การประยุกต์ใช้แนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนกับวิสาหกิจชุมชน

Applying the Circular Economy Concept to Community Enterprises

Authors

  • เลิศลักษณ์ เจริญสมบัติ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี

Keywords:

ประยุกต์ , เศรษฐกิจหมุนเวียน, วิสาหกิจชุมชน

Abstract

          แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน คือ แนวคิดในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจยุคใหม่ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน การนำแนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนไปปรับใช้กับวิสาหกิจชุมชนช่วยทำให้เกิดการลดต้นทุนการผลิต สร้างรายได้เพิ่มทั้งแก่ผู้ประกอบการและชุมชน ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสมดุลทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม หลักการนำระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนไปประยุกต์ใช้กับวิสาหกิจชุมชนมีดังนี้ 1) วิสาหกิจชุมชนจะต้องมีการออกแบบสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 2) ใช้แนวคิดขยะเหลือศูนย์มาปรับใช้ 3) มีการผลิตสินค้าที่หลากหลายชนิดเพื่อรองรับแนวคิด “ขยะเหลือศูนย์” 4) การขยายขอบเขตจากการผลิตเพื่อขายให้แก่ลูกค้าเพียงอย่างเดียวเป็นเพิ่มการบริการซ่อมแซม ปรับปรุง เพื่อให้อายุผลิตภัณฑ์มีอายุยาวนานขึ้น 5) ใช้พลังงานทดแทนเพื่อการผลิตให้มากขึ้น และอาศัยการมีส่วนร่วมจากชุมชนด้วยการสนับสนุนให้ประชาชนเกิดการคัดแยกขยะ และ 6) วิสาหกิจชุมชนก็รับซื้อขยะที่สามารถนำมาเป็นวัตถุดิบเพื่อการผลิตได้จากประชาชนในท้องถิ่น

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2549). วิสาหกิจชุมชนหนทางพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2563, จาก http://www.moac.go.th/ builder/aid/articleupdate.php?id=86.

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2559). เศรษฐกิจหมุนเวียน (CIRCULAR ECONOMY). สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2563, จาก https://thaiindustrialoffice.wordpress.com/2016/07/03/เศรษฐกิจหมุนเวียน-circular-economy/

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2562). Circular Economy หรือ แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2563, จาก http://www.industry.go.th/center_mng/index.php/2016-04-24-18-07-42/2016-04-24-18-09-38/2016-04-24-18-10-07/item/12060-circular- economy

ข่าวสด. (2561). เศรษฐกิจหมุนเวียน”ทางออกลดขยะโลก PTTGC เดินหน้าสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สีเขียว. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2563, จากhttps://www.khaosod.co.th/lifestyle/news_1005933

ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ และพิทยา ว่องกุล. (2554). วิสาหกิจชุมชน กลไกเศรษฐกิจฐานราก. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพลส โปรดักส์.ไทยโพสต์. (2561). เศรษฐกิจหมุนเวียน. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2563, จาก https://www.thaipost.net/main /detail/14927

พัทธ์ธีรา วงศราวิทย์. (2561). เศรษฐกิจหมุนเวียน. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2563, จาก https://www.prachachat.net/ columns/news-169313

วิชิต นันทสุวรรณ. (2547). ขบวนการชุมชนใหม่การพัฒนาแบบแผนใหม่ทางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน. กรุงเทพฯ: สําานักพิมพ์เจริญวิทย์การพิมพ์.

สมคิด จาตุศรีพิทักษ์. (2561). “เศรษฐกิจหมุนเวียน” ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่คือสิ่งสําาคัญต่อโลกที่ต้องช่วยกันขยาย. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2563, จาก https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9610000069039

เสรี พงศ์พิศ (2548). ฐานคิด จากแผนแม่บทสู่วิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์.

เสรี พงศ์พิศ. (2552). คู่มือทําาวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: พลังปัญญา.

สํานักข่าวสิ่งแวดล้อม. (2560). เศรษฐกิจหมุนเวียน เทรนด์ธุรกิจใหม่สู่ความยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2563, จาก https://greennews.agency/?p=16783 สํานักงานเกษตรอําาเภอลานสกา. (ม.ป.ป). บทความ (วิสาหกิจุชมชน). สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2563, จาก http://lansaka.nakhonsri.doae.go.th/index.php/2017-11-08-03-53-46/10-2017-11-08-07-27-26/14-2017-11-08-07-49-07

สํานักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2548). พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

เอสซีจี เคมิคอล. (2561). เศรษฐกิจหมุนเวียน – โอกาสใหม่ของธุรกิจเพื่อความยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2563, จาก http://www.allaroundplastics.com/article/sustainability/1898

Kalmykova, Y., Sadagopan, M. & Rosado, L. (2018). Circular Economy – from Review of Theories and Practices to Development of Implementation Tools. Resources, Conservation and Recycling, 135 (2018): 190-201.

Nguyen, H., Stuchtey, M., & Zils, M., (2014). Remaking the Industrial Economy: McKinsey Quarterly. Retrieved January 10, 2020, from https://www.mckinsey.com/business-functions/sustainability-and-resource-productivity/our-insights/ remaking-the-industrial-economy

Rashid, A., Farazee M. A. Asif, Peter Krajnik, & Cornel Mihai Nicolescu. (2013). Resource Conservative Manufacturing. Journal on Cleaner Production, 57: 166-177.

Wu, Hua-qing.; Shi, Y.; Xia, Q.; & Zhu, Wei-dong. (2014). Effectiveness of the Policy of Circular Economy in China: A DEA-Based Analysis for the Period of 11th Five-Year-Plan. Resources, Conservation and Recycling, 83: 163-175.

Yoshida, H. (2007). 3R Strategies for the Establishment of an International SoundMaterial-Cycle Society. Journal of Material Cycles and Waste Management,9(2): 101–111.

Zhu, Q.; Geng, Y.; & Lai, K. H. (2010). Circular Economy Practices among Chinese Manufacturers Varying in Environmental-Oriented Supply Chain Cooperation and the Performance Implications. Journal of Environmental Management,91(6): 1324-1331.

Downloads

Published

2024-04-29