การรู้เชิงพื้นที่ต่อย่านกลางเมือง: กรณีศึกษา เทศบาลนครนครปฐม Spatial Cognition over a Downtown: A Case Study of Nakhon Pathom Authors พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ ธนาอร ปุญเกษม และ ช Pannee Cheewinsiriwat, Thana-orn Punkasem, and Chanita Daungyiwa Abstract ย่านกลางเมือง มีคำศัพท์ที่ใช้เรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น แต่ความหมายที่ทุกท้องถิ่นเข้าใจตรงกัน คือ บริเวณศูนย์กลางทางการบริหาร การปกครอง พาณิชยกรรม และคมนาคม ซึ่งเป็นศูนย์รวมกิจกรรมทางพื้นที่ที่สำคัญภายในเมือง แม้ในทางทฤษฏีจะสามารถตีกรอบขอบเขตความหมายของบริเวณย่านกลางเมืองได้ แต่ในทางปฏิบัติ บริเวณย่านกลางเมืองมีลักษณะเป็นนามธรรมของพื้นที่คลุมเครือ หรือพื้นที่ที่ไม่สามารถระบุขอบเขตได้อย่างแน่ชัด งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความแตกต่างของการรู้เชิงพื้นที่ต่อย่านกลางเมืองของผู้ที่อยู่อาศัยในบริเวณเทศบาลเมืองนครปฐม โดยมีสมมุติฐานว่า การรู้เชิงพื้นที่ของผู้อยู่อาศัยในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองนครปฐมต่อพื้นที่ย่านกลางเมืองมีความแตกต่างกันตามลักษณะพื้นฐานด้านประชากรของแต่ละบุคคลงานวิจัยนี้ใช้วิธีการทางภูมิศาสตร์พฤติกรรม และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่คาดว่าจะส่งผลให้เกิดความแตกต่างของการรู้เชิงพื้นที่ของแต่ละบุคคล ได้แก่ ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ และระดับการศึกษา รวมถึงแสดงแผนที่ขอบเขตย่านกลางเมืองของเทศบาลนครนครปฐมตามการรู้เชิงพื้นที่ของกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นประชาชนในพื้นที่ศึกษาจำนวน 55 คน ผลการวิจัยพบว่า บริเวณที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าเป็นย่านกลางเมือง คือ บริเวณรอบ ๆ องค์พระปฐมเจดีย์ โดยตัวแปรระยะเวลาที่อยู่อาศัยในพื้นที่และระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับการกำหนดขนาดและบริเวณของพื้นที่ย่านกลางเมืองคำสำคัญ: การรู้เชิงพื้นที่ ย่านกลางเมือง ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ภูมิศาสตร์พฤติกรรม Downloads PDF Issue Vol. 22 No. 1 (2562): วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 (มกราคม - ธันวาคม 2562) Section บทความวิจัย