เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยใจบันดาลแรงสู่แรงบันดาลใจเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน

The Political Economy of Motivationsto Counter Corruption

Authors

  • ต่อภัสสร์ ยมนาค คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ทักษอร ภุชงค์ประเวศ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อดิศักดิ์ สายประเสริฐ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • เบ็ญจลักษณ์ เด่นดวง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • กัญญารินทร์ เวียงอินทร์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

คอร์รัปชัน, ปลูกฝัง, แรงบันดาลใจ

Abstract

           งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาแรงบันดาลใจที่ส่งผล กระตุ้น หรือหล่อหลอมให้คนพร้อมมีส่วนร่วมในการทํางานเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยใช้กรอบแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์การเมืองเรื่อง Habitus ในการศึกษาจากโครงสร้างทางสังคมและลักษณะของปัจเจกบุคคลที่ทํางานเกี่ยวข้องกับการต่อต้านคอร์รัปชันมาเป็นเวลานาน มีความรู้ความเชี่ยวชาญเชิงประเด็นนี้อย่างลึกซึ้ง และมีประสบการณ์เกี่ยวกับการคอร์รัปชันและการต่อต้านคอร์รัปชันมาก ผลจากการวิจัยพบว่า แรงบันดาลใจเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชันชัน ซึ่งประกอบไปด้วยแรงบันดาลใจสู่จุดเริ่มต้นการทํางานต่อต้านคอร์รัปชันและ แรงบันดาลใจในการฝ่าฟันอุปสรรคในการต่อต้านคอร์รัปชันของกลุ่มคนเหล่านี้มีความครอบคลุมกว้างขวางในเชิงประเด็นและหลากหลายในกระบวนการรับรู้ มากกว่าเพียงการปลูกฝังจิตสําานึก คุณธรรมจริยธรรม ซึ่งเป็นหลักการสําคัญของโครงการต่อต้านคอร์รัปชันจํานวนมากในประเทศไทย นําไปสู่ข้อแนะในการขยายขอบเขตรูปแบบและประเด็นที่โครงการเหล่านี้นําเสนอให้กว้างขวางและครอบคลุมมาก เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสามารถเลือกรับแรงบันดาลใจที่ตนรับรู้ได้เหมาะสมที่สุดมาบันดาลให้เกิดเป็นแรงในการต่อต้านคอร์รัปชันในประเทศไทยต่อไป

References

โกวิทย์ กังสนันท์ ทิพาพร พิมพ์พิสุทธิ์ และเมธาวุฒิ พีรพรวิทูร. (2546). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง การพัฒนาองค์กรและเพิ่มขีดความสามารถของสําานักงาน ป.ป.ช. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.

ป.ป.ช. (2559). แผนแม่บท บูรณาการป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579). กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.

_____. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้าวยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3(พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.

พีระพงษ์ เตชะทัตตานนท์. (2560). สมการคอร์รัปชัน : แก้โจทย์ บวก ลบ คูณ หาย ในสังคมไทย.กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

วิโรจน์ ฆ้องวงศ์. (2546). การตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมิใช่ผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ปริญญานิพนธ์ น.ม.(นิติศาสตร์). กรุงเทพฯ:คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ถ่ายเอกสาร.

สุนีย์ ประสงค์บัณฑิต. (2553). แนวความคิดฮาบิทัสของปิแอร์ บูร์ดิเยอ กับทฤษฎีทางมานุษยวิทยา.กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

ACT. (2559). รายงานสรุปผลการจัดกระบวนการ โครงการ “ร้อยพลังต่อต้านคอร์รัปชัน”. กรุงเทพฯ: องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย).

ACT. (2560). ยุทธศาสตร์ 3ป. ขององค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย). สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม2560, จาก http://www.anticorruption.in.th/2016/th/ourjob.php#ourjob2_section

Barrett, M.; Barth, L.; Benton, T.; Blackshaw, T.; Cohen, I.J.; Heritage, J.; Holton, R.; Hughes, J.; Jessop, B. & Martin, K. (2007). Key Sociological Thinkers. 2nd ed. London: Palgrave Macmillan.

Bell, J.; Crossley, N.; Stephens, W.O.; Sullivan, S.; Leary, D.; Watkins, M.; Miner, R.; Lockwood, T.; MacMullan, T. & Fosl, P. (2013). A History of Habit: From Aristotleto Bourdieu. Lanham, MD: Lexington Books.

Bourdieu, P. (1977). Outline of a Theory of Practice. Cambridge, UK: Cambridge university press.

De Graaf, G. (2007). Causes of corruption: Towards a contextual theory of corruption. Public Administration Quarterly. 31(1): 39–86.

Goodman, J.E. & Silverstein, P.A. (2009). Bourdieu in Algeria: Colonial Politics, Ethnographic Practices, Theoretical Developments. Lincoln, Nebraska:University of Nebraska Press.

Hillier, J. & Rooksby, E. (2005). Habitus: A Sense of Place. 2nd ed. London: Ashgate Publishing.

Susan, N. & Budirahayu, T. (2018). Village Government Capacity in the Implementationof Village Law No. 6 of 2015 in Indonesia, in: Sustainable Future for Human Security. Singapore: Springer: 17–27.

Yomnak T. (2015). Corruption in Thailand: A Study of Corruption and Anti-Corruption Reforms in Thailand’s Construction Sector. PhD thesis (Development Studies).Cambridge: University of Cambridge. Photocopy.

Walther, M. (2014). Repatriation to France and Germany: A Comparative Study Based on Bourdieu’s Theory of Practice. Singapore: Springer.

Downloads

Published

2024-04-30