ทัศนคติของความรักใคร่ในองค์กรที่มีต่อผลการปฏิบัติงานและความผูกพันต่อองค์กรของกลุ่มพนักงาน Gen Y ในเขตกรุงเทพมหานคร

Authors

  • ดวงใจ เลิศปัญญานุช1 และ ทวีศักดิ์ กฤษเจริญ2

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของความรักใคร่ในองค์กรที่มีต่อผลการปฏิบัติงานและความผูกพันต่อองค์กรของกลุ่มพนักงาน Gen Y ในเขตกรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานกลุ่ม Gen Y เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณที่นัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า ความรักใคร่แนวราบและความรักใคร่ระหว่างสายบังคับบัญชาส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานและความผูกพันต่อองค์กร ในขณะที่ความรักใคร่พัวพันคู่สมรสอื่นส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานเท่านั้น การวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับการบริหารทรัพยากรบุคคลในระยะยาว เนื่องจากองค์กรสามารถนำองค์ความรู้และผลการวิจัยที่เกี่ยวกับความรักใคร่ในองค์กรไปใช้ออกแบบกฎระเบียบ แบบแผน หรือวิธีปฏิบัติในด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ต่อไป   คำสำคัญ: ความรักใคร่ในองค์กร ความรักใคร่แนวราบ ความรักใคร่ระหว่างสายบังคับบัญชา ความรักใคร่พัวพันคู่สมรสอื่น ผลการปฏิบัติงาน ความผูกพันต่อองค์กร

Downloads

Published

2019-01-09