การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพการบริหารโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร

Authors

  • ทิพวรรณ พวงมาลัย

Abstract

บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพการบริหารโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร โดยการดำเนินการวิจัย มี 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอน ที่ 1 การกำหนดและพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพการบริหารโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร ดำเนินการโดยศึกษาแนวคิดทฤษฎีจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำมาสรุปเป็นกรอบแนวคิดการวิจัย ซึ่งประกอบไปด้วย 8 องค์ประกอบ นำองค์ประกอบดังกล่าวไปสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ  นำมาวิเคราะห์เนื้อหา ได้ตัวบ่งชี้คุณภาพการบริหารโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร 8 องค์ประกอบ 71 ตัวบ่งชี้ ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์ตัวบ่งชี้ขององค์ประกอบคุณภาพการบริหารโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร ที่จัดเปิดห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในปีการศึกษา 2559 ประกอบด้วย ผู้บริหาร 64 คน และครู 256 คน รวมทั้งหมด 320 คน ซึ่งได้มาจากตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan.  1970: 608-609) สุ่มจำนวนโรงเรียนโดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) จำแนกตามเขตพื้นที่การศึกษาและขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง .60 ถึง 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการวิจัยพบว่า ตัวบ่งชี้คุณภาพการบริหารโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร มี 8 องค์ประกอบ 73 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ด้านผู้เรียน มี 10 ตัวบ่งชี้ ด้านครูผู้สอน มี 18 ตัวบ่งชี้ ด้านผู้บริหาร มี 9 ตัวบ่งชี้ ด้านหลักสูตร มี 8 ตัวบ่งชี้ ด้านการจัดการเรียนการสอน มี 6 ตัวบ่งชี้ ด้านสื่อการเรียนการสอน มี 7 ตัวบ่งชี้ ด้านการจัดสภาพแวดล้อม มี 7 ตัวบ่งชี้ และด้านผู้ปกครองและองค์กรที่เกี่ยวข้อง มี 8 ตัวบ่งชี้   คำสำคัญ : การพัฒนาตัวบ่งชี้ คุณภาพการบริหารโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์   Abstract The objective of this research was to develop indicators for the quality administration of the Science Enrichment Classroom Project of secondary schools in Bangkok. The research was conducted in two following stages: The first stage was the determination and development of Indicators for the quality administration of the Science Enrichment Classroom Project of Secondary Schools in Bangkok conducted by reviewing and synthesizing documents and other research related to construct the concept which consisted of eight factors. After that, an interview with six expertsand content analysis, the research found eight factors and seventy one indicators. The second stage was the analysis of indicators for the quality administration of the Science Enrichment Classroom Project of Secondary Schools in Bangkok. The research samples consisted of sixty four school administrators and two hundred and fifty six teachers, totally three hundred and twenty samples, in secondary schools in Bangkok having the Science Enrichment Classroom Project in 2016. The sample size was acquired using the work of Krejcie & Morgan (1970: 608-609). It was determined by the number of schools and applying the method of stratified random sampling, with a diverse area and school size. The research instrument was a five point rating scale questionnaire. The Index of Objective Congruency ranged between .60 to 1.00 and the index of reliability was at .98. The statistics used in this research included mean, standard deviation, and Exploratory Factor Analysis. The research results revealed that the indicators for the quality administration of the Science Enrichment Classroom Project of secondary schools in Bangkok comprised of eight factors and seventy three indicators. They were divided into ten indicators of students, eighteen indicators of teachers, nine indicators of school administrators, eight indicators of curriculum, six indicators of instruction, seven indicators of learning and teaching media, seven indicators of environment management, and eight indicators of parents and related organizations. Keywords: The Development of Indicators, Quality of The Science Enrichment Classroom Project

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads