การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนานักศึกษาด้านจริยธรรม มหาวิทยาลัยเอกชน The Development of the Enrichment Curriculum for Students' Ethical Development in Private University
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนา หลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนานักศึกษาด้านจริยธรรม มหาวิทยาลัยเอกชน 2) ตรวจสอบประสิทธิภาพของหลักสูตรเสริมของนักศึกษาด้านจริยธรรม มหาวิทยาลัยเอกชน 3) ศึกษาความเป็นไปได้ของหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนานักศึกษาด้านจริยธรรม มหาวิทยาลัยเอกชน โดยมีการพัฒนาหลักสูตรเสริมครั้งนี้มี 4 ขั้นตอน คือ การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน การพัฒนาหลักสูตรเสริม ตรวจสอบประสิทธิภาพของหลักสูตรเสริม และการศึกษาความเป็นไปได้ของหลักสูตรเสริม การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนานักศึกษาด้านจริยธรรม มหาวิทยาลัยเอกชน เป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน โดยการรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อกำหนดองค์ประกอบของจริยธรรมที่นักศึกษาควรได้รับการพัฒนา ในการพัฒนาหลักสูตรเสริมเป็นการพัฒนาโครงร่างหลักสูตรเสริมให้เข้ากับข้อมูลพื้นฐานโดยในหลักสูตรเสริม ประกอบด้วย หลักการและเหตุผลในการพัฒนาหลักสูตรเสริม แนวคิด ทฤษฎีในการพัฒนาหลักสูตรเสริม วัตถุประสงค์ของหลักสูตรเสริม โครงสร้างของหลักสูตรเสริมซึ่งหลักสูตรเสริมนี้มี 4 หน่วยการเรียนรู้ ใช้เวลาเรียนทั้งหมด 25 ชั่วโมง ใน แต่ละหน่วยประกอบด้วย คำอธิบาย หน่วยการเรียนรู้ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหา การจัดการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล จากนั้นทำการประเมินโครงร่างหลักสูตรเสริม โดยการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ การตรวจสอบประสิทธิภาพของหลักสูตรเสริม นำโครงร่างหลักสูตรเสริมที่ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยปทุมธานี รูปแบบการทดลองใช้หลักสูตรเสริมเป็นแบบกลุ่มเดียว ทดสอบก่อนและหลังการอบรม และทำการปรับปรุงหลักสูตรเสริมให้สมบูรณ์ การศึกษาความเป็นไปได้ของหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนานักศึกษาด้านจริยธรรม มหาวิทยาลัยเอกชน โดยสอบถามความคิดเห็นกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ของหลักสูตรเสริม ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนานักศึกษาด้านจริยธรรม มหาวิทยาลัยเอกชน ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล แนวคิด ทฤษฎีในการพัฒนาหลักสูตรเสริม วัตถุประสงค์ของหลักสูตรเสริม โครงสร้างของหลักสูตรเสริม กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล 2. ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพของหลักสูตรเสริมได้นำหลักสูตรเสริมไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยปทุมธานี ได้ผลดังนี้ 2.1 ผลการเปรียบเทียบคะแนนด้านจริยธรรมของนักศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังทดลองใช้หลักสูตรเสริมสูงกว่าก่อนการทดลองใช้หลักสูตรเสริมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2.2 ผลการประเมินด้านจริยธรรมในแต่ละหน่วยระหว่างทดลองใช้หลักสูตรเสริม พบว่า ได้ผลการทดสอบคือ นักศึกษาได้คะแนนผ่านเกณฑ์100% การทดสอบวัดพฤติกรรมของนักศึกษา ได้ผลการทดสอบคือนักศึกษาได้คะแนนผ่านเกณฑ์ 100% ในพฤติกรรมทางจริยธรรม ทั้ง 4 ด้าน 3. ผลการประเมินความเป็นไปได้ของหลักสูตรเสริมพบว่า การศึกษาความเป็นไปได้ของหลักสูตรเสริม มีระดับความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านเอกสารประกอบหลักสูตรเสริม ด้านเนื้อหาของหลักสูตรเสริม ด้านความรู้ที่ได้รับจากหลักสูตรเสริม ด้านระยะเวลาในการใช้หลักสูตรเสริม ด้านความเหมาะสมของกิจกรรมหลักสูตรเสริม ด้านสื่อประกอบของหลักสูตรเสริม และด้านความเหมาะสมของการประเมินผลหลักสูตรเสริม คำสำคัญ : หลักสูตรเสริม,จริยธรรม Abstract The objectives of this study were to: 1) develop an enrichment curriculum for students’ ethical development in private university; 2) examine the efficiency of the enrichment curriculum for students’ ethical development in private university; 3) study the feasibility of the enrichment curriculum for students’ ethical development in private university. The development of the enrichment curriculum consisted of 4 steps as follows; studying fundamental data, developing the enrichment curriculum, examining the efficiency of the enrichment curriculum, and studying the feasibility of the enrichment curriculum. The development of the enrichment curriculum for students’ ethical development in private university was conducted by studying fundamental data from documents, related research, as well as conducting in-depth interview. In doing so the students’ ethical factors which should be developed were identified. In developing the enrichment curriculum, its structure was developed in accordance with the fundamental data. As a result, the enrichment curriculum consisted of principle and rationale for developing enrichment curriculum, concepts, theories, objectives, and structure of the enrichment curriculum. The enrichment curriculum had 4 learning units with 25 study-hours. Each learning unit consisted of learning unit description, learning objectives, content, learning management, media and learning sources, measurement and evaluation. Then the enrichment curriculum structure was evaluated by an expert focus group. In examining the efficiency of the enrichment curriculum, the improved enrichment curriculum structure was brought to experiment with one sample group of undergraduate students at Pathumthani University. The experiment of the enrichment curriculum was One Group Pre-Posttest Design. The curriculum was improved thereafter to being completed. In studying the feasibility of the enrichment curriculum for students’ ethical development in private university, experts were asked to providing opinions on its feasibility. The research results revealed as follows. 1. The results of the enrichment curriculum development. The development of the enrichment curriculum for students’ ethical development in private university consisted of principle and rationale, concepts and theories concerning enrichment curriculum development, objectives, and structure of the enrichment curriculum, learning activities, learning media, measurement and evaluation. 2. The examination results on the efficiency of the enrichment curriculum. The enrichment curriculum was brought to experiment with one sample group of undergraduate students at Pathumthani University. The results were as follows. 2.1 The comparison of students’ ethical scores revealed that the posttest mean score was statistically higher than the pretest at .01 level. 2.2 The results of ethical evaluation in individual units during the enrichment curriculum experiment revealed that the students passed the criteria 100%. The behavioral measurement of the students revealed that they passed the criteria 100% in 4 aspects of ethical behaviors. 3. The examination results on the feasibility of the enrichment curriculum. It revealed that the feasibility of the enrichment curriculum as a whole was at the high level. When considering the individual aspects found that all aspect s were at the high level. They were arranged in descending order of mean as follows: document of the enrichment curriculum, content of the enrichment curriculum, knowledge gained from the enrichment curriculum, duration of the enrichment curriculum, appropriateness of activities of the enrichment curriculum, media of the enrichment curriculum, and appropriateness of evaluation of the enrichment curriculum. Keywords : Enrichment Curriculum, EthicDownloads
Download data is not yet available.