การศึกษาการเข้าถึงความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กระบวนการเรียนการสอน DACIR
A Study of Historical Empathy of Tenth Grade Student by Using DACIR Instructional Process
Keywords:
กระบวนการเรียนการสอน, DACIR, การสอนประวัติศาสตร์ , การเข้าถึงความรู้สึกทางประวัติศาสตร์Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเข้าถึงความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนการสอน DACIR 2) เปรียบเทียบการเข้าถึงความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนการสอน DACIR กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 ที่กําาลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เบญจมราชาลัย กรุงเทพมหานคร จําานวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดการเข้าถึงความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนหน่วยการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์โดยใช้กระบวนการเรียนการสอน DACIR จําานวน 3 หน่วยการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent)ผลการวิจัยสรุปได้ 2 ประการ ประการแรก คือ การเข้าถึงความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนการสอน DACIR มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดี ประการที่สอง คือ การเข้าถึงความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนการสอน DACIR หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05References
เฉลิม มลิลา นิติเขตต์ปรีชา. (2559). เทคนิควิธีการสอนประวัติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยรัตน์ โตศิลา. (2555). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ ค.ด.(หลักสูตรและการสอน). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2537). อารยธรรมไทย พื้นฐานทางประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: ประกายพรึก.
ซี. พี. ฮิล. (2513). คําแนะนําเรื่องการสอนประวัติศาสตร์. แปลโดย สํานักเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ. พระนคร: คุรุสภา.
ณรงค์ฤทธิ์ ศักดิ์แสน. (2560). ผลของการใช้กระบวนการเรียนการสอนแดคีร์ที่มีต่อการเข้าถึงความรู้สึกทางประวัติศาสตร์และเจตคติต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4.วิทยานิพนธ์ ศษ.ด. (การสอนสังคมศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. ถ่ายเอกสาร.
นิธิ เอียวศรีวงศ์ และอาคม พัฒิยะ (2525). หลักฐานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: บรรณกิจเทรดดิ้ง.พรเพ็ญ ฮั่นตระกูล. (2547). เอกสารคําสอน รายวิชา 415 501 ระเบียบวิธีวิจัยทางประวัติศาสตร์.นครปฐม: คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 9. นครปฐม: ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
โรเบอร์ต วี. แดเนียลส์. (2520). ศึกษาประวัติศาสตร์อย่างไรและทําไม. แปลโดย ธิดา สาระยา. กรุงเทพฯ: ดํารงการพิมพ์.
วงเดือน นาราสัจจ์. (2548). ประวัติศาสตร์: วิธีการและพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศุภณัฐ พานา. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามแนวคิดกระบวนการสืบสอบแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มร่วมกับแนวคิด Magic If เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์และการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ ค.ด. (หลักสูตรและการสอน). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.
สมศักดิ์ ชูโต. (2527). ประวัติศาสตร์. ใน ปรัชญาประวัติศาสตร์. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และสุชาติ สวัสดิ์ศรี (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
Barton, K. C.; & Levstik, L. S. (2004). Teaching History for the Common Good. Mahwah:Erlbaum.
Barton, K. C. (2005). Primary Sources in History: Breaking through the Myths. Phi Delta Kappan. 86(10): 745-753.
Centre for the Study of Historical Consciousness. (2014). The Historical Thinking Project Promoting Critical Historical Literacy for 21st Century. RetrievedSeptember 1, 2018, from http://historicalthinking.ca/historical-perspectives
Collingwood, R.G. (1978). The Idea of History. New York: Oxford University. Dark, F.; & Brown, S. (2003). A Systematic Approach to Improve Students’ Historical Thinking. The History Teacher. 34(4): 465-489.
Davis, O. L. Jr. (2001). In Pursuit of Historical Empathy. In Historical Empathy and Perspective Taking in the Social Studies. Davis, O.L Jr.; Yeagar, E.A.; & Foster, S. J. Lanham (eds). MD: Rowman and Littlefield.
Davison, M. (2012). ‘It is Really Hard Being in Their Shoes’: Developing Historical Empathy in Secondary School Students. Ph.D. (Education), Aukland: Faculty of Education, The University of Auckland. Photocopy.
Doppen, F. H. (2004). Beginning Social Studies Teachers’ Integration of Technology in the History Classroom. Theory and Research in Social Education. 32(2): 248-279.
Endacott, J.; & Brooks. S. (2013). An Updated Theoretical and Practical Model for Promoting Historical Empathy. Social Studies Research and Practice. 8(1): 41-58.
Jensen, J. (2008). Developing Historical Empathy through Debate: An Action Research Study. Social Studies Research and Practice. 3(1): 55-66.
National Center for History in the Schools. (1996). The National Standards for History.Retrieved September 1, 2018, from http://phi.history.ucla.edu/nchs/historical-thinking-standards/2-historical-comprehension/
Nye, A.; Hughes-Warrington, M.; Roe, J.; Russell, P.; Deacon, D.; & Kiem, P. (2011). Exploring Historical Thinking and Agency with Undergraduate History Students. Studies in Higher Education. 36(7): 763-780.
Monte-Sano, C. (2011). Beyond Reading Comprehension and Summary: Learning to Read and Write in History by Focusing on Evidence, Perspective, and Interpretation.The Ontario Institute for Studies in Education of the University of Toronto Curriculum Inquiry, 41(2): 212-249.
Seixas, P.; & Morton. T (2013). The Big Six Historical Thinking Concepts. Toronto: Nelson Education.Viator, G. M. (2012). Developing Historical Thinking through Questions. The Social Studies. 103(5): 198–200.