ปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร

Authors

  • ชนินันท์ คล้ายมณี

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการสอนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครศึกษา ระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการสอนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครและศึกษาปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิภาพการสอนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 533 คน ได้มาจากตารางกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน  (1970: 608-609) แล้วนำไปสุ่มแบบแบ่งชั้นโดยใช้โรงเรียนเป็นชั้นแล้วจึงทำการสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีจับสลาก ซึ่งผู้วิจัยเก็บแบบสอบถามมาได้จำนวน 469ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 87.99 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้คือแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.60-1.00ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม .928 โดยมีค่าความเชื่อมั่นประสิทธิภาพการสอนของครู .945และค่าความเชื่อมั่นภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา .886 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ค่าเฉลี่ย  ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันสหสัมพันธ์พหุคูณและสมการถดถอยพหุคูณแบบวิธีการคัดเลือกเข้า ผลการวิจัย พบว่า 1.  ระดับประสิทธิภาพการสอนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ทุกด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการวัดและประเมินผลด้านการใช้สื่อการสอนและด้านการจัดการเรียนรู้ สำหรับระดับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ทุกด้านโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือด้านการส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ  ด้านการนิเทศการสอนและประเมินผลการสอน และด้านการจัดการ 2. ปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาทุกด้านร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิภาพการสอนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 45.10 โดยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และพันธกิจการเรียนรู้มีอำนาจการพยากรณ์สูงสุด รองลงมาได้แก่การบริหารหลักสูตรการส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ และการนิเทศการสอนและประเมินผลการสอนตามลำดับ   คำสำคัญ: ประสิทธิภาพการสอน,ภาวะผู้นำทางวิชาการ   Abstract The purposes of this research were to study the level of teaching efficiency of teachers; the level of instructional leadership among administrators; the relationship between the instructional leadership of administrators and the teaching efficiency of teachers; and the  instructional leadership of administrators effecting the teaching efficiency of teachers under the authority of the Primary Education Service Area, Bangkok.The samples consisted offive hundred and thirty three teachers under the authority of Primary Education Service Area, Bangkok by using Krejcie and Morgan (1970 : 608-609). The stratified random sampling was performed by using the school as a strata to calculate the sample size. The simple random sampling was performed thereafter by lottery. There were four hundred and sixty nine questionnaires were collected or accounted for 87.99% of the total. The instruments used for data collection included a five point-rating scale questionnaire.The IOC was valued since 0.60-1.00 and the reliability of the questionnaires were .928, the teaching efficiency of the teachers was .945 and the  instructional leadership of the administrators was .886. The data analysis was performed by mean and standard deviation, Pearson product-moment correlation coefficient, multiple correlation and multiple regressionanalysis- enter method. The research results were as follows; 1. The level ofteaching efficiency among teachers on the whole was at a high level. When considering each aspect, all aspects were ranked of a high level by descending order of the average, as follows: measurement and evaluation, the use of instructional media, learning management, teachers and students relationships and classroom environment. For the level of instructional leadership of administrators as a whole was at a high level. When considering each aspect, all aspects were at high level by descending order of the average as follows: the promotion of an academic atmosphere at school, teaching supervision and evaluation, management, professional development of teachers, curriculum management and defining vision,the goal and the learning mission 2. There was a statistically significant positive relationship at a level of .01 at a moderate level between the factors of the instructional leadership of administrators and the teaching efficiency of teachers under the authority of the Primary Education Service Area Bangkok. 3. The instructional leadership of administrators effecting to teaching efficiency of teachers under the authority of the Primary Education Service Area, Bangkok at a level of .05. All aspects of the instructional leadership of administrators mutually predicted the teaching efficiency of teachers under the authority of Primary Education Service Area, Bangkok with a predictive power of 45.10 percent. The aspect of defining vision, goal and the learning mission had the highest predictive power followed by curriculum management, the promotion of school academic atmosphere and teaching supervision and evaluation, respectively. Keywords:Teaching Efficiency of Teachers,the Instructional Leadership of Administrators

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads