สมรรถนะหลักของคณบดีที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยเอกชน Deans’ Core Competencies Affecting the Effectiveness of Academic Administration in Private Universities

Authors

  • รติรัตน์ วรโชคเดชาวิวัฒน์

Abstract

บทคัดย่อ                                                                                                                                                                การวิจัยนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะหลักของคณบดี  ศึกษาประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ  ศึกษาสมรรถนะหลักของคณบดีที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ  ศึกษาสมรรถนะหลักของคณบดีที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยเอกชน  และเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของคณบดีที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยเอกชน                ผู้วิจัยดำเนินการวิจัย  โดยแบ่งออกเป็น 2  ขั้นตอน  ขั้นตอนที่ 1  การศึกษาสมรรถนะหลักของคณบดีที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ คณบดีของมหาวิทยาลัยเอกชน ปีการศึกษา 2556  ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด จำนวน 253 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่  แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .94  ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลสมรรถนะหลักของคณบดีและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะหลักของคณบดีกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์  และวิเคราะห์สมรรถนะหลักของคณบดีที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยเอกชน โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณด้วยวิธี  Enter  ขั้นตอนที่  2  การหาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของคณบดี ผู้วิจัยใช้การสนทนากลุ่ม  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา โดยนำมาวิเคราะห์ค่าความถี่  และสรุปเป็นตารางประกอบความเรียงเชิงพรรณนาผลการวิจัย สรุปได้ ดังนี้  1. สมรรถนะหลักของคณบดีโดยรวมอยู่ในระดับมาก  และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้  ด้านการทำงานเป็นทีม  ด้านการสื่อสาร  ด้านภาวะผู้นำ   ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน และด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์2. ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของคณบดีมหาวิทยาลัยเอกชน โดยรวมอยู่ในระดับมาก  และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน  โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย  ดังนี้  ด้านสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ปลอดภัย  ด้านคุณภาพของการบริการ ด้านความพึงพอใจในการทำงาน  และ ด้านคุณภาพการเรียนรู้            3. สมรรถนะหลักด้านการสื่อสาร  ด้านการทำงานเป็นทีม  ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน  ด้านภาวะผู้นำ  และด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการโดยรวม  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. สมรรถนะของคณบดีด้านการทำงานเป็นทีม   ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน  และด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  ส่งผลทางบวกต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  สมรรถนะหลักด้านการสื่อสาร  ส่งผลทางบวกต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนสมรรถนะหลักด้านภาวะผู้นำส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสมรรถนะหลักทั้ง 5 ตัวแปรร่วมกันทำนายประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการได้ร้อยละ 49  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .015. แนวทางในการพัฒนาสมรรถนะหลักของคณบดีทั้งด้านการสื่อสาร ด้านการทำงานเป็นทีม  ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน และด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  พบว่าผู้ทรงคุณวุฒิctingcance.n ectiveness of Aให้แนวทางการพัฒนาที่สอดคล้องกัน ได้แก่  การฝึกอบรมทั้งภายในหรือภายนอกองค์การ  การทัศนศึกษาและดูงาน  และการประชุมสัมมนา  AbstractThe objectives of this research were to study deans’ core competencies; effectiveness of academic administration; the relationship between deans’ core competencies and effectiveness of academic Administration; the effects of deans’ core competencies on the effectiveness of academic administration in private universities; and propose guidelines for developing the deans’ core competencies to enhance the effectiveness of academic administration in private universities.The research was conducted in two sections. Section 1 studied deans’ core competencies affecting the effectiveness of academic administration. The sample group consisted of 253 deans in private universities in the academic year 2013 in Bangkok and provincials.  The instrument used for data collection was a 5 point-rating scale questionnaire. The reliability was 0.94. The data analysis for the deans’ core competencies and effectiveness level of academic administration was analyzed by mean and Standard Deviation. Moreover, the analysis of the relationship between deans’ core competencies and effectiveness of academic administration was analyzed  by correlation coefficient and effects of deans’ core competencies on the effectiveness of academic administration was performed by multiple regression analysis by enter method. Section 2 conducted focus group discussion to determine guidelines for developing deans’ core competencies. The data was analyzed by content analysis, frequencies and summary tables with descriptions.            The study results revealed as follows:1.  The deans’ core competencies as a whole was at the high level. When considering   individual aspects all were at the high level; ranking in descending order of mean: Teamwork, Communication, Leadership, Achievement motivation, and Human resource development.2.  The dean’s effectiveness of academic administration in private universities as a whole was at the high level. When considering individual aspect they were at the high level; ranking in descending order of mean: Safe learning environment, Service quality, Work satisfaction, and Learning quality.3. The core competencies in the aspects of Communication, Teamwork, Achievement motivation, Leadership and Human resource development had statistically significant relationship with effectiveness of academic administration as a whole at .01 level.4.  The dean’s core competencies in the aspects of  Teamwork, Achievement motivation, and Human resource development affected positively the effectiveness of academic administration as a whole at .01 level of significance. The Communication aspect affected positively the effectiveness of academic administration at .05 level of significance. The Leadership aspect did not statistically affect the effectiveness of academic administration.  The 5 variables of the core competencies could predict 49% of the variance in the effectiveness of academic administration at .01 level of significance.             5. The guidelines for developing the dean’s core competencies in the aspects of Communication, Teamwork, Achievement motivation, and Human resource development by expert consensus included training workshops both internal and external organization, excursions and visit, and seminar.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2015-07-16