การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง ระบำโอฆะบุรี กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ(สาระนาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลบ้านท่าหลวง สังกัดเทศบาลเมืองพิจิตร อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร
Abstract
บทคัดย่อ ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างและใช้หลักสูตรท้องถิ่นเรื่อง ระบำโอฆะบุรี กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และศึกษาผลการใช้หลักสูตรท้องถิ่นเรื่อง ระบำโอฆะบุรี กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระนาฏศิลป์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลบ้านท่าหลวง สังกัดเทศบาลเมืองพิจิตร ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 11 คนเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ได้แก่ 1) หลักสูตรท้องถิ่นและแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบเพลง ระบำโอฆะบุรี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 9 แผน รวม 19 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ เรื่อง ระบำโอฆะบุรี เป็นแบบเลือกตอบ จำนวน 10 ข้อ 3) แบบประเมินทักษะการระบำโอฆะบุรี และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการระบำโอฆะบุรี ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักสูตรหลักสูตรท้องถิ่นและแผนการจัดการเรียนรู้เรื่องระบำโอฆะบุรีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เหมาะสมกับนักเรียนและสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน จำนวน 9 แผน ใช้เวลาในการสอน 19 ชั่วโมง 2. ผลการเรียนของนักเรียนด้านความรู้ความเข้าใจและทักษะปฏิบัติการรำระบำโอฆะบุรี มีค่าคะแนนร้อยละ 77.80 ซึ่งอยู่ในระดับดี ความคิดเห็นที่มีต่อการระบำโอฆะบุรี พบว่า เนื้อหาสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน กิจกรรมการเรียนการสอนมีความหลากหลาย นักเรียนร่วมกิจกรรมอย่างสนุกสนาน และได้รับความรู้จากวิทยากร การวัดผลมีการประเมินที่หลากหลายด้านการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรที่สร้างขึ้นพบว่า ทำให้ผู้เรียนมีความภูมิใจและตระหนักถึงคุณค่าของนาฏศิลป์พื้นบ้าน และได้รับความรู้ความเป็นมาของนาฏศิลป์พื้นบ้านและความเป็นมาของการระบำโอฆะบุรี นักเรียนต้องการอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้าน และเผยแพร่การระบำโอฆะบุรีในโอกาสต่าง ๆ และยังต้องการที่จะสืบสานวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น คำสำคัญ: หลักสูตรท้องถิ่น, ระบำโอฆะบุรี, นาฏศิลป์พื้นบ้าน Abstract The objectives of this study were 1) to create and use local curriculum on O-Kha Buri dance, and 2) to study the use of local curriculum on O-Kha Buri dance of Art group (Performing Arts Learning) for Prathomsuksa Six. The sample group in this experimentation was 11 students of Prathomsuksa six of Tessaban Bantaluang school under Phichit Municipality, Muang district, Phichit province, and used purposive sampling. The statistical instrument of this research were 1) nine plans of local curriculums and learning plans of performed music of O-Kha Buri dance for Prathomsuksa six that was totally 19 hours, 2) knowledge and understanding test about O-Kha Buri dance that was set into multiple choice test for 10 questions, 3) measurement test about O-Kha Buri dance, and 4) questionnaires that was for finding out the opinion of students towards to O-Kha Buri dance. The results of research were as follows; 1. Nine local curriculums and learning plans of performed music of O-Kha Buri dance for Prathomsuksa six was suitable and consistent with the needs of the community that spent totally for 19 hours. 2. The result of students on knowledge, understanding, and practical skills were 77.80% that was at the good level. The results about the opinion of students towards to O-Kha Buri dance showed that the content was consistent with the needs of the community, learning and teaching activities were various, students joined the activities happily, and students got knowledge from lecturers and there were various kinds of measurement. The results of learning and teaching management from this created curriculum showed that the students were proud and realized to the values of folk dance, got knowledge about the history of folk dance and O-Kha Buri dance that made them take care of local cultures and propagate the O-Kha Buri dance on various occasions, and eventually made them carry on local wisdom cultures. Keywords: Local Curriculum, O-Kha Buri Dance, Folk Dace.Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Issue
Section
Articles