การพัฒนาคุณภาพครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน: การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม THE TEACHERQUALITY DEVELOPMENT IN A BASIC EDUCATION SCHOOL: A PARTICIPATORY ACTION RESEARCH.

Authors

  • ดร.มนพมนตรี สกลศิลป์ศิริ

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพที่เคยเป็นมา สภาพปัจจุบัน สภาพปัญหา สภาพ ที่คาดหวัง ทางเลือกเพื่อแก้ปัญหาหรือบรรลุสภาพที่คาดหวังในการพัฒนาคุณภาพครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  การเลือกทางเลือกเพื่อการปฏิบัติ และปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากการนำทางเลือกไปปฏิบัติ และ 2) เพื่อศึกษาสภาพการเปลี่ยนแปลงและการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ทั้งในระดับบุคคล  กลุ่มบุคคล และโรงเรียน รวมทั้งองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการใช้ตัวสอดแทรก เพื่อพัฒนาคุณภาพครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นกรณีศึกษา ผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วยข้าราชการครูโรงเรียนพัฒนาขอนแก่น (นามสมมติ) จำนวน 25 คน และ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้นิเทศกัลยาณมิตรด้วย จำนวน 4 คน ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ คือ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(PAR) รวม 10 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การเตรียมความพร้อม 2) การวางแผน  3) การปฏิบัติ  4) การสังเกตผล 5) การสะท้อนผล 6) การวางแผนใหม่  7) การปฏิบัติใหม่  8) การสังเกตผลใหม่  9) การสะท้อนผลใหม่ และ 10) การสรุปผล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจ  แบบสัมภาษณ์   แบบสังเกต  กรอบคำถามในการสนทนากลุ่มแบบประเมิน และ แบบฟอร์มเพื่อการบันทึกข้อมูลสารสนเทศที่สำคัญ การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ร่วมวิจัยดำเนินการเองเป็นส่วนใหญ่ มีเพียงบางส่วนที่ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นผู้ดำเนินการ โดยผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากทุกกิจกรรมตลอดระยะเวลาของการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า สภาพที่เคยเป็นมา สภาพปัจจุบัน และสภาพปัญหาของโรงเรียนพัฒนาขอนแก่น คือโรงเรียนนี้มีภารกิจหลัก ได้แก่ การบริหารงานวิชาการ บริหารงานบุคคลบริหารงบประมาณ และบริหารทั่วไป  โดยมีระบบการประกันคุณภาพภายในด้วย  สภาพปัญหาคือโรงเรียนนี้ไม่ผ่านการรับรองคุณภาพภายนอกโดย สมศ. ด้านคุณภาพครูและด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เมื่อคณะผู้ร่วมวิจัยได้ร่วมกันศึกษาจึงพบว่า  “สภาพปัจจุบัน”  คือ  1) ครูส่วนใหญ่ใช้วิธีการพัฒนาตนเอง   2) ครูได้รับการพัฒนาไม่ต่อเนื่อง  3) ครูส่วนใหญ่ยังจัดการเรียนการสอนแบบเดิมเน้นการบรรยายซึ่งไม่สนองหลักการที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  และ 4) การพัฒนาครูยังขาดระบบที่มีคุณภาพ  ดังนั้น สภาพที่คาดหวังคือครูเป็นคนดีและมีคุณภาพ   สามารถปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เมื่อร่วมกันพิจารณากำหนดและประเมินทางเลือก เพื่อนำสู่การปฏิบัติที่เชื่อมั่นว่าจะสามารถแก้ปัญหาและเกิดสภาพที่คาดหวังได้ พบว่าได้สองทางเลือก  คือการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง และทางโรงเรียนจัดกิจกรรมที่เหมาะสม  โดยให้สอดคล้องความต้องการจำเป็น ผลปรากฏว่าร่วมกำหนดตัวสอดแทรกหลักเพื่อการพัฒนาได้ 6 โครงการ คือ1) โครงการพัฒนาครูมืออาชีพ 2) โครงการเสริมสร้างระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เข้มแข็ง3) โครงการนิเทศติดตามการปฏิบัติงานแบบกัลยาณมิตร 4) โครงการฝึกอบรมเรื่องการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 5) โครงการประชุมปฏิบัติการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา และ6) โครงการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดของนักเรียน ได้ร่วมกันกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จและระดับคุณภาพที่ชัดเจน รวมทั้งกำหนดกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นและแผนพัฒนาตนเองของผู้ร่วมวิจัยด้วยทั้งยังได้ร่วมกำหนดตัวสอดแทรกเสริมด้วย ได้แก่ 1) หลักการบริหารจัดการเชิงระบบ  2) หลักการเรียนรู้ของผู้ใหญ่3) หลักการพัฒนาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน และ 4) หลักการกัลยาณมิตรนิเทศ ผลการวิจัยพบว่า ทุกกิจกรรมประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจและมีคุณภาพเป็นที่น่าพอใจ โดยทุกตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือมีคุณภาพในระดับดีขึ้นไป  ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและเรียนรู้ในทางบวก ทั้งในระดับบุคคล กลุ่มบุคคล และระดับโรงเรียนตามที่คาดหวังไว้  ปัจจัยของความสำเร็จ ได้แก่ การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง เกิดการเปลี่ยนแปลงและเรียนรู้ทั้งในด้านความรู้และประสบการณ์ และเกิดองค์ความรู้ใหม่ที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาครูและพัฒนางานต่อโรงเรียน ได้แก่ 1) การปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ 2) การใช้กระบวน การวิจัยปฏิบัติการเพื่อการพัฒนางาน 3) การคำนึงถึงหลักการของ PAR จรรยาบรรณ และบทบาทของผู้วิจัย   4) การคำนึงถึงหลักการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ 5) หลักการพัฒนาครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  6) หลักการกัลยาณมิตรนิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งเน้นการมส่วนร่วม การทำงานเป็นทีมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน   คำสำคัญ : การพัฒนาคุณภาพครู, สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม   ABSTRACT The purposes of this research were to study: 1) the former state and current state, problem, anticipation,  solution options for the problems and the consequences of  the case of basic education schools;    2) the changing, the learning experienced by teacher at individual,  group and school levels;  and the body of knowledge brought about by the supplement of interventions principles. The research methodology here in was Participatory Action Research. The implemented in 10 steps of Participatory Action Research as follow were used 1) Preparation  2) Planning 3) Acting 4) Observing 5) reflecting 6) re-planning 7) Re-acting  8) Re-observing  9) Re-reflecting, and 10) Conclusion. The research participants consisted  of  25 teachers,  and 4 key informants of  Pattana  Khon Kaen school. The instruments used were the observation form, interview form, questionnaire form, assessment form, and investigation form or record form. The research findings: It was found that an Pattana Khon Kaen school, though giving priority to learning and teaching process management; and this were established the internal education quality standards system. The current state and problem are:1) the most of research participants implement self development method 2) this school lack of teacher development system  and lack of oriented student instruction. The anticipation are teachers moralities and competencies development ;  thus implementing two strategic plans and six projects to solve this problems.  These are: 1) the professional teacher development by systematic quality process, 2) the student care and engagement system  3) the friendly supervision 4) the classroom action research training  5) the development of school curriculum, together with child-centered learning process, and 6) the student critical thinking development. Most of them are projects for enhancing teachers’ quality and there has passed the project indicators assessment on satisfied quality level.  Moreover, it was found that teachers, school  administrators, and the researcher himself also had acquired the bodies of knowledge from their own experience which main interventions principles were: 1) systematic administrative and effective changing for their own teachers tasks; group tasks; and school administration, 2) being steadfast in six research principles for teachers development, 3) mandatory teachers’ roles, 4) being mindful of the ten principles, ten moralities and ten researcher’s roles in doing Participatory Action Research, and 5) being mindful of these brought  about by the four supplement   of interventions principles such as the principle of system approach, the principle of adult learning, the principle of school based management, and the principle of friendly supervision, all for the teachers development in basic education school. Keywords : Teacher Quality Development, Basic Education School, Participatory Action Research

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2015-06-26