สภาพแวดล้อมของโรงเรียนที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 SCHOOL ENVIRONMENTS AFFECTING VISIONARY LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS UNDER THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2

Authors

  • ณพล คำแก้ว

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะชีวสังคมของโรงเรียนที่ส่งผลต่อผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 2) ศึกษาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนที่ส่งผลต่อผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2      3) ศึกษาภาวะผู้นำวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 4) เปรียบเทียบภาวะผู้นำวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 จำแนกตาม เพศ ประสบการณ์ในการทำงาน และระดับการศึกษา 5) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมของโรงเรียนกับภาวะผู้นำวิสัยทัศน์ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 6) ศึกษาสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 จำนวนทั้งสิ้น 357 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า  5  ระดับ แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์  t-test การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมของโรงเรียนกับภาวะผู้นำวิสัยทัศน์โดยใช้ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์  และสมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้                                                                s       1. สภาพแวดล้อมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านวิชาการ และด้านกายภาพดังนี้ 2. ภาวะผู้นำวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การสร้างเครือข่าย วิสัยทัศน์ ความคิดสร้างสรรค์ การทำงานเป็นทีมและการเพิ่มพลังอำนาจ 3. ครูที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำ วิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่าง 4. ครูที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่าง 5. ครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำวิสัยทัศน์โดยรวมไม่แตกต่างกันเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านวิสัยทัศน์ และการเพิ่มพลังอำนาจแตกต่างกัน ส่วนด้านอื่นๆไม่พบความแตกต่าง 6.สภาพแวดล้อมของโรงเรียนมีความสัมพันธ์ระดับสูงกับภาวะผู้นำวิสัยทัศน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 7.สภาพแวดล้อมของโรงเรียนส่งผลต่อภาวะผู้นำวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีอำนาจการพยากรณ์ได้ร้อยละ 58 คำสำคัญ : ภาวะผู้นำวิสัยทัศน์, สภาพแวดล้อมของโรงเรียน Abstract The purposes of this research were to study 1) Bio-social characteristics of school effecting school administrators under the Secondary Educational Service Area Office 2. 2) School environments effecting school administrators under the Secondary Educational Service Area Office 2. 3) Visionary Leadership of School Administrators under the Secondary Educational Service Area Office 2. 4) Compare the visionary leadership of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office 2 classified by gender, working experience and education level. 5) Relationship between school environments and visionary leadership of School Administrators under the Secondary Educational Service Area Office 2. 6) School environments effecting school administrators under the Secondary Educational Service Area Office 2.The samples consisted of 357 teachers under the Secondary Educational Service Area Office 2, term 1 of year 2014 from 52 schools. The instruments used for data collection were 5 point-rating scale questionnaires. The Cronbach's alpha coefficient showed the value of 0.90.Basic data analysis was done by mean and standard deviation. The test of hypothesis was done by using t-test. The Pearson Product Moment Correlation Coefficient was applied for analysis of the relationship between school environments and visionary leadership, and Multiple Regression Analysis was used for analysis of school environments affecting the visionary leadership. The research results were as under mentioned; 1. School environments under the Secondary Educational Service Area Office 2  as a whole was at a high level. When considering each individual aspect was also at a high level by ranking from the highest to the lowest mean as follows; the aspect of academic and physical  respectively. 2. Visionary leadership of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office 2 as a whole was at a high level. When considering each individual aspect was also at a high level by ranking from the highest to the lowest mean as follows ;networking, vision, creative thinking, team work and empowerment respectively 3. Different sex of teachers as a whole and each individual aspect revealed no difference of their opinions on Visionary leadership of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office 2. 4. Different education level of teachers as a whole and each individual aspect revealed nodifference of their opinions on Visionary leadership of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office 2. 5. Different working experience of teachers as a whole revealed no difference of their opinions on Visionary leadership of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office 2. When considering each individual aspect found that the aspect of vision and empowerment were statistically significant difference at .05 level whereas the others revealed no difference. 6. There was a statistically significant positive relationship at .01 level between school environments in the aspect of academic and physical and visionary leadership. The aspect of academic and physical had relationship with visionary leadership at high level 7. School environments in the aspect of academic and physical effecting visionary leadership of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office 2. The effect was significant at the .05 level. There was 58 percent of the predictive power.The school environments in the aspect of physical had the highest predictive value and then the aspect of academic respectively                                                          Keywords :Visionary Leadership , School environments

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2016-03-01