ปัญหาทางกฎหมายของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ: ศึกษาเฉพาะกรณีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวด 5 ว่าด้วย “หน้าที่ของรัฐ”
Abstract
งานวิจัยฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงปัญหาทางกฎหมายของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ: ศึกษาเฉพาะกรณีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวด 5 ว่าด้วย “หน้าที่ของรัฐ” ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่มีลักษณะบังคับเด็ดขาดให้รัฐต้องดำเนินการตามหน้าที่ของรัฐในด้านต่างๆ ซึ่งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้เล็งเห็นถึงสภาพปัญหาของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ และบทบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับอดีตที่ผ่านมา โดยรัฐมิได้ดำเนินการตามที่บทบัญญัติรัฐธรรมนูญในหมวดดังกล่าวที่ได้กำหนดให้สิทธิ เสรีภาพแก่ประชาชน รวมทั้งภารกิจด้านต่างๆของรัฐเอาไว้ จนประชาชนต้องเสียสิทธิและประโยชน์ที่ควรจะได้รับจากการดำเนินการของรัฐ เพื่อให้มีการดำเนินการตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญดังกล่าวคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจึงได้กำหนดบทบัญญัติหมวดใหม่ขึ้นมาชื่อว่า “หน้าที่ของรัฐ” ซึ่งบัญญัติไว้ในหมวด 5 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 จากการศึกษาพบว่า บทบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยหน้าที่ของรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้ให้ความสำคัญกับการกำหนดผลผูกพันทางกฎหมายให้มีลักษณะบังคับเด็ดขาดให้รัฐต้องดำเนินการตามหน้าที่ของรัฐ ซึ่งเป็นหน้าที่ที่สำคัญและมีความจำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดิน อีกทั้งที่สำคัญที่สุดคือ มีการกำหนดสิทธิให้แก่ประชาชนและชุมชนในการฟ้องร้องรัฐต่อศาล ในกรณีที่เห็นว่ารัฐไม่ดำเนินการตามหน้าที่ของรัฐ เพื่อให้ตนได้รับประโยชน์จากการดำเนินการหน้าที่ของรัฐ อย่างไรก็ตามแม้จะมีการกำหนดหน้าที่ของรัฐไว้ชัดเจนแล้ว แต่บทบัญญัติดังกล่าวยังปรากฏสภาพปัญหาในถ้อยคำ ความชัดเจน และรายละเอียดต่างๆทางกฎหมาย ดังนั้นจึงควรปรับปรุงบทบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยหน้าที่ของรัฐ โดยการแก้ไขถ้อยคำและมีการกำหนดรายละเอียดให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อให้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยหน้าที่ของรัฐมีความชัดเจนสามารถสนองต่อประโยชน์ที่จะเกิดกับประชาชนตามเจตนารมณ์ของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้อย่างแท้จริง คำสำคัญ: หน้าที่ของรัฐ, ผลผูกพันทางกฎหมายDownloads
Published
2019-01-09
Issue
Section
บทความวิจัย