การศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาการบริหารงานของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์เขตกรุงเทพมหานคร

Authors

  • พระมหาทรงยศ แท่นยั้ง

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการบริหารงานของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์เขตกรุงเทพมหานครและศึกษาความเหมาะสมของแนวทางการแก้ไขปัญหาการบริหารงานของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์เขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมสนทนากลุ่มมีผู้เชี่ยวชาญและผู้บริหารงานศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ จำนวน 12 รูป / คน แบ่งเป็นพระภิกษุ 6 รูป ฆราวาส 6 คน โดยเป็นการเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มตัวอย่างที่แจกแบบสอบถาม ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์เขตกรุงเทพมหานคร  ปีการศึกษา 2559 กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 210/รูป /คน และใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยใช้ขนาดศูนย์เป็นชั้น แล้วทำการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงตั้งแต่ 0.60 – 1.00 ค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับเท่ากับ.975 การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ วิเคราะห์เนื้อหา ค่าความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าทีแทนกลุ่มตัวอย่างเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการบริหารงานของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เขต กรุงเทพมหานคร 1.1 ด้านวิชาการ คือ  หลักสูตรไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ขาดการพัฒนาให้ทันสมัย มีความซ้ำซ้อนกันไม่สอดคล้องกับผู้เรียน ครูผู้สอนไม่ได้ทำแผนการเรียนการสอน ขาดความรู้เรื่องการวัดและประเมินผล ขาดความรู้และทักษะในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  แนวทางการแก้ไขปัญหา คือ ศูนย์ควรมีหลักสูตรที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน หลักสูตรควรเป็นหลักสูตรเชิงปฏิบัติการ มีความยืดหยุ่น ควรพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับผู้เรียน จัดทำคู่มือ เกี่ยวกับ การทำแผนการสอน การวัดและประเมินผล 1.2 ด้านบุคลากร คือ บุคลากรขาดความต่อเนื่องในการดำเนินงาน คณะกรรมการบริหารมีการประชุมกันน้อยครั้งและไม่มีการกำหนดนโยบาย ผู้บริหารไม่มีความรู้เรื่องกระบวนการบริหารงาน สวัสดิการมีน้อย แนวทางการแก้ไขปัญหา คือ  คณะกรรมการบริหาร ควรมีการประชุมกันอย่างน้อยปีละ 2 ครั้งเพื่อกำหนดนโยบายและวางแผนทำงานควรจัดทำคู่มือการบริหารศูนย์พร้อมทั้งระบุขอบข่ายภาระงานให้ชัดเจน ควรมีการจัดสวัสดิการสำหรับบุคลากร 1.3 ด้านงบประมาณ คือ งบประมาณที่จัดสรรจากรัฐไม่เพียงพอ ไม่ได้จัดทำแผนงบประมาณเป็นรายปี การบริหารงบประมาณขาดการมีส่วนร่วม  แนวทางการแก้ปัญหา คือ ทางศูนย์ควรจัดตั้งกองทุนศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ โดยการระดมทุนจากภาคเอกชน หน่วยงานของรัฐและประชาชนทั่วไป มีการจัดทำแผนงบประมาณประจำปีให้เป็นลายลักษณ์อักษร  ควรเปิดโอกาสให้คณะทำงานมีส่วนร่วมในการบริหารงบประมาณ 1.4 ด้านชุมชน คือ ชุมชนไม่เห็นคุณค่าของศูนย์ที่มีต่อสังคมส่วนรวม  ศูนย์ไม่ได้ประสานงานกับผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน ขาดความร่วมมือกับชุมชนในการจัดกิจกรรมร่วมกัน แนวทางการแก้ไขปัญหา คือ ศูนย์ควรเชิญชุมชนเข้ามาร่วมกิจกรรมกับทางศูนย์ และเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม ควรมีการสร้างความตระหนักรู้ร่วมกันกับชุมชนเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมกิจกรรมของศูนย์ มีการประสานความร่วมมือจากผู้ปกครองและชุมชนให้มากขึ้น 1.5 ด้านผู้เรียนคือ ผู้เรียนมีจำนวนลดลง ผู้เรียนไม่เห็นคุณค่าของการมาเรียนในศูนย์ แนวทางการแก้ไขปัญหา คือ ทางศูนย์ควรทำข้อตกลงความร่วมมือกับสถานศึกษาใกล้เคียง เพื่อส่งนักเรียนเข้ามาเรียนในศูนย์ ควรมีการบริหารศูนย์ให้มีคุณภาพเพื่อเป็นการจูงใจนักเรียน  ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองและนักเรียนเห็นคุณค่าและประโยชน์ที่ได้จากการมาเรียนที่ศูนย์ 1.6 ด้านโครงสร้าง คือ โครงสร้างไม่ได้แบ่งภาระงานให้ชัดเจน โครงสร้างในการบริหารไม่สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบัน แนวทางการแก้ไขปัญหา คือ ศูนย์ขนาดเล็กควรปรับโครงสร้างให้เหมาะสมกับบริบท ทันสมัย โดยเทียบเคียงกับโครงสร้างการบริหารสถานศึกษาทั่วไป ควรระบุขอบข่ายภาระงาน ตามโครงสร้างให้ชัดเจน ควรจัดทำป้ายโครงสร้างการบริหารงาน 1.7 ด้านอาคารสถานที่ คือ สิ่งแวดล้อมในบริเวณศูนย์ ไม่สะอาด ขาดการดูแลรักษาให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่มีการประเมินผลการใช้อาคารสถานที่  แนวทางการแก้ไขปัญหา คือ ทางศูนย์ควรส่งเสริมการจัดสถานที่ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ มีเจ้าหน้าดูแลรักษาความสะอาดให้เป็นระเบียบเรียบร้อย มีการประเมินอาคารสถานที่ 1.8 ด้านสื่ออุปกรณ์ คือ ผู้สอนเลือกใช้สื่อไม่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละช่วงชั้น ตำราเรียนมีไม่เพียงพอ สื่อการเรียนการสอนมีจำกัดและขาดงบประมาณในการจัดซื้อ บุคลากรขาดทักษะและประสบการณ์ในการใช้สื่อ แนวทางการแก้ไขปัญหา คือ ศูนย์ควรส่งเสริมให้ ครูผู้สอนจัดกิจกรรมที่สนับสนุนการคิดแบบโยนิโสมนสิการ สนับสนุนตำราเรียนให้เพียงพอ โดยขอการสนับสนุน สื่ออุปกรณ์ จากหน่วยงานของรัฐเอกชนและชุมชน ผู้สอนควรใช้อุปกรณ์เหลือใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน และใช้สื่อในโซเชียลมีเดียเมื่อมีโอกาสเหมาะสม 2. แนวทางการแก้ไขปัญหาการบริหารของงานศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์เขตกรุงเทพมหานคร มีระดับความเหมาะสม โดยรวมและรายด้านอยู่ใน ระดับมาก และสูงกว่าเกณฑ์อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   คำสำคัญ: ปัญหาและการแก้ไขปัญหา  ความเหมาะสมของแนวทางการแก้ปัญหา Abstract The purposes of this research were 1) to study the problems and solutions of administration of  Buddhist Sunday school. 2) To study the appropriateness of solution to problems of Buddhist Sunday school in Bangkok, the participants in Focus group Discussion were 12 experts and administrators of the Buddhist Sunday school. The sampling group of questionnaire was distributed to administrators and teachers of Buddhist Sunday school in Bangkok, academic year of 2016 .The determination of the sampling group by using the tables of Craig and Morgan. The sampling group was 210 persons with multi stage sampling. The instrument was a group discussion recorder and questionnaire by using five levels of   estimation. The analysis of data consisted of frequency, percentage, average, standard deviation, and testing the sampling group. The research findings were as follows. 1. The Problems and solutions of the administration problems of the Buddhist Sunday school in Bangkok. The academic, the course was not the same standard. There was a lack of the modern development and there were duplications that were not consistent with learners. Teachers did not do teaching plans, and it was a lack of knowledge of measurement and evaluation including a lack of knowledge and skills in teaching activities. The solution to the problems is: the school should have the same standard course which is flexible and should develop the course in  accordance with the learners. The school should do handbooks about teaching plans with measurement and evaluation The personnel, there was a lack of continuity, the Executive Committee had a fewer meeting, and the Welfare was low. The solution is: the executive committee should have a meeting at least twice a year to set the policies and work plans. The school should do handbook of the administration including the stipulation of the scope of work clearly and there should be welfare for personnel. The budget, the budget was allocated from the state that was not enough.  Not to make a Annual budget plan, and the budget administration was a lack of participation. The solution is: the school should set up a fund for Buddhist Sunday school by fundraising from the private sector, the State agency, and the public. There should be an annual budget plan with written form and to give a chance to the working group to participate in budget administration. The Community, the community did not appreciate the value of the school. The school was not coordinated with parents, students, and community. It was a lack of cooperation with community in activity arrangement. The solution is: The community should be invited to join activities with the school including awareness rising with the community to encourage in activities. And there is coordination between parents and communities. The learner, the students decreased, Learners did not appreciate the value of studying in the school. The solution is:The school should make an agreement with other schools including admission of school.  Should make the school good quality to motivate students and there should be a public relation to parents and students and to indicate the value of    education at the school. The structure of problems, not to share the work obviously. The Structure of administration was not done to accord with the current context. The solution is: Small schools should be appropriately restructured with the modern   contexts by comparison with general education institutions, to specify the scope of workload, and structure obviously    including setting a billboard of administration structure. The building, the environment in the school area was not clean; it was a lack of maintenance. There was no evaluation of the building. The solution is: The school should encourage setting the building to facilitate in learning. There is a staff to clean up, and to evaluate it. The media, the problems were that the instructors used the Instruction media which was not appropriate with the learners of each level and the textbooks were not enough, and Instruction media is limited. it was a lack of budget for   purchasing, the personnel did not have the skills and experiences to use the media. The solution is: the school should   encourage the teachers to organize activities to support the idea as Yonisomanasikan (proper consideration) and to support enough textbooks, to ask for support the media from State agencies, public, private, and community to use in social media. 2. The solution to administration problems of the Buddhist Sunday school in Bangkok, it was a level of appropriateness as a high level and significantly higher than criterion at the .05 level.   Keywords: Problems and Solutions, The Appropriateness of Solution to Problems  

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads