ความสัมพันธ์ที่ดีที่สุดระหว่างดัชนีพืชพรรณกับผลผลิตปาล์มน้ำมันจากทะลายผลสดด้วยภาพถ่ายดาวเทียมแลนด์แซท 8

Authors

  • สุจิตรา เจริญหิรัญยิ่งยศ

Abstract

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความพันธ์ที่ดีที่สุดระหว่างผลผลิตปาล์มน้ำมันจากทะลายผลสดกับค่าดัชนีพืชพรรณที่ได้จากภาพถ่ายจากดาวเทียมแลนด์แซท 8 ด้วยสมการถดถอยอย่างง่าย เพื่อคาดการณ์ผลผลิตปาล์มน้ำมัน ในจังหวัดบึงกาฬ   ข้อมูลปฐมภูมิที่จัดเก็บ ได้แก่ ผลผลิตปาล์มน้ำมัน และการจัดการพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันจากการสำรวจภาคสนามโดยตรง ข้อมูลทุติยภูมิ คือ ดาวน์โหลดภาพถ่ายจากดาวเทียมแลนด์แซท 8 บันทึกข้อมูลในเดือนธันวาคม 2559 ไปคำนวณค่าดัชนีพืชพรรณ 5 ดัชนี โดยแบ่งเป็นดัชนีที่ใช้ช่วงคลื่นสีแดงและอินฟราเรดใกล้ในการคำนวณ 2 ดัชนี ได้แก่ Ratio Vegetation Index (RVI)  และ Normalized Difference vegetation Index (NDVI)  และดัชนีที่ใช้ช่วงคลื่นอินฟราเรดคลื่นสั้นและอินฟราเรดใกล้ 3 ดัชนี ได้แก่ Moisture Stress Index (MSI) Normalized Difference Infrared Index (NDII) และ Normalize Difference Water Index (NDWI) ผลการวิจัยพบว่าค่าดัชนีพืชพรรณที่คำนวณด้วยช่วงคลื่นอินฟราเรดคลื่นสั้นและอินฟราเรดใกล้มีความสัมพันธ์กับผลผลิตปาล์มน้ำมันมากกว่าดัชนีที่ใช้ช่วงคลื่นสีแดงและอินฟราเรดใกล้  ซึ่งดัชนี NDWI   มีความสัมพันธ์กับผลผลิตปาล์มน้ำมันจากทะลายผลสดดีที่สุด ด้วยสมการ  y = 0.6443x - 0.1731 (R2=0.6172) จึงนำสมการความสัมพันธ์ที่ได้ ไปใช้ในการคาดการณ์ผลผลิตผลิตปาล์มน้ำมันในเดือนมกราคม 2560  และเมื่อนำผลผลิตที่ได้จากสมการไปเปรียบเทียบกับผลผลิตจริงที่เก็บได้ในพื้นที่ศึกษา พบว่ามีค่าความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (Root  Mean Square Error: RMSE) เท่ากับ 0.0789   ตันต่อไร่    จึงเสนอให้หน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องในด้านการกำหนดราคา และการนำเข้าส่งออกปาล์มน้ำมัน นำดัชนี NDWI  มาช่วยในการคาดการณ์ผลผลิตปาล์มน้ำมันภายในประเทศ ซึ่งจะทำสามารถบริหารจัดการผลผลิตปาล์มน้ำมัน กำหนดราคา คาดการณ์ปริมาณผลผลิตที่จะออกสู่ตลาดล่วงหน้าได้รวดเร็วกว่าการลงสำรวจข้อมูลในสนาม   คำสำคัญ:  ปาล์มน้ำมัน  ดัชนีพืชพรรณ  แลนด์แซท 8

Downloads

Published

2019-01-09