มาตรการป้องกันปัญหาความรุนแรงชองนักเรียนอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
Preventive Measures Against Violence Problems among Vocational Students in Bangkok and Metropolitan Regions
Keywords:
มาตรการป้องกัน, ปัญหาความรุนแรง, นักเรียนอาชีวศึกษาAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหามาตรการป้องกันปัญหาความรุนแรงในนักเรียนอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยศึกษาจากสภาพปัญหาการใช้ความรุนแรงในอดีตถึงปัจจุบันเพื่อทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาการใช้ความรุนแรง โดยศึกษาจากเจ้าหน้าที่ภาครัฐ เจ้าหน้าที่ภาคประชาสังคม และกลุ่มนักเรียนอาชีวศึกษาที่มีประสบการณ์ตรง เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่าปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในนักเรียนอาชีวศึกษานั้นเกิดขึ้นมาจากหลายองค์ประกอบด้วยกัน เริ่มต้นจากครอบครัวในการเลี้ยงดูอบรมบ่มนิสัยและให้เวลาใส่ใจกับบุตรหลานซึ่งจะเป็นสิ่งที่หล่อหลอมพฤติกรรม อุปนิสัย ให้นักเรียนอาชีวศึกษามีสภาพจิตใจที่สมบูรณ์ซึ่งถ้าหากนักเรียนอาชีวะไม่ได้รับการเอาใจใส่เลี้ยงดูมาอย่างดีแล้วยังได้ซึมซับความรุนแรงของคนในครอบครัว จะส่งผลให้กลายเป็นนักเรียนอาชีวะที่ใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาสภาพวัฒนธรรมไทยที่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีนที่เป็นสังคมที่รักลูกไม่เท่ากันก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่นักเรียนอาชีวะเก็บเป็นปมชีวิตซึ่งนำมาสู่การใช้ความรุนแรงและด้วยสภาพสังคมที่เทคโนโลยีเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วก็ส่งผลถึงอารมณ์ พฤติกรรมของนักเรียนอาชีวะในยุคปัจจุบันที่มีอารมณ์ร้อนหงุดหงิดง่าย สมาธิสั้น และที่สำคัญที่สุดนั้นก็คือกลุ่มรุ่นพี่ที่เป็นผู้มีอิทธิพลต่อนักเรียนอาชีวะกลุ่มนี้ ในการปลูกฝังค่านิยมที่ผิดเดิมๆ จนทําให้นักเรียนอาชีวะที่มีปัญหามารวมตัวกันจนเกิดการใช้ความรุนแรงในที่สุดโดยมาตรการการป้องกันปัญหาให้มีประสิทธิภาพสูงสุดนั้นคือ มาตรการ 1 ตําารวจ 1 โรงเรียน มาตรการสุ่มตรวจค้นจากเจ้าหน้าที่ตํารวจ มาตรการเข้าวัดปฏิบัติธรรม มาตรการห้ามเข้าใกล้เส้นทางเสี่ยง มาตรการสลายกลุ่มรุ่นพี่นอกจากนี้ ยังพบว่า แท้จริงแล้วนักเรียนอาชีวะทุกคนต้องการมีชีวิตที่ดี มีชีวิตที่สมบูรณ์แบบแต่เมื่อตนเองเกิดมาในครอบครัวที่มีการดํารงชีวิตที่ยากลําาบากเอื้อต่อการกระทําผิด การใช้ความรุนแรงของนักเรียนอาชีวะเหล่านี้จะเลือกวิธีแก้ปัญหาโดยการใช้ความรุนแรงเพื่อให้เป็นที่ยอมรับในสังคมของตนเอง หากแต่ถ้าสังคมรอบข้างนักเรียนเหล่านี้ตระหนักถึงปัญหาก็สามารถร่วมกันแก้ไขให้นักเรียนอาชีวะเหล่านี้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาเป็นนักเรียนอาชีวะที่มีคุณภาพเหมือนเดิมReferences
กิตติพงษ์ กิตยารักษ์. 2543. กระบวนการยุติธรรมบนเส้นทางของการเปลี่ยนแปลง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์วิญญูชน.
เกียรติภูมิ วงศ์รจิต พิทักษ์พล บุณยมาลิก สุพัฒนา สุขสว่าง ศิริลักษณ์ สว่างวงศ์สิน ขวัญจิตต์นรากรพิจิตต์ และเชฏฐพล ชัยชนะฉิมพลี. (2552). การพัฒนาแบบประเมินความเสี่ยงต่อพฤติกรรมรุนแรงในนักเรียนอาชีวศึกษา. นนทบุรี: โรงพยาบาลศรีธัญญา กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข.
โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรการอบรมและกระบวนการด้านจิตตปัญญาศึกษา. (2551). การเจริญสติวิปัสสนา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม).
งามพิศ สัตย์สงวน. (2558). การวิจัยเชิงคุณภาพทางมานุษยวิทยา. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จุฑารัตน์ เอื้ออํานวย. (2548). กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์: การปรับกระบวนทัศน์กระบวนการยุติธรรมไทย. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. (สหวิทยาการ). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ถ่ายเอกสาร.
ชลัท ประเทืองรัตนา. (2556). แนวทางในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติระหว่างนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีปทุมวันกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออกวิทยาเขตอุเทนถวาย. วารสารพัฒนาบริหารศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. 53(3): 151-173.
นัทธี จิตสว่าง. (2543). Restorative Justice: กระบวนการยุติธรรมแนวใหม่ เหยื่อและชุมชนมีส่วนร่วม.จุลสารทัณฑวิทยา. 2(ตุลาคม 2543): 6-9.
นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ. (2553). การสร้างและพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น ตามแนวทางพระพุทธศาสนา. พระนครศรีอยุธยา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ปฐมพร ธาระวานิช. (2552). การนํากระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้สําหรับคดีอาญาที่อยู่ในเขตอํานาจของศาลแขวง. วิทยานิพนธ์ น.ม. (นิติศาสตร์). กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.
ระพีพัฒน์ ศรีมาลา. (2547). การใช้ความรุนแรงในนักเรียนมัธยมศึกษา กรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (สุขศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะคุรุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.
สุชา จันทร์เอม. (2522). จิตวิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
สรยุทธ จิโรภาส. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการทะเลาะวิวาทของนักศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ น.ม. (นิติศาสตร์). กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.ถ่ายเอกสาร.
Howard Zehr. (2005). Changing Lenses: A New Focus for Crime and Justice. 3rd ed. Scottdale: Herald Press.
Johnson, D.W. & Johnson, F.P. (1975). Joining Together: Group Theory and Group Skills. New Jersey: Prentice–Hall.
World Health Organization. (2015). Preventing Youth Violence: An Overview of The Evidence. Retrieved on April 10, 2019, from https://www.who.int/violence_injury_prevention/violence/youth/yv_infographic_small.pdf?ua=1&fbclid=IwAR2ROocJ4xkOvoQcsFrsi9QrHtuxbuIasSvO5l3HoqLnrIRuYdY64fwwmaw