พัฒนาการความสัมพันธ์ของไทยกับสหภาพเศรษฐกิจยูเรเชียผ่านหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน The Development of the Relation between Thailand and Eurasian Economic Union on China’s Belt and Road Initiative

Authors

  • จิราพร ตรีวิเศษศร และ กติมา พ่วงชิงงาม Jiraporn Treewisessorn and Katima Poungchingngam

Abstract

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง แนวโน้มและโอกาสของประเทศไทยจากการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพเศรษฐกิจยูเรเชียบนพื้นฐานของความสัมพันธ์ไทย-รัสเซีย ที่ศึกษาเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายและโอกาสความเป็นไปได้ของประเทศไทยต่อการบูรณาการเข้ากับภูมิภาคยูเรเชีย (Eurasia) อย่างการ บูรณาการเข้ากับสหภาพเศรษฐกิจยูเรเชียที่นำโดยรัสเซีย กับสหภาพเศรษฐกิจยูเรเชียที่นำโดยรัสเซีย ผ่านการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมใหม่ของจีน (Belt and Road Initiative) การศึกษาแนวคิดความเป็นภูมิภาค (Regionalism) และโครงสร้างนิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Structuralism) ในการวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า การรวมตัวกันในระดับภูมิภาคอย่างสหภาพเศรษฐกิจยูเรเชียเกิดขึ้นไม่นาน แต่ไทยก็ให้ความสนใจกับการเข้าร่วมกลุ่มดังกล่าว เพราะผลประโยชน์ในเรื่องตลาดการค้าและแหล่งทรัพยากรใหม่ โดยเฉพาะได้ใช้โอกาสจากการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการแถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม (Silk Road Economic Belt) ของจีน ไทยได้เข้าสู่ภูมิภาคยูเรเชียผ่านโครงสร้างพื้นฐานที่ไทยและจีนร่วมมือกันซึ่งผลประโยชน์ที่ได้รับย่อมส่งผลต่อความสัมพันธ์ความร่วมมือกับรัสเซียเช่นกัน การดำเนินนโยบายของไทยถือได้ว่าเป็นการสร้างโอกาสที่ดี ที่จะได้ผลประโยชน์จากการบูรณาการตนเองเข้ากับข้อริเริ่มของสองมหาอำนาจ คือ รัสเซียและจีน การศึกษาในประเด็นดังกล่าวในไทยยังขาดการศึกษาการดำเนินนโยบายของประเทศไทยกับสหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย โดยใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศลักษณะที่กล่าวไป ดังนั้นบทความนี้จะเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจปรากฏการณ์ในภูมิภาคยูเรเชียและความร่วมมือที่เป็นไปได้กับประเทศที่สามอย่างไทยคำสำคัญ: สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย ความคิดริเริ่มแถบเศรษฐกิจและเส้นทาง ไทย รัสเซีย จีน

Downloads