การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง หน้าที่และมารยาทชาวพุทธ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้รูปแบบ EQFS Model
The Development Of Learning Achievement Buddhism Courses The Buddhist Duties And Etiquette For Matthayomsuksa 5 Students By EQFS Model
Keywords:
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, รูปแบบ EQFS Model, หน้าที่และมารยาทชาวพุทธAbstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง หน้าที่และมารยาทชาวพุทธ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้ EQFS Model 2) ประเมินพฤติกรรมในการแสดงออกที่ถูกต้องของหน้าที่และมารยาทชาวพุทธผ่านการประเมินวีดีทัศน์ เรื่อง หน้าที่และมารยาทชาวพุทธ ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ EQFS Model กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 จำนวน 32 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง หน้าที่และมารยาทชาวพุทธ โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ EQFS Model จำนวน 3 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน (pretest-posttest) เรื่อง หน้าที่และมารยาทชาวพุทธ และ 3) แบบประเมินพฤติกรรมในการแสดงออกที่ถูกต้องของหน้าที่และมารยาทชาวพุทธผ่านการประเมินวีดีทัศน์ เรื่อง หน้าที่และมารยาทชาวพุทธ ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ EQFS Model การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (dependent t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัย พบว่า (1.) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง หน้าที่และมารยาทชาวพุทธ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ EQFS Model หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2.) ผลการประเมินพฤติกรรมในการแสดงออกที่ถูกต้องของหน้าที่และมารยาทชาวพุทธของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 ที่มีต่อวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ EQFS Model โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมากReferences
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ทิศนา แขมณี. (2550). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ. ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาทักษะการคิด. กรุงเทพฯ: เทคนิคปริ้นติ้ง.
มารุต พัฒผลและวิชัย วงษ์ใหญ่. (2562). Passion-based Learning ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มารุต พัฒผลและวิชัย วงษ์ใหญ่. (2563). Hybrid Learning สมรรถนะที่พึงประสงค์ใน New normal. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
โรงเรียนมัธยมวัดบึงทองหลาง. (2560). แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาพุทธศักราช 2560 – 2564. กรุงเทพฯ: งานนโยบายและแผนฯ กลุ่มบริหารงบประมาณ.
สุฟิตรี ฮินนะ. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้ผังกราฟิกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา การคิดวิเคราะห์และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ไสว ฟักขาว. (2552). การเรียนรู้ตามสภาพจริง (Authentic Learning). ครุจันทรสาร, 2552 : 12(1) ), 15 – 21.
อารยา องค์เอี่ยม และ พงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล. (2561). การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย. วิสัญญีสาร, 2561 : 44(1) ), 36–42.
อรวรรณ ศรีโสมพันธ์. (2558). ประชากรและกลุ่มวิจัย : การวิจัยเชิงปริมาณ. สืบค้นจาก https://www.ubu.ac.th/web/files_up/08f2015112820164117.pdf