แนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการใช้ทนายความที่รัฐจัดหาให้ แก่ผู้ต้องหาหรือจำ เลยในคดีอาญา
The Problem-Solving Ways of Using Public Defender for the Alleged Offender or the Accused
Keywords:
สิทธิ, ทนายความ, กระบวนการยุติธรรมAbstract
ปัจจุบันประเทศไทยได้มีการบัญญัติกฎหมายเพื่อรับรองสิทธิของประชาชนในการเข้าถึง กระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม อีกทั้งเพื่อให้เกิดความสอดคล้องและ ต่อเนื่องในการอำ นวยความยุติธรรมดังกล่าว รัฐยังได้มีการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน ให้ได้รับความยุติธรรมอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะคนที่มีฐานะยากจนหรือเป็นคนชายขอบของสังคมที่มัก จะเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ยากกว่าคนกลุ่มอื่น ไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะตกอยู่ในฐานะผู้เสียหาย ผู้ต้องหา หรือจำ เลย โดยการจัดตั้งกองทุนยุติธรรม การให้บริการปรึกษาหรือช่วยเหลือทางกฎหมาย รวมไปถึงการให้ความช่วยเหลือด้านทนายความที่รัฐเป็นผู้จัดหาให้ในการต่อสู้คดีอันเป็นไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่อย่างไรก็ตาม การให้ความช่วยเหลือดังกล่าว โดยเฉพาะระบบการให้ความช่วยเหลือด้าน ทนายความที่แม้มีการปรับปรุง แก้ไขเพื่อให้การให้บริการเป็นไปอย่างรวดเร็ว บริสุทธิ์ ยุติธรรมแล้ว ก็ตาม ยังพบว่ามีปัญหาอีกมากมายที่แก้ไขไม่ตรงตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการคุ้มครองสิทธิ ของประชาชนให้เกิดความเป็นธรรมได้เท่าที่ควร ซึ่งในบทความนี้เป็นการรวบรวมปัญหาและแนวทาง เพื่อเป็นข้อเสนอแนะต่อการจัดทำ นโยบายที่นำ ไปสู่การแก้ไขปัญหาระบบทนายความที่รัฐจัดหาให้แก่ ผู้ต้องหาหรือจำ เลยให้เหมาะสมต่อไปReferences
เกรียงศักดิ์ ดําารงศักดิ์ศิริ. (2551). ปัญหาอำนาจฟ้องของผู้เสียหายในความผิดต่อแผ่นดิน. กรุงเทพฯ:สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม.
คณิต ณ นคร. (2549). กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
ณัฐกาญจน์ ทองคําา. (2558). ความสามารถในการดําเนินคดี: การจัดหาทนายความโดยรัฐให้จําาเลยในคดีอาญา. วิทยานิพนธ์ น.ม. (นิติศาสตร์) กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์ ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. ถ่ายเอกสาร.
Council of Europe. (1950). European Convention for the Protection of Human Rights and Fundamental Freedoms. Strasbourg: European Court of Human Rights, Council of Europe.
United Nations. (1990). Basic Principles on the Role of Lawyers. Retrieved on 1 October 2019, from https://www.un.org/ruleoflaw/files/UNBasicPrinciplesontheRoleof Lawyers.pdf