นโยบายมาลาเรียในยุคสงครามเย็นกับการขยายอำนาจรัฐเวชกรรมสู่ชนบทไทย ทศวรรษ 2490-2510
Abstract
บทความนี้ต้องการเสนอให้เห็นถึงจุดเปลี่ยนและผลของนโยบายควบคุมและกำจัดมาลาเรียในประเทศไทยในบริบทสงครามเย็น โดยจะเสนอให้เห็นถึงแนวนโยบายระดับโลกผ่านโครงการความช่วยเหลือจากต่างประเทศที่ส่งผลต่อการดำเนินนโยบายมาลาเรียในสังคมไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนยุติในกลางทศวรรษ 2510 สนใจวิเคราะห์ปฏิบัติการเข้าไปปราบยุงด้วยวิธีฉีดพ่นสารเคมีและรักษาคนป่วยในชนบทโดยเฉพาะในเขตป่าเขาห่างไกลทุรกันดารที่การบริการสาธารณสุขของรัฐไทยแทบย่างกรายไปไม่ถึงมาก่อนท่ามกลางบริบทของสงครามอุดมการณ์แย่งชิงมวลชน การจัดการมาลาเรียในช่วงดังกล่าวก่อให้เกิดการขยายอำนาจรัฐผ่านการทำแผนที่หมู่บ้านและครัวเรือนอย่างละเอียดเพื่อการฉีดพ่นกำจัดยุงและเข้าไปถึงในห้องนอนชาวบ้านและการตรวจร่างกายเพื่อหาเชื้อและรักษาจนการระบาดมาลาเรียลดลง แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของนโยบายรัฐและการเอื้อมอำนาจรัฐไปสู่ชนบทห่างไกลอย่างกว้างขวางไปพร้อมกัน คำสำคัญ ไข้จับสั่น นโยบายมาลาเรีย รัฐเวชกรรม สงครามเย็น ชนบทไทยDownloads
Published
2019-01-09
Issue
Section
บทความวิจัย