มิติเชิงพื้นที่และการบริโภคเชิงสัญญะของเสื้อผ้าวินเทจและ เสื้อผ้ามือสอง ในอำ เภอเมืองเชียงใหม่

Spatial Dimension and Consumption of Sign ofVintage and Second-Hand Clothes in Chiang Mai City

Authors

  • อนุตา ฐานะ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ชยา วรรธนะภูติ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

เสื้อผ้าวินเทจ, เสื้อผ้ามือสอง, พื้นที่, การบริโภคเชิงสัญญะ

Abstract

         กว่าสิบปีที่ผ่านมา ธุรกิจเสื้อผ้าวินเทจและเสื้อผ้ามือสองในประเทศไทยเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนสามารถสร้างภาพลักษณ์ใหม่ขึ้นมา จากเดิมที่คุณภาพของเสื้อผ้าวินเทจและเสื้อผ้ามือสองและ สถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมของผู้ซื้อมักถูกมองในแง่ลบ งานวิจัยเชิงคุณภาพชิ้นนี้มีจุดประสงค์เพื่อ ทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างคนกับเสื้อผ้าวินเทจและเสื้อผ้ามือสองที่แสดงออกในมิติเชิงพื้นที่ รวมถึงเหตุผลในการเลือกซื้อสินค้าและการบริโภคเชิงสัญญะของเสื้อผ้า จากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ประกอบการร้านเสื้อผ้าวินเทจและเสื้อผ้ามือสองทั้งหมด 10 ร้าน และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริโภค อีก 10 ราย ในอำ เภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าสามารถแบ่งร้านได้เป็น 2 ประเภท คือ ร้านที่นำสินค้ามาขายผ่านพ่อค้าคนกลาง และร้านที่เจ้าของร้านได้คัดเลือกสินค้าด้วยตนเองจากแหล่ง ผลิต สำ หรับร้านประเภทแรกมักพบใกล้ตลาดสดและตลาดนัดของอำ เภอเมืองเชียงใหม่ มีสินค้าหลาย ประเภทและช่วงราคาที่กว้าง ส่วนร้านประเภทที่ 2 ตั้งอยู่ใจกลางย่านธุรกิจติดห้างสรรพสินค้า และ ผู้ขายเพิ่มช่องทางการขายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ มีประเภทของสินค้าที่จำ เพาะเจาะจงและมีราคา ตั้งต้นสูงกว่าในร้านประเภทแรก ผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่จึงมีทั้งกลุ่มที่ซื้อเพื่อตอบสนองข้อจำกัด ทางเศรษฐกิจ และเพื่อเสพคุณค่าเชิงสัญลักษณ์ของเสื้อผ้า คุณค่าของสินค้าเสื้อผ้าวินเทจและเสื้อผ้า มือสองประกอบขึ้นจากการได้สัมผัสถึงคุณสมบัติทางกายภาพของตัวผ้า รวมถึงเรื่องราวและสถานที่ ต่าง ๆ ที่สินค้านั้น ๆ ได้ไปข้องเกี่ยว ร้านเสื้อผ้าวินเทจและร้านเสื้อผ้ามือสองจึงเป็นพื้นที่ที่ความจริง และความฝัน อดีตและปัจจุบันมาบรรจบกัน เป็นพื้นที่แห่งการแลกเปลี่ยนความรู้และเชื่อมความสัมพันธ์ อีกทั้งการได้สวมใส่เสื้อผ้ามือสองยังเป็นการเปลี่ยนพื้นที่ร่างกายให้เป็นพื้นที่ทางอัตลักษณ์อีกด้วย จะเห็นได้ว่าพื้นที่ทางกายภาพและพื้นที่ทางสังคมของทั้งร้านและสินค้าเสื้อผ้ามือสองมีความสัมพันธ์ ที่แยกกันไม่ออก

References

กบนอกกะลา. (2561). เสื้อมือสอง: เก่าของพี่ อินดี้ของผม. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2561, จากhttps://www.youtube.com/watch?v=C6BJuyyKnac

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2554). แนะนําาสกุลความคิดหลังโครงสร้างนิยม. กรุงเทพฯ: สมมติ.

ญาณิน จิวะกิดาการ หุยากรณ์. (2560). บทบรรณาธิการ: คนกลางเมือง. วารสารสังคมศาสตร์.29(2):7-10.

ฐิติมา ผการัตน์สกุล และ วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2558). กลยุทธ์ในการดําเนินธุรกิจเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 8(3): 538-552.

ตันติมา มะลิทิพย์. (2554). ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อเสื้อผ้ามือสองในอําาเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. (บริหารธุรกิจ). ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. ถ่ายเอกสาร.

ตวงทอง สรประเสริฐ. (2561). การสร้างคุณค่าของสินค้า “เสื้อยืดวินเทจ” ในประเทศไทย. การประชุมวิชาการเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ ๑๒ “ถิ่น-โลกนิยมในมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี: 253-267.

ธิดารัตน์ โชคบัณฑิต. (2549). พฤติกรรมการตั้งราคาสินค้ามือสอง กรณีศึกษาตลาดนัดจตุจักร กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ). กรุงเทพฯ: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ถ่ายเอกสาร.

ธีรดา มูลศิริ. (2559). From Rags to Display: จุดรวมพลคนรักของวินเทจ. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2561,จาก https://sg.asia-city.com/news/rags-to-display-cchudrwmphlkhnrakkhngwinethcch

บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล. (2553). อาหารไทใหญ่: เส้นทางการเคลื่อนที่และพื้นที่ทางสังคมในเมืองเชียงใหม่. วารสารสังคมศาสตร์, 22(2): 123-157.

ปฏิพาร์ เพชรศิริ, สิริวัฒน์ สุขศรีสวัสดิ์, ศิรินทิพย์ เหลืองสุดใจชื้น, ศิลป์ชัย เกษมเทวินทร์, สวรรยา รักอาชีพ, และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2560). รูปแบบและกลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจเสื้อผ้าค้าส่งในตลาดโบ๊เบ๊ กรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(2): 517-530.

พิรัชย์ชญา คล่องกําาไร. และ จุมพฎ บริราช. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าผ่านเฟซบุ๊กของกลุ่มเจเนอเรชั่นวายในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มข,12(1): 132-149.

ภูษณ สุวรรณภักดี. และ วิลาวัลย์ จันทร์ศรี. (2561, กรกฎาคม-ธันวาคม). อิทธิพลของความไว้วางใจ ทัศนคติ และส่วนประสมทางการตลาดต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดสงขลา. วารสารเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ,10(2): 21-38.

ศิรินทร์ ใจเที่ยง. (2549). ชีวิตสินค้ามือสองประเภทแฟชั่นเครื่องแต่งกายในตลาดนัดชั่วคราว: แง่มุมบางประการ. ใน สมรักษ์. ชัยสิงห์กานานนท์ (บรรณาธิการ), ตลาดในชีวิต ชีวิตในตลาด.กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

สัณฑิตา กาญจนพันธุ์. (2552). บทบรรณาธิการ: พื้นที่ สังคม ตัวตน. วารสารสังคมศาสตร์, 21(2): 7-10.

สุรศักดิ์ บุญรอด. และ เก็ตถวา บุญปราการ. (2557). พลวัตของตลาดนัดเกาะหมี: จากตลาดผลผลิตทางการเกษตรสู่ตลาดการค้าเสื้อผ้ามือสอง. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,6(1): 92-105.

อิทธิกร ศรีกุลวงศ์. (2561). สายใยเสื้อผ้ามือสอง. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2561, จาก https://www.sarakadee.com/2018/08/04/saiyai-second-hand-cloth/

เชียงใหม่นิวส์. (2561). EP.2 สายวินเทจห้ามพลาด!! แหล่งช้อปปิ้งเสื้อผ้ามือสอง ตํานานพิกุลเจริญเจริญ. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2562, จาก https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/678835

รีวิวเชียงใหม่. (2560). ลุยแหลกแหวกกองผ้าไปซ่าที่มาแรง. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2562, จาก https://www.reviewchiangmai.com/4647-p/

Appadurai, A. (1996). Modernity at Large:Cultural Dimensions of Globalization.London: University of Minnesota Press.

Baudrillard, J. (1981). For a Critique of the Political Economy of the Sign. St.Louis: Telos Press.

Brooks, A. (2013). Stretching Global Production Networks: The International Second-Hand Clothing Trade. Geoforum, 44: 10-22.

Chipambwa, W., Sithole, L., & Chisosa, D. F. (2016). Consumer Perceptions Towards Second-Hand Undergarments in Zimbabwe: A Case of Harare Urban Dwellers. InternationalJournal of Fashion Design, Technology and Education, 9(3): 176-182.

Cresswell, T. (2004). Place: A Short Introduction. London: Wiley. Gregson, N., & Crewe, L. (2003). Second-hand Culture. Oxford: BERG.

Guiot, D., & Roux, D. (2010). A Second-hand Shoppers’ Motivation Scale: Antecedents,Consequences, and Implications for Retailers. Journal of Retailing, 84(4):355-371.

Hansen, K. T. (2000). Other People’s Clothes? The International Second-hand Clothing Trade and Dress Practices in Zambia. Fashion Theory, 4(3): 245-274.

Jackson, P., Lowe, M., Miller, D., & Mort, F. (2000). Commercial Cultures: Economies,Practices, Spaces. Oxford: BERG.

Jenss, H. (2015). Fashioning Memory: Vintage Style and Youth Culture. London: Bloomsbury.

Lefebvre, H. (1991). The Production of Space. Malden, MA: Blackwell.Na’amneh, M. M., & Al Husban, A. K. (2012). Identity in Old Clothes: The Socio-CulturalDynamics of Second-Hand Clothing In Irbid, Jordan. Social Identities, 18(5): 609-621.

Ryding, D., Wang, M., Fox, C., & Xu, Y. (2017). A Review of Secondhand Luxury and Vintage Clothing. In: Henninger C., Alevizou P., Goworek H., & Ryding D. (eds), Sustainability in Fashion. Cham: Palgrave Macmillan.

Skinner, G. William. (1978). Cities and the hierarchy of local systems. In: Skinner, G. William (Eds.), The City in Late Imperial China. Stanford: Stanford University Press.

Stanes, E., & Gibson, C. (2017). Materials That Linger: An Embodied Geography of Polyester Clothes. Geoforum, 85: 27-36.

Steffen, A. (2017). Second-Hand Consumption as A Lifestyle Choice. In Bala, Christian and Schuldzinski, Wolfgang (Eds.). Proceedings of the International Conferenceon Consumer Research (ICCR) 2016: The 21st Century Consumer: Vulnerable,Responsible, Transparent?. Bonn: 189-207.

Thrift, N. (1999). Steps to an Ecology of Place. In D. Massey, P. Sarre, and J. Allen (Eds.), Human Geography Today. Oxford: Polity.

UN Commerical Trade. (2017). UN Comtrade Database. Retrieved on July 2, 2019, from https://comtrade.un.org/

Downloads

Published

2024-04-29