การศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่สามารถพยากรณ์การบริหารจัดการศึกษานอกโรงเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน The Study of Instructional Leadership Elements that can Predict of Non-Formal Education Management by Community-Based
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับการบริหารจัดการศึกษานอกโรงเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารจัดการศึกษานอกโรงเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน และ 4) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่สามารถพยากรณ์การบริหารจัดการศึกษานอกโรงเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ประชากร คือ ผู้บริหาร กศน.อำเภอ/เขต จำนวน 928 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางของเครจซี่และมอร์แกน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) แล้วดำเนินการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีการจับฉลากตามสัดส่วนจำนวนสถานศึกษา กศน.อำเภอ/เขต ให้ได้จำนวนผู้บริหารสถานศึกษา ไม่น้อยกว่า 272 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสมการถดถอยพหุคูณแบบ Enter มีผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ระดับองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ การนิเทศการศึกษา การวางแผนงานวิชาการ การวิจัยและพัฒนา การทำงานร่วมกับเครือข่าย การพัฒนาบุคลากร การบริหารหลักสูตร การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ และการเทียบโอนผลการเรียน ตามลำดับ ยกเว้น การประเมินผลการเรียน และการจัดกระบวนการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด 2. ระดับการบริหารจัดการศึกษานอกโรงเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ การได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน การใช้ทรัพยากรชุมชน การสนับสนุนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการกำหนดแผนการทำงาน ตามลำดับ 3. องค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์ในทางบวกกับการบริหารจัดการศึกษานอกโรงเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าความสัมพันธ์โดยรวม เท่ากับ 0.626 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย ข้อ 1 4. องค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่สามารถพยากรณ์การบริหารจัดการศึกษานอกโรงเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน พบว่า มีทั้งหมด 5 ด้าน ประกอบด้วย การทำงานร่วมกับเครือข่าย การบริหารหลักสูตร การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ การนิเทศการศึกษา และการประเมินผลการเรียน โดยตัวแปรทั้ง 5 ด้าน สามารถร่วมกันพยากรณ์การบริหารจัดการศึกษานอกโรงเรียนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานได้ร้อยละ 74.40 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย ข้อ 2 และจาก ผลการวิจัยสามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้ รูปแบบสมการคะแนนมาตรฐาน ẑ = .170 (EVL) + .181 (SUP) + .196 (SOR) + .216 (CUR) + .223 (NET) รูปแบบสมการคะแนนดิบ Ŷ = 1.397 + .213 (SOR) + .227 (SUP) + .238 (NET) + .249 (CUR) + .252 (EVL) คำสำคัญ : ภาวะผู้นำทางวิชาการ การบริหารจัดการศึกษานอกโรงเรียน ชุมชนเป็นฐาน Abstract The purposes of this research were to study 1) the level of instructional leadership elements 2) the level of non-formal education management by community-based 3) the relationship between instructional leadership elements and non-formal education management by community-based, and 4) instructional leadership elements that can predict of non-formal education management by community-based. The population was 928 administrators of non-formal education at district levels. The sample size determination by using Krejcie & Morgan with multi-stage sampling and then simple random sampling by lottery proportionally to the number of institutions in order to get at least 272 administrators. The instruments used for data collection were 5 point-rating scale questionnaires. The reliability was 0.97. The data analysis was done by percentage, mean and standard deviation and multiple regression analysis. The research results were as following; The level of instructional leadership elements as a whole was at high level. When considering each individual aspect found that as a whole was at high level by descending order of the average as follow; educational supervision, academic planning, research and development, work with network commands, personnel development, curriculum development, learning resource development, and transfer of credits respectively except evaluation of learning and learning process management were at the highest level. The level of non-formal education management by community-based as a whole was at high level. When considering each individual aspect found that as a whole was at high level by descending order of the average as follow; the benefit-sharing, the use of resources in the communities, support activities for learning and plan formulation respectively. There was a statistically significant positive relationship at .01 level between instructional leadership elements and non-formal education management by community-based (r = 0.626). This result was according to the first hypothesis. There were 5 aspects of instructional leadership elements that can predict of non-formal education management by community-based as following; work with network commands, curriculum development, learning resource development, educational supervision, and evaluation of learning. These five aspects mutually predict non-formal education management by community-based by percentage of 74.40. This result was according to the second hypothesis. From the research result, the equation can be written as follows; Standardized Regression Equation ẑ = .170 (EVL) + .181 (SUP) + .196 (SOR) + .216 (CUR) + .223 (NET) Unstandardized Regression Equation Ŷ = 1.397 + .213 (SOR) + .227 (SUP) + .238 (NET) + .249 (CUR) + .252 (EVL) Keyword : Instructional Leadership, Non-Formal Education Management, Community-BasedDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2016-08-16
Issue
Section
Articles