ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษา ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ Administrative Factors Affecting Learning Organization of Basic Education, Primary Level Schools in 3 Southern Border Province

Authors

  • อิสะมะแอ มะเระ

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ และศึกษาค่าน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยการบริหาร 6 ตัวแปร ได้แก่ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์การ บรรยากาศองค์การ  การเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน ความผูกพันต่อองค์การ และการบูรณาการทางวิชาการ ที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ 4 ตัวแปร ได้แก่  การเป็นบุคคลที่รอบรู้ การมีรูปแบบความคิด การมีวิสัยทัศน์ร่วม และการเรียนรู้เป็นทีม ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นครูผู้สอนโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานใน 3  จังหวัดชายแดนภาคใต้  คือ  จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส  จำนวน 1,311 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น(Stratified Random Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) 5 ระดับ ประกอบด้วย แบบสอบถามปัจจัยการบริหาร มี 6 ตัวแปรดังนี้ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์การ บรรยากาศองค์การ การเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน ความผูกพันต่อองค์การ และการบูรณาการทางวิชาการ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .95, .86, .91, .90, .91, และ .94 ตามลำดับ  และแบบสอบถามการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้มี 4 ด้านดังนี้ ด้านการเป็นบุคคลที่รอบรู้ ด้านการมีรูปแบบความคิด ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม และด้านการเรียนรู้เป็นทีม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .92, .94, .95, และ .95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบตัวแปรพหุนาม (Multivariate Multiple  Regression Analysis : MMR) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบตัวแปรเอกนาม (Univariate Multiple Regression Analysis : MR) ผลการวิจัย พบว่า 1. ตัวแปรปัจจัยการบริหารได้แก่ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  วัฒนธรรมองค์การ  บรรยากาศองค์การ  การเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน  ความผูกพันต่อองค์การ และการบูรณาการทางวิชาการ  ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาใน  3  จังหวัดชายแดนภาคใต้ อยู่ในระดับมากทุกตัวแปร 2. การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ได้แก่ ด้านการเป็นบุคคลที่รอบรู้ ด้านการมีรูปแบบความคิด ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม และด้านการเรียนรู้เป็นทีม  ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาใน  3  จังหวัดชายแดนภาคใต้ อยู่ในระดับมากทุกด้าน 3. กลุ่มตัวแปรปัจจัยการบริหาร ได้แก่ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์การ   บรรยากาศองค์การ การเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน ความผูกพันต่อองค์การ และการบูรณาการทางวิชาการ กับกลุ่มตัวแปรการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ มีความสัมพันธ์กันมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าวิลค์แลมป์ดา (Λ) 0.27 และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างตัวแปรปัจจัยการบริหารกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ด้านการเป็นบุคคลที่รอบรู้ ด้านการมีรูปแบบความคิด ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม และด้านการเรียนรู้เป็นทีม มีค่าเท่ากับ .74, .75, .73, และ .76 ตามลำดับ ซึ่งทุกด้านมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ค่าน้ำหนักความสำคัญของกลุ่มตัวแปรปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้  พบดังนี้ 4.1 ตัวแปรปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ด้านการเป็นบุคคลที่รอบรู้ ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเรียงลำดับค่าน้ำหนักจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การบูรณาการทางวิชาการ  วัฒนธรรมองค์การ  การเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน  ความผูกพันต่อองค์การ และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  มีค่าน้ำหนักความสำคัญมาตรฐานเท่ากับ 0.37, 0.14, 0.12, 0.09, และ 0.06 ตามลำดับ โดยตัวแปรปัจจัยการบริหารสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ด้านการเป็นบุคคลที่รอบรู้ ได้ร้อยละ 55.20 4.2 ตัวแปรปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้  การมีรูปแบบความคิด  ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยเรียงลำดับค่าน้ำหนักจากมากไปหาน้อยดังนี้  การบูรณาการทางวิชาการ  วัฒนธรรมองค์การ  การเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน  ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  และความผูกพันต่อองค์การ  มีค่าน้ำหนักความสำคัญมาตรฐานเท่ากับ 0.35, 0.17, 0.16, 0.10, และ 0.07 ตามลำดับ โดยตัวแปรปัจจัยสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ด้านการมีรูปแบบความคิด ได้ร้อยละ 57.50 4.3 ตัวแปรปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยเรียงลำดับค่าน้ำหนักจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านการบูรณาการทางวิชาการ  ด้านบรรยากาศองค์การ  ด้านวัฒนธรรมองค์การ  ด้านความผูกพันต่อองค์การ และด้านการเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน มีค่าน้ำหนักความสำคัญมาตรฐานเท่ากับ 0.34,  0.17,  0.14,  0.12 และ 0.11 ตามลำดับ โดยตัวแปรปัจจัยสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม ได้ร้อยละ 59.70 4.4 ตัวแปรปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ด้านการเรียนรู้เป็นทีม ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยเรียงลำดับค่าน้ำหนักจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านการบูรณาการทางวิชาการ  ด้านการเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน  ด้านวัฒนธรรมองค์การ และด้านความผูกพันต่อองค์การ  มีค่าน้ำหนักความสำคัญมาตรฐานเท่ากับ 0.30, 0.23, 0.18, และ 0.10 ตามลำดับ โดยตัวแปรปัจจัยสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของตัวแปร  การเป็นองค์การแห่ง การเรียนรู้ ด้านการเรียนรู้เป็นทีม ได้ร้อยละ 58.10   Abstract This research had the following objectives: To study the relationships and the beta weight of 6 administrative factors, i.e. transformational leadership, organization culture, organization climate, work empowerment, organization commitment, and academic integration contributing to 4 factors of learning organization, i.e. personal mastery, mental model, shared vision, and team learning of basic education, primary level schools in 3 southern border provinces. The samples used in this research were 1,311 primary school teachers in schools under Office of the Basic Education Commission in 3 southern border provinces, i.e. Yala, Pattani, and Narathiwat. They were acquired by Stratified Random Sampling. The instrument used in data collection consisted of a 5-level rating scale questionnaire on 6 administrative factors: transformational leadership, organization culture, organization climate, work empowerment, organization commitment, and academic integration with the reliabilities of .95, .86, .91, .90, .91, and .94 respectively and a questionnaire on 4 factors of learning organization: personal mastery, mental model, shared vision, and team learning with the reliabilities of .92, .94, .95, and .95 respectively. Data analysis was conducted by Multivariate Multiple Regression Analysis : MMR and Univariate Multiple Regression Analysis : MR. The research results revealed as follows. 1. The administrative factors, i.e. transformational leadership, organization culture, organization climate, work empowerment, organization commitment, and academic integration of basic education, primary level schools in 3 southern border provinces were all at the high level. 2. The learning organization factors, i.e. personal mastery, mental model, shared vision, and team learning of basic education, primary level schools in 3 southern border provinces were all at the high level. 3. The administrative factors domain, i.e. transformational leadership, organization culture, organization climate, work empowerment, organization commitment, and academic integration had significant relationship at .01 level with the learning organization factors domain with the value of Wilks' lambda (Λ) of 0.27; and the multiple correlation coefficients between the administrative factors and learning organization factors: personal mastery, mental model, shared vision, and team learning were statistically at .01 level .74, .75, .73, and .76 respectively. 4. The beta weights of the administrative factors domain affecting the learning organization were found as follows. 4.1 The causal factors that positively contributed to the learning organization in the personal mastery aspect at .05 level of significance arranged in descending order of weights were  academic integration, organization culture, work empowerment, organization commitment, and transformational leadership. The beta weights were 0.37, 0.14, 0.12, 0.09, and 0.06 respectively. The causal factors could together explain 55.20% of the variance of the learning organization in the personal mastery aspect. 4.2 The causal factors that positively contributed to the learning organization in the mental model aspect at .01 level of significance arranged in descending order of weights were  academic integration, organization culture, work empowerment, transformational leadership and organization commitment. The beta weights were 0.35, 0.17, 0.16, 0.10, and 0.07 respectively. The causal factors could together explain 57.50% of the variance of the learning organization in the mental model aspect. 4.3 The causal factors that positively contributed to the learning organization in the shared vision aspect at .01 level of significance arranged in descending order of weights were academic integration, organization climate, organization culture, organization commitment, and work empowerment. The beta weights were 0.34, 0.17, 0.14, 0.12, and 0.11 respectively. The causal factors could together explain 59.70% of the variance of the learning organization in the shared vision aspect. 4.4 The causal factors that positively contributed to the learning organization in the team learning aspect at .01 level of significance arranged in descending order of weights were academic integration, work empowerment, organization culture, and organization commitment. The beta weights were 0.30, 0.23, 0.18, and 0.10 respectively. The causal factors could together explain 58.10% of the variance of the learning organization in the team learning aspect.

Downloads

Download data is not yet available.

Published

2016-08-16