การประยุกต์ภูมิสารสนเทศศาสตร์เพื่อวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ลุ่มแม่น้ำปราจีนบุรีตอนล่าง
Abstract
การศึกษานี้นำเสนอการพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยบริเวณพื้นที่ลุ่มแม่น้ำปราจีนบุรีตอนล่าง มีพื้นที่ 1,361,630.90 ไร่ โดยกำหนดตัวแปรและใช้ระบบภูมิสารสนเทศในการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัย โดยวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วยการซ้อนทับข้อมูล โดยแบ่งพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยเป็น 3 ระดับ คือ สูง ปานกลาง และต่ำ รวมทั้งสร้างภาพฉายอนาคตสถานการณ์อุทุกภัยที่เกิดขึ้น โดยกำหนดสถานการณ์การเพิ่มของน้ำท่าออกเป็น 5 ช่วง ช่วงละ 2 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้โปรแกรม Arcgis 10.0 และ แบบจำลอง MIKE FLOOD ซึ่งข้อมูลในการวิเคราะห์ประกอบด้วย การใช้ประโยชน์ที่ดิน เส้นทางคมนาคม แบบจำลองภูมิประเทศ ชุดดิน แหล่งน้ำ พื้นที่น้ำท่วมพ.ศ. 2548 – 2556 และปริมาณน้ำฝนสูงสุดรายวัน ผลการวิเคราะห์พบว่าพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยสูงมีพื้นที่ 357,207.54 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่มากที่สุดในเขตอำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี มีพื้นที่ 127,559.06 ไร่ พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยปานกลางมีพื้นที่ 853,309.35 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่มากที่สุดในเขตอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยต่ำมีพื้นที่ 151,114.01 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่มากที่สุดในเขตอำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี และสร้างภาพฉายอนาคตโดยใช้แบบจำลอง Mike Flood เพื่อวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยและระดับน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในของลุ่มแม่น้ำปราจีนบุรีตอนล่าง โดยเมื่อปริมาณน้ำท่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2, 4, 6, 8 และ10 พบพื้นที่น้ำท่วมเท่ากับ 469,723.8, 471,456.2, 473,070.5, 475,155.8 และ 476,594.9 ตามลำดับ โดยพื้นที่พบอุทกภัยสูงที่สุดและมีระดับน้ำท่วมสูงที่สุดครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี คำสำคัญ: ภูมิสารสนเทศ แบบจำลอง Mike Flood 1นักศึกษาปริญญาโท คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี Master’s degree student, Faculty of Geoinformatics, Burapha University, Chonburi. 2ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี Assistant Professor, Faculty of Geoinformatics, Burapha University, Chonburi. 3อาจารย์ ดร. คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี Lecturer, Faculty of Geoinformatics, Burapha University, Chonburi. 4 รองศาสตราจารย์ ดร. ประจำภาควิชาภูมิสารสนเทศศาสตร์ คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี Associate Professor, Department of Geoinfprmatics, Faculty of Geoinformatics, Burapha University, Chonburi. Corresponding e-mail: nattakitsangiam@gmail.comDownloads
Published
2019-01-09
Issue
Section
บทความวิจัย