การเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ของแรงงานนอกระบบ ในจังหวัดเชียงใหม่

Preparation for Elder Life of Informal Workersin Chiang Mai Province

Authors

  • พิมลพรรณ บุญยะเสนา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สุขุม พันธุ์ณรงค์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

แรงงานนอกระบบ, วัยผู้สูงอายุ

Abstract

            บทความวิจัยนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสถานภาพ ทางสังคมและเศรษฐกิจของแรงงานนอกระบบที่จะเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ และการเตรียมความพร้อมของ แรงงานในการเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ทำการศึกษาโดยการเก็บแบบสอบถามจากแรงงานรับจ้างและแรงงาน ที่ประกอบอาชีพอิสระ อายุในช่วง 50-59 ปีจำ นวน 400 ราย ผลการศึกษาในกลุ่มแรงงานรับจ้าง พบว่า ส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่มีการศึกษาตํ่ากว่าระดับ ปริญญาตรีมีบ้านพักของตนเอง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำ งานนอกสถานที่ เช่น ขับรถรับจ้าง และ รับจ้างในภาคเกษตร มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 13,000 บาทต่อเดือน มีการออมเงินโดยการฝากเงินกับ ธนาคารเป็นหลัก และมูลค่าทรัพย์สินทางการเงินที่มีมากที่สุดคือ เงินฝากในธนาคาร รองลงมาคือ สลาก และเงินฝากในกองทุนหมู่บ้าน การประกันความเสี่ยงในชีวิต พบว่า ส่วนใหญ่แรงงานจะเลือกทำ ประกัน เกี ่ยวกับการรักษาพยาบาลเพื ่อใช้ในยามเจ็บป ่วย และการทำ ประกันชีวิตเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ ในยามชรา และกรณีเจ็บป่วย เสียชีวิต และกรณีทุพลภาพ ด้านสุขภาพ พบว่า มีแรงงานรับจ้างที่เจ็บป่วย และเป็นโรค ร้อยละ 53.37 ส่วนใหญ่ป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับความดัน โรคเบาหวาน และโรคเกี่ยวกับ สายตา ซึ่งจากการศึกษาพบว่า แรงงานมีค่าใช้จ่ายในการรักษาหัวใจสูงกว่าโรคชนิดอื่นๆ การเตรียม ความพร้อมในการเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ พบว่า แรงงานรับจ้างส่วนใหญ่คาดหวังว่าจะทำ งานเพื่อให้มีรายได้ จนถึงอายุเฉลี่ย 66 ปีมีความต้องการทำ งานในอาชีพเดิม อาชีพรับจ้างภาคเกษตร และทำ งานอิสระ เป็นอาชีพที่แรงงานมีความต้องการทำสูงกว่าอาชีพอื่น และมีความต้องการให้มีรายได้หลังเกษียณ ประมาณ เฉลี่ย11,000 บาทต่อเดือน ถึงจะเพียงพอต่อการยังชีพ และนอกจากรายได้จากการทำงานแล้ว ผู้สูงอายุยังมีรายได้จากช่องทางอื่นๆคือรายได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน ลูกหลานส่งมาให้และมีเงินออม ที่เก็บไว้การเตรียมความพร้อมด้านสังคม พบว่า ส่วนใหญ่แรงงานมีผู้ให้พึ่งพิง หรือพึ่งพาในยามชรา ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่จะดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว คือ บุตร สามี/ภรรยา และพี่น้อง

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2558). ประชากรจากทะเบียน / การเกิด / การตาย. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2558, จาก http://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries01.html

ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์ และปราโมทย์ ประสาทกุล. (2554). ประชากรไทยในอนาคต. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2558,จาก http://www.ipsr.mahidol.ac.th/IPSR/AnnualConference/ConferenceII/Article/Article02.html

พรทิพย์ เนติภารัตนกุล. (2557). ความพร้อมของแรงงานนอกระบบในประเทศไทยกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ. วารสารธรรมศาสตร์, 33(3): 135-148.

เพ็ญณี แนรอท และคณะ. (2553). การสังเคราะห์งานวิจัยผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2558,จาก http://www1.nrct.go.th/index.php?mod=contents&req=view&id=1340

เยาวลักษณ์ วงษ์ประภารัตน์. (2554). การศึกษาระบบเสริมสร้างสุขภาวะสู่แนวทางการพัฒนาของกลุ่มผู้สูงอายุบ้านสันทรายหลวง อ.สันทราย จ.เชียงใหม่. กรุงเทพฯ: สําานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

เล็ก สมบัติ. (2549). ภาวะการดูแลผู้สูงอายุของครอบครัวในปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: สําานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

สํานักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). บทสรุปผู้บริการ การสําารวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2557. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2558, จาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/elderlyworkExc57.pdf

_________________. (2558). สรุปผลที่สําคัญ การสํารวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ.2557. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2558, จาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/workerOutSum57.pdf

Downloads

Published

2024-04-30