การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร A STUDY FACTORS TO BE AFFECTING THE COMPETENCY OF THE LERNING EXPERIENCES OF EARLY CHILDHOOD ‘S TEACHER

Authors

  • พรทิพย์ เอี่ยมประเสริฐ

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1)เพื่อศึกษาสมรรถนะในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูปฐมวัยในโรงเรียนเอกชน กรุงเทพมหานคร 2)เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยการพัฒนาครู  ปัจจัยองค์กรกับสมรรถนะในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูปฐมวัยในโรงเรียนเอกชน   กรุงเทพมหานคร 3)เพื่อศึกษาปัจจัยการพัฒนาครู และ ปัจจัยองค์กรที่ส่งผลต่อสมรรถนะในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูปฐมวัยในโรงเรียนเอกชน   กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นครูระดับปฐมวัย จำนวน 388 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.779  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย    ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน(Pearson Product Moment Correlation Coefficient) และสมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ด้วยวิธี stepwiseผลวิจัยพบว่า ด้านสมรรถนะในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ครูปฐมวัยพบว่า ครูปฐมวัยมีสมรรถนะในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ครูปฐมวัยโดยรวมอยู่ในระดับมาก และพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวิเคราะห์หลักสูตรและผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ  การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ และการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ตามลำดับ ปัจจัยการพัฒนาครูและปัจจัยองค์กร มีความสัมพันธ์ทางบวกกับสมรรถนะในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ครูปฐมวัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ โดยปัจจัยการพัฒนาครูมีความสัมพันธ์ทางบวกสูงสุดกับสมรรถนะในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ครูปฐมวัยรองลงมาคือ ปัจจัยองค์กร ตามลำดับ ปัจจัยการพัฒนาครูและปัจจัยองค์กรส่งผลต่อสมรรถนะในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของครูปฐมวัยโดยร่วมกันพยากรณ์สมรรถนะในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ของครูปฐมวัยได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01  มีอำนาจการพยากรณ์ได้ร้อยละ 60.60  โดย ปัจจัยการพัฒนาครู มีอำนาจการพยากรณ์สูงสุดรองลงมา คือ ปัจจัยองค์กร คำสำคัญ: สมรรถนะของครูปฐมวัย ,การจัดประสบการณ์เรียนรู้ของครูปฐมวัย Abstract The objectives of this research work are 1) to study the competency in managing the learning experiences of early childhood teachers in private schools in Bangkok, 2) to find the relationship between teachers’ improvement, organization factors and competency in managing the learning experience of early childhood teachersunder the office of the private school education, Bangkok and 3) to investigate the influences of teachers’ improvement, organization factors on competency in managing the learning experience of early childhood teachersunder the office of the private school education, Bangkok. The sample group was 388 early childhood teachers. The data collecting tool was our own questionnaire with 5-level rating scale. The confidence level was 0.779. Percentage, average, standard deviation, Pearson product moment correlation coefficient and stepwise multiple regression were used in statistical data analysis. The research results were as under mentioned 1. For the competency in managing the learning experience of early childhood teachers, their skills were found in high level. Considering individually, all skills were found high ranking from the maximum in learning activity management, analyses on curriculum and students. Learning evaluation and the research for learning improvement were found less dominant 2. From teacher improvement aspect, the most advance way to improve teachers’ competency was taken place in the academic institution. The improvement outside the institution was found less advance. 3. For the organization factor, the operation level of the intra-unit relationship was found maximum, followed with operating description. 4. The influences of teachers’ improvement, organization factors on competency in managing the learning experience of early childhood teachers. These two factors lead to the prediction of competency in managing the learning experience of early childhood teachers with the statistical significance of 0.01. The prediction power was 60.60% which consists of the teachers’ improvement with maximum prediction power, and followed by the organization actor. Keywords: The competency of early childhood education teacher, approach to early childhood education program

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2015-06-26