การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เพื่อประเมินระดับประสิทธิภาพการให้บริการระบบขนส่งสาธารณะ เมืองพิษณุโลก
Application of Geographic Information System to Evaluate Accessibility Levels of Public Transportation System in Mueang Phitsanulok District
Keywords:
ขนส่งสาธารณะ, ระดับประสิทธิภาพ, ระยะเดินเท้า, เมืองพิษณุโลกAbstract
ในอนาคตอันใกล้ จะมีโครงการรถไฟความเร็วสูงสายเหนือผ่านบริเวณพื้นที่เขตเมืองพิษณุโลก แต่ปัจจุบันระบบขนส่งสาธารณะยังไม่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บริการและยากต่อการเข้าถึงบริการ ในขณะเดียวกันสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม ได้จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเมืองพิษณุโลก เพื่อช่วยให้ระบบขนส่งสาธารณะเมืองพิษณุโลกมีประสิทธิภาพมากขึ้น รองรับโครงการรถไฟความเร็วสูงในอนาคต ตลอดจนการพัฒนาพื้นที่บริเวณโดยรอบสถานีขนส่งมวลชน (Transit Oriented Development : TOD) (สำนักงานจังหวัดพิษณุโลก. 2561) วัตถุประสงค์ในการวิจัยนี้เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบระดับประสิทธิภาพการเข้าใช้บริการรถโดยสารประจำทางหมวดที่ 1 ที่ให้บริการในปัจจุบันและตามแผนแม่บทฯในพื้นที่เขตเมืองพิษณุโลก โดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) ร่วมกับการวิเคราะห์ระดับการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ (Public transport accessibility level : PTAL) (Transport for London. 2010) ผลการวิจัย พบว่า พื้นที่บริการตามระยะเดินเท้าเพื่อเข้าใช้บริการรถโดยสารประจำทางหมวดที่ 1 ตามแผนแม่บทฯ มีขนาดพื้นที่ใหญ่กว่าการให้บริการปัจจุบันประมาณ 3.92 ตารางกิโลเมตร ในขณะที่ระดับประสิทธิภาพการเข้าใช้บริการ ในปัจจุบันของทุกช่วงเวลาอยู่ในระดับประสิทธิภาพที่ต่ำมาก (Very poor 1a (Low) และ Very poor 1b) แต่ระดับประสิทธิภาพการเข้าใช้บริการ ตามแผนแม่บทฯมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จากความถี่ในการให้บริการที่มากขึ้น ทำให้ผู้โดยสารใช้เวลาในการรอรถโดยสารประจำทางลดลง โดยมีค่าประสิทธิภาพในระดับ Very Good และพบในพื้นที่ประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก บริเวณศูนย์กลางเมืองใกล้กับสถานีรถไฟพิษณุโลก ดังนั้นถ้าหากมีการปรับปรุงโครงสร้างระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองพิษณุโลก จะช่วยลดปัญหาการจราจร และพัฒนาการเชื่อมโยงระบบขนส่งสาธารณะในพื้นที่ห่างไกลจากตัวเมือง รองรับการขยายตัวของเมืองพิษณุโลกในอนาคต เพื่อสนับสนุนโครงการอื่นๆ ในอนาคตของเมืองพิษณุโลกReferences
Associates, C. (1990). Transit - Oriented Development Design Guidelines. Retrieved August 20, 2019, from https://planning.saccounty.net/PlansandProjectsInProgress/Documents/General%20Plan %202030/GP%20Elements/TOD%20Guidelines.pdf
Transport for London, (2010). Public Transport Accessibility Levels. Retrieved September 5, 2019, from https://data.london.gov.uk/dataset/public-transport-accessibility-levels
วิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2561). การประมาณค่าในช่วงเชิงพื้นที่. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2562, จาก http://mining.eng.cmu.ac.th/site/wpcontent/uploads/2018/10/GIS4MN_ch6.pdf
ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย. (2561). Learning GIS. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2562, จาก http://www.gisthai.org/about-gis/gis.html
สถาบันวิจัยการเติบโตอย่างชาญฉลาดประเทศไทย. (2561). สรุปผลการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระบบขนส่งสาธารณะเมือง พิษณุโลก. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2562, จาก http://www.smartgrowththailand.org/otp-feasibility-mass-transit-phitsanulok/
สำนักงานจังหวัดพิษณุโลก. (2561). จังหวัดพิษณุโลก. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2562, จาก http://www.phitsanulok.go.th/index1.html
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. (2561). โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระบบขนส่งสาธารณะเมืองพิษณุโลก รายงานฉบับสมบูรณ์. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2562, จาก http://www.otp.go.th/index.php/edureport/view?id=138
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดพิษณุโลก. (2561). วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2562, จาก http://www.aecthaibiz.com/province/mission.html?pv=65