ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ในเขตจังหวัดภาคเหนือ ในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ FACTORS AFFECTING SUKSASONGKHAO SCHOOL EFFECTIVENESS IN THE NORTHERN UNDER THE OFFICE BUREAU OF SPECIAL EDUCATIONAL ADMINISTRATION
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ในเขตจังหวัดภาคเหนือ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับประสิทธิผลของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ในเขตจังหวัดภาคเหนือ ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ในเขตจังหวัดภาคเหนือ และสร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ในเขตจังหวัดภาคเหนือ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ในเขตจังหวัดภาคเหนือ จำนวน 205 คน โดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ตามขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์สหสัมพันธ์อย่างง่าย การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า1. ประสิทธิผลของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ภาคเหนือ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก2. ปัจจัยพฤติกรรมของผู้บริหาร พฤติกรรมของครู และการบริหารโรงเรียนมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ในเขตจังหวัดภาคเหนือ ระดับสูงมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ปัจจัยพฤติกรรมของผู้บริหาร พฤติกรรมของครู และการบริหารโรงเรียนของโรงเรียน ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ในเขตจังหวัดภาคเหนือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ พฤติกรรมของผู้บริหาร พฤติกรรมของครู และการบริหารโรงเรียน ตามลำดับ 4. ปัจจัยสมรรถนะประจำสายงานของผู้บริหาร ปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยสมรรถนะประจำสายงานของครูผู้สอน ปัจจัยด้านบรรยากาศของโรงเรียน ปัจจัยด้านทรัพยากรและเทคโนโลยีทางการศึกษา และปัจจัยนโยบายและการปฏิบัติ สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ภาคเหนือ สังกัดสำนักบริหารการศึกษาพิเศษ (Y) มีค่าอำนาจพยากรณ์คิดเป็นร้อยละ76.1 โดยสามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ ดังนี้ หรือในรูปสมการคะแนนมาตรฐานดังนี้ .25Z21+.12Z22+.27Z33+.18Z41+.10Z43+.14Z44 คำสำคัญ : ปัจจัย / ประสิทธิผลของโรงเรียน Abstract The purposes of this study were to study the effectiveness of Suksasongkhao school in the northern under the office bureau of special educational administration, correlation between factors and effectiveness of Suksasongkhao school in the northern under the office bureau of special educational administration, factors effecting effectiveness of Suksasongkhao school in the northern under the office bureau of special educational administration and create a predictive equation effectiveness of Suksasongkhao school in the northern under the office bureau of special educational administration.The sample used in the study consisted of 205 teachers in Suksasongkhao school in the northern under the office bureau of special educational administration. The instruments used for the data collecting was a checklist questionnaires and a five leveled rating scale questionnaire was divided into 2 episodes and included the factors affecting the effectiveness of schools, school effectiveness. Data were analyzed using the computer program. The statistics utilized in analyzing the data were mean, standard deviation, simple correlation, multiple regression analysis and stepwise multiple regression analysis. The findings of the research indicate as follows:1. Effectiveness of Suksasongkhao school in the northern under the office bureau of special educational administration. Overall and specifically, were rated at a high level. 2. Administrators’ behavior, Teachers’ behavior, and the school management of Suksasongkhao school in the northern under the office bureau of special educational administration. Correlation with effectiveness of Suksasongkhao school in the northern under the office bureau of special educational administration, were found significantly at .05 level.3. Administrators’ behavior (X2), Teachers’ behavior (X3), and the school management (X4). Effecting with effectiveness of Suksasongkhao school in the northern under the office bureau of special educational administration (Y), were found significantly at .05 level.4. Administrators’ competency (X21), the leadership change (X22), teachers’ competency (X33),school environment (X41), resources and educational technology (X43), and policy and practice (X44) were the best predictors of the effectiveness of school under the office of special education administration (Y) with 76.1 percent that could be written in the form of follows equation is: Or in the standard equation below. .25Z21+.12Z22+.27Z33+.18Z41+.10Z43+.14Z44Keywords : Factors/ Effectiveness of schoolDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2015-07-16
Issue
Section
Articles