ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดชัยภูมิ FACTORS AFFECTING LEARNING ACHIEVEMENTS OF STUDENTS IN SECONDARY SCHOOLS IN CHAIYAPHUM PROVINCE

Authors

  • สุรวิทย์ พลมณี

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดชัยภูมิ 2) ศึกษาปัจจัยระดับผู้บริหาร ระดับครูและระดับนักเรียนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนและ 3) สร้างโมเดลพหุระดับของปัจจัยระดับผู้บริหาร ระดับครูและระดับนักเรียนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร จำนวน 92 คน ครู จำนวน 592 คน และนักเรียน จำนวน 1,480 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับและแบบตรวจสอบรายการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์พหุระดับ ผลการวิจัยพบว่า 1.   ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดชัยภูมิ จากผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2556 พบว่า ทั้งนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละในรายวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาสูงที่สุดร้อยละ 57.14 และ 60.25 ตามลำดับ ส่วนรายวิชาคณิตศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละต่ำที่สุด ร้อยละ22.45 และ 17.88 ตามลำดับ 2.   ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนและโมเดลพหุระดับของปัจจัยระดับนักเรียน ปัจจัยระดับครูและปัจจัยระดับผู้บริหารที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดชัยภูมิ ดังนี้ 2.1     ปัจจัยระดับนักเรียน พบว่า ตัวแปรต้น 2 ตัวแปร คือ แรงจูงใจในการเรียนของนักเรียนและพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับและพบอีกว่า แรงจูงใจในการเรียนของนักเรียน ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน มีความแปรปรวนมากพอที่จะสามารถนำไปเป็นตัวแปรตามในระดับที่สองได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.2     ปัจจัยระดับครู พบว่า ตัวแปรต้น 3 ตัวแปร คือ พฤติกรรมการสอนของครู เจตคติต่อการสอนของครูและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01, .05 และ .05 ตามลำดับ และพบอีกว่า พฤติกรรมการสอนของครูและแรงจูงใจการปฏิบัติงานของครู ส่งผลทางบวกต่อค่าสัมประสิทธิ์การส่งผลของแรงจูงใจในการเรียนของนักเรียน ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ยังพบว่า พฤติกรรมการสอนของครู ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนรายห้องเรียน มีความแปรปรวนมากพอที่จะสามารถนำไปเป็นตัวแปรตามในระดับที่สามได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3     ปัจจัยระดับผู้บริหาร พบว่า ตัวแปรต้น 2 ตัวแปร คือ กระบวนการบริหารจัดการและภาวะผู้นำของผู้บริหาร ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนรายโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับและพบอีกว่า ภาวะผู้นำของผู้บริหารส่งผลทางบวกต่อค่าสัมประสิทธิ์การส่งผลของพฤติกรรมการสอนของครู ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน รายห้องเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ : ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ปัจจัยระดับผู้บริหาร ปัจจัยระดับครูปัจจัยระดับนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา ABSTRACT The objectives of this research were 1) to study learning achievement of students at secondary schools in Chaiyaphum Province 2) to study the administrators’, teachers’, and students’ factors affecting learning achievement of the students and 3) to design multiple-level model of administrators, teachers, and students affecting learning achievement of the students. The administrators’ factors involve leadership, vision, management process, and communication. Teachers’ factors involve personality, attitude towards teaching, well-roundness, motivation, and teaching behavior. Students factors involve attitude towards learning, motivation, learning behavior, and peer interaction. The sample included 92 administrators, 592 teachers, and 1,480 students. Data was collected using 5-point rating scale questionnaire and checklist and was statistically analyzed in frequency, mean, standard deviation, Pearson’s Correlation Coefficient, and Multi-level analysis. The findings revealed as follows: 1. According to the results of 2013 O-NET, the highest average scores of Matthayomsuksa 3 and Matthayomsuksa 6 students were found in Health Education and Physical Studies (57.14% and 60.25 respectively) and the lowest average scores were found in Mathematics (22.45% and 17.88% respectively). 2. The administrators’, teachers’, and students’ factors affecting learning achievement of the students incorporated the followings: 2.1 Students’ factors involved 2 variables, i.e., learning motivation and learning behavior affecting students’ learning achievement at significance level .01 and .05. Also, the variance of learning motivation affecting students’ learning achievement accounted for its  dependent variable categorization for the second level at significance level .01. 2.2 Teachers’ factors involved 3 variables, i.e., teaching behavior, attitude towards teaching, and motivation affecting the students’ learning achievement at significance level .01, .05, and .05. Teaching behavior and motivation had a positive effect on coefficient of students’ learning motivation in relation to learning achievement of the students at significance level .05. Also, the variance of teaching behavior affecting students’ learning achievement accounted for its  dependent variable categorization for the third level at significance level .05. 2.3 Administrators’ factors involved 2 variables, i.e., administrative process and leadership affecting the students’ learning achievement at significance level .01 and .05. Administrators’ leadership was reported to had a positive effect on coefficient of teaching behaviour in relation to learning achievement of the students in each class at significance level .05. Keywords: Students’ Learning Achievement, Administrators’ Factors, Teachers’ Factors, Students’ Factors, Secondary School

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2016-03-01