-district-karen-state-tense-peace-amidst-Burma-army-road-and-camp-improvements/
Htung, Yaw, (2018). Armed Conflicts between the Kachin Independence Organization and Myanmar Army: A Conflict Analysis. Thammasat Review, 21(2): 234-246.
Jacquet, Carine. (2018). Research Institute on Contemporary Southeast Asia: Contemporary Experiences Paving the Path to War. Bangkok: Open Editions Book.
Jolliffe, Kim. (2014). New Issues in Refugee Research Research Paper No. 271 Ceasefire and Durable Solutions in Myanmar: A Lesson Learnt Review. Switzerland: The UN Refugee Agency Policy Development and Evaluation Service.
__________. (2016). The Asia Foundation: Ceasefires, Governance and Development: The Karen National Union in Times of Change. Retrieved January 5, 2020, from: https://Asiafoundation.org/wp-content/uploads/2017/02/Ceasefires-Governance-and-Development-EN-Apr2017.pdf
KNU Departments. (2018). Karen National Union, Retrieved January 5, 2020, from https://www.knuhq.org/eng/public/department.
Lut, Zaw. (2013). Armed Conflict, Internally Displaced Persons and Protection in Kachin State, Myanmar. Thesis M.A. (International Development Studies). Bangkok: Faculty of Political Science, Chulalongkorn University. Photocopy.
Mitsubishi Corporation. (2013). Mitsubishi Corporation Invests in Yetagun Gas Field Project in Myanmar. Retrieved January 5, 2020, from https://www.mitsubishicorp.com/jp/en/pr/archive/2013/html/0000023190.html
Myanmar Times. (2014). What’s behind the KIO and KNU Split? Retrieved January 5, 2020, from https://www.mmtimes.com/opinion/11637-what-s-behind-the-knu- kio-split.html
Soe, Hein Ko. (2016). Frontier: The Federal State Debate. Retrieved January 5, 2020, from https://frontiermyanmar.net/en/the-federal-state-debate.
Taw, Shwe Thite. (2012). Karennews: KNU Delegation Table 11 Keys Points at Peace-Talks. Retrieved January 5, 2020, from http://karennews.org/2012/01/knu-delegation-table-11-keys-points-at-peace-talks/
The State of Local Governance: Trend in Kachin. (2015). Myanmar Survey Research UNDP, 14-22. Retrieved January 5, 2020, from http://www.burmalibrary.org/docs21/UNDP-2014The_State_of_Local_Governance-Trends_in_Kachin-en.pdf