การพัฒนารูปการพัฒนารูปแบบเครือข่ายครูนักวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบผสมผสานและการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนสำหรับครูระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 DEVELOPMENT OF TEACHER NETWORKS MODEL ON
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบเครือข่ายครูนักวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบผสมผสานและการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตน สำหรับครูระดับมัธยมศึกษา และศึกษาผลการใช้รูปแบบเครือข่ายครูนักวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบผสมผสานและการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตน สำหรับครูระดับมัธยมศึกษาที่มีต่อความรู้ความเข้าใจ การรับรู้ความสามารถของตน เจตคติ ทักษะการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนและความพึงพอใจของครูนักวิจัยที่มีต่อการเรียนรู้จากรูปแบบเครือข่ายครูนักวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนที่มีความสนใจและสมัครเป็นสมาชิกเครือข่าย จำนวน 20 คน ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 14 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบประเมินรูปแบบ 2) แบบวัดความรู้ความเข้าใจ 3) แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตน 4) แบบวัดเจตคติ 5) แบบประเมินทักษะ และ6) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปสถิติที่ใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1.รูปแบบเครือข่ายครูนักวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบผสมผสานและการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตน สำหรับครูระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 ที่พัฒนาขึ้น ที่ชื่อว่า TNet CAR เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกเครือข่ายครูนักวิจัยที่ผสมผสานการเรียนในระบบออนไลน์ และระบบออฟไลน์ โดยรูปแบบประกอบด้วย 1) ที่มาและความ สำคัญของรูปแบบ 2) หลักการของรูปแบบ 3)วัตถุ ประสงค์ของรูปแบบ 4) เครือข่ายครูนักวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ที่ประกอบด้วย 4.1) โครงสร้างของเครือข่าย 4.2) กระบวนการพัฒนาครูนักวิจัย 4.3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูนักวิจัย และ 4.4) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ซึ่งการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบจากผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบTNet CAR มีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับดีมากที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีคุณภาพ 2.ผลการศึกษาการใช้รูปแบบเครือข่ายครูนักวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบผสมผสานและการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตน สำหรับครูระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 พบว่า 2.1 ผลการเปรียบเทียบความรู้ด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน พบว่า ครูนักวิจัยมีคะแนนทดสอบความรู้ด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนรู้จากรูปแบบเครือข่ายครูนักวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนที่พัฒนาขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสิติที่ระดับ .05 2.2 ผลการเปรียบเทียบการรับรู้ความสามารถของตนด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน พบว่า ครูนักวิจัยมีคะแนนการรับรู้ความสามารถของตนด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนรู้จากรูปแบบเครือข่ายครูนักวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนที่พัฒนาขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3 ผลการเปรียบเทียบเจตคติด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน พบว่าครูนักวิจัยมีคะแนนเจตคติด้านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนรู้จากรูปแบบเครือข่ายครูนักวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนที่พัฒนาขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.4ผลการศึกษาทักษะการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครูนักวิจัยที่เรียนรู้จากรูปแบบเครือข่ายครูนักวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนที่พัฒนาขึ้น โดยประเมินจากผลการเขียนรายงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนรูปแบบกึ่งทางการ คนละ 1 เรื่อง พบว่าผลงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนมีคุณภาพอยู่ในระดับมากทั้งหมด จำนวน 20 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 100 2.5 ผลการศึกษาความพึงพอใจของครูนักวิจัยที่มีต่อการเรียนรู้จากรูปแบบเครือข่ายครูนักวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนที่พัฒนาขึ้น พบว่า ครูนักวิจัยมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้จากรูปแบบในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก คำสำคัญ:รูปแบบเครือข่ายครูนักวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน การเรียนรู้แบบผสมผสานการรับรู้ความสามารถของตน Abstract The purposes of this research were to develop the type of classroom research oriented teacher circle through the integrating learningand promoting self-ability recognition of secondary school teachers and to study the result of classroom research oriented teachers through integrating learning and promoting self-ability recognition of secondary school teachers on knowledge, understanding, self-ability recognition, attitudes, the skill of classroom research and the teachers’ satisfaction. The research was conducted by “one group pretest and posttest design”. The samples were 20 voluntary teachers of the circle in PhraNakhon Si Ayutthaya belonging to the second semester of 2014 academic year, lasting for 14 weeks. The information gathering tools consist of 1) the evaluation form 2) the test of understanding 3) the test of self-ability recognition 4)the attitude test 5) the skill evaluation and 6) the satisfaction questionnaire. Using SPSS for Windows for data analysis.The data analysis was done bypercentage, mean and standard deviation.The test of hypothesis was done by using t-test. The results are as following: 1.The developed type of classroom research oriented teacher circle with the integrating learning and the promotion of self-ability recognition for secondary school teachers of the 3rd educational zone is TNet CAR, the learning procedure interacting with its members through the online and offline systems. The TNet CAR consists of 1) the source of origin and the significance of type2)the concept of type 3) the purpose of type 4) the circle of classroom research oriented teacher consisting of 4.1) the structure of the circle, 4.2) the process of research-oriented teachers, 4.3) the teaching procedure of research-oriented teachers and 4.4) the testing and evaluation of learning outcomes. TNet CAR is excellently approved by specialists and is approved to be available for qualitative usage. 2.The results of the usage of the type of classroom research oriented teacher circle with the integrating learning and the promotion of self-ability recognition for secondary school teacher of the 3rd educational zone are as following:2.1The comparison of the knowledge on classroom research shows that the research oriented teachers get the higher scores of posttest more than the ones of pretest in a critical degree at .05 statistic calculation.2.2The comparison of the self-ability recognition shows that the research oriented teachers get the higher scores after learning the TNet CAR in a critical degree at .05 statistic calculation.2.3The comparison of attitudes towards the classroom research shows that the research oriented teachers get the higher scores of attitude test after learning the TNet CAR in a critical degree at .05 statistic calculation. 2.4The research oriented teachers’ skill of doing classroom researchis better, noticing from the 20 papers of 20 teachers on classroom research which are in an excellent level as 100 %.2.5The study of the satisfaction of research oriented teachers towards the TNet CAR shows that the overall satisfaction is in an excellent level. Keywords:Teacher Networks Model on Classroom Action Research, Blended Learning, Self- – EfficacyDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2016-03-01
Issue
Section
Articles