แนวทางการเพิ่มระดับความเข้าใจเรื่องกรรมในผู้สูงอายุ
The ways to increase level of understanding of karma in the elderly
Keywords:
สมเด็จพระญาณสังวร, หลักพุทธธรรม, กรรม , ผู้สูงอายุAbstract
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ประกอบด้วย (1) เพื่อศึกษาแนวทางตามหลักพุทธธรรมเกี่ยวกับความเข้าใจเรื่องกรรม และ (2) เพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มระดับความเข้าใจเรื่องกรรมในผู้สูงอายุ เป็นงานวิจัยคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เอกสารงานพระนิพนธ์ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับเรื่อง “กรรม” ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆ ปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) และ การวิเคราะห์แบบสัมภาษณ์ กับผู้ให้ข้อมูลหลักรวมจำนวน 12 รูป/คน ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิเคราะห์พบว่า 1) แนวทางตามหลักพุทธธรรมเกี่ยวกับความเข้าใจเรื่องกรรม มี 3 ประเด็นหลัก คือ ความเข้าใจในเรื่องของกรรมทั้งกรรมดีและกรรมไม่ดี การให้ผลของกรรม และ หลักหรือแนวทางในการประกอบกรรมดีไปจนถึงพ้นจากกรรม 2) แนวทางการเพิ่มระดับความเข้าใจเรื่องกรรมในผู้สูงอายุ จากสามแนวทางตามหลักพุทธธรรมเกี่ยวกับความเข้าใจเรื่องกรรม ประกอบด้วย แนวทางการเพิ่มระดับความเข้าใจเรื่องของกรรมทั้งกรรมดีและกรรมไม่ดีในผู้สูงอายุ พบว่า ควรมีการส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจความหมายของกรรมให้ครบถ้วนตามความหมายที่แท้จริงของกรรม สำหรับแนวทางการเพิ่มระดับความเข้าใจเรื่องของการให้ผลของกรรมในผู้สูงอายุ พบว่า ควรมีการส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับผลของกรรมว่าเกี่ยวเนื่องกับเรื่องของการกระทำ เวลาการกระทำกรรม รวมถึงความระดับของความรุนแรงในการกระทำกรรม และ แนวทางการเพิ่มระดับความเข้าใจเรื่องของหลักหรือแนวทางในการประกอบกรรมดีไปจนถึงพ้นจากกรรมในผู้สูงอายุ พบว่า ควรมีการน้อมนำหลักธรรมจากพระอริยสงฆ์ที่ผู้สูงอายุนับถือมาเป็นแนวทางในการประกอบกรรมดีที่เหมาะสมกับผู้สุงอายุรวมถึงส่งเสริมให้ผู้สูงอายุกระทำดีในส่วนที่กระทำอยู่แล้วให้ถูกต้องและสม่ำเสมอผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมReferences
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (ม.ป.ป.). อายุยืนอย่างมีคุณค่า. กรุงเทพฯ:ธรรมสภา.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2550). ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพฯ : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
มหามกุฏราชวิทยาลัย, มูลนิธิ. (2536). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับครบรอบ 200 ปี แห่งราชวงศ์จักรี กรุงรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช 2525. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สุเชาวน์ พลอยชุม. (2551). พระเกียรติคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) วัดบวรนิเวศ. กรุงเทพฯ : มหามงกุฏราชวิทยาลัย.
สํานักงานสถิติแห่งชาติ. (2555). สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553 (ทั่วราชอาณาจักร). กรุงเทพฯ. สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
สุพาภรณ์ กันยะติ๊บ. (2560). หลักพุทธธรรมกับการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ : กรณีศึกษา สถานปฏิบัติธรรมแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, เอกการจัดการสร้างเสริมสุขภาพ, คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อัมพร หุตะสิทธิ์. (2546). กรรม12 และการให้ผล. วิทยานิพนธ์. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาภาษาไทย, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
จิราพร เกศพิชญวัฒนา จันทร์เพ็ญ แสงเทียนฉาย และยุพิน อังสุโรจน์ และ Berit ingersoll-Dayto. (2543). ความสุขทางใจของผู้สูงอายุ: การศึกษาเชิงคุณภาพ. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. 1(3), 21-28.
จักรพันธ์ สุทธิธรรม. (2561). ศึกษาการรับผลกรรมในพุทธปรัชญาเถรวาทที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิต.วารสารพุทธมัคค์. 3 (1), 19-25.
บัวบุษรา อัครศรุติพงศ์. (2560). บูรณาการความเชื่อเรื่องกรรมและผลของกรรมในพุทธปรัชญาเถรวาทด้วยมหากัมมวิภังคสูตร.วารสารพุทธมัคค์. 2 (1), 43-52.
พระมหาสาคร วรธมโฺมภาโส. (2560). การศึกษาเชิงวิเคราะห์กฎแห่งกรรมที่ปรากฏในอรรถกถาธรรมบท. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา. 8 (2), 11-23.
สมบูรณ์ วัฒนะ. (2561) .พุทธปรัชญากับการดูแลผู้สูงอายุ. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม. 3 (2), 13-31.
สุมาลัย กาลวิบูลย์. (2554). การศึกษาวิเคราะห์ประเพณีสารทเดือนสิบกับแนวคิดเรื่องกรรมและการอุทิศส่วนกุศลในพุทธศาสนานิกายเถรวาท. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 3 (2), 94-128.
สุทัสศรี สายรวมญาติ. (2554). อิทธิพลของความเชื่อเรื่องกรรมที่มีต่อชีวิตของผู้สูงอายุ: ศึกษากรณีผู้สูงอายุในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางแค.วารสารวิทยบริการ. 22 (1), 73-84.
เสาวภา พรสิริพงษ์ ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์ และ ยงยุทธ บุราสิทธิ์. (2557). วัดในพุทธศาสนากับความพร้อมในการรองรับสังคมผู้สูงอายุ.วารสารภาษาและวัฒนธรรม. 33 (1), 99-125.