การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของภาวะผู้นำผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน DEVELOPMENT OF A LINEAR STRUCTURAL RELATIONSHIP MODEL OF THE ADMINISTRATORS’ LEADERSHIP AFFECTING THE SCHOOL EFFECTIVENESS IN BO
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของภาวะผู้นำผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบเชิงสมมติฐานของภาวะผู้นำผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่หนึ่ง การกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย ระยะที่สอง การตรวจสอบสมมติฐานการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน (ครูใหญ่) จำนวน 130 คน และครูผู้สอน จำนวน 390 คน ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปีการศึกษา 2555 โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อการวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุ (Causal Model) และตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบตามทฤษฎีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ประกอบด้วยตัวแปรต่างๆ ดังนี้ ตัวแปรภายนอก ได้แก่ 1. องค์ประกอบด้านภูมิหลังผู้บริหารโรงเรียน ประกอบด้วย ระดับการศึกษา การศึกษาอบรมทางการบริหาร และประสบการณ์การบริหาร 2. องค์ประกอบสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย การใช้อำนาจในตำแหน่ง ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารกับผู้ใต้บังคับบัญชา การจัดการโครงสร้างงานในโรงเรียน และความสัมพันธ์โรงเรียนกับชุมชน ตัวแปรภายใน ได้แก่ 1. องค์ประกอบด้านคุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน ประกอบด้วย ด้านบุคลิกภาพ ด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์และจิตใจ ด้านคุณธรรมจริยธรรม และด้านทักษะการบริหารงาน 2. องค์ประกอบด้านพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน ประกอบด้วย การสร้างวิสัยทัศน์ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ ความพึงพอใจในงาน และการบริหารแบบมีส่วนร่วม สำหรับตัวแปรผลได้แก่ องค์ประกอบด้านประสิทธิผลโรงเรียน ประกอบด้วย ความสามารถในการพัฒนานักเรียน ความสามารถในการปรับเปลี่ยนพัฒนาโรงเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหาในโรงเรียน การพัฒนาบุคลากร และบรรยากาศสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน 2. ผลการตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบเชิงสมมติฐานของภาวะผู้นำผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่ารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของภาวะผู้นำผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปรแฝงปรากฏผล ดังนี้ องค์ประกอบด้านภูมิหลังของผู้บริหาร มีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลของโรงเรียน และมีอิทธิพลทางอ้อมส่งผ่านองค์ประกอบด้านคุณลักษณะ และยังส่งผ่านองค์ประกอบด้านพฤติกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 องค์ประกอบด้านสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง มีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลของโรงเรียน และมีอิทธิพลทางอ้อม ส่งผ่านองค์ประกอบด้านคุณลักษณะ และยังส่งผ่านองค์ประกอบด้านพฤติกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาค่าน้ำหนักองค์ประกอบของตัวแปรสังเกตได้จะพบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 องค์ประกอบด้านคุณลักษณะ มีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผล และมีอิทธิพลทางอ้อมส่งผ่านองค์ประกอบ ด้านพฤติกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 องค์ประกอบด้านพฤติกรรม พบว่า มีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลของโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R2) สำหรับสมการโครงสร้างของรูปแบบ พบว่า ตัวแปรแฝงภายนอกซึ่งเป็นตัวแปรสาเหตุ ได้แก่ องค์ประกอบด้านภูมิหลังของผู้บริหาร และองค์ประกอบด้านสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อตัวแปรแฝงภายในและตัวแปรผล ได้แก่ องค์ประกอบด้านพฤติกรรม องค์ประกอบด้านคุณลักษณะ และองค์ประกอบด้านประสิทธิผลของโรงเรียน และสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรแฝงภายในแต่ละตัวได้ร้อยละ 67, 63 และ 60 ตามลำดับ คำสำคัญ : สมการโครงสร้างเชิงเส้น, ภาวะผู้นำของผู้บริหาร, ประสิทธิผลของโรงเรียน ABSTRACT This study aimed at 1) developing a linear structural relationship model of the administrators leadership affecting the school effectiveness in Border Patrol Police schools, and 2) investigating the consistency between the hypothetical model of the administrators leadership affecting the school effectiveness in the Border Patrol Police schools and the empirical data. The study was divided into 2 phases: Phase 1- setting a conceptual framework of the study, Phase 2- checking hypotheses of the study. The samples consisted of 130 school administrators and 390 teachers in the Border Patrol Police schools under the Border Patrol Police Bureau, Office of the Royal Thai Police in the academic year 2012 by using multi -stage random sampling. A research instrument used was a 5 points scale rating questionnaire. The basic data was analyzed by Statistical Package for Social Science (SPSS) for casual model analysis and investigation the consistency between the theoretical model and the empirical data. The study results revealed that administrators leadership affecting the school effectiveness in Border Patrol Police schools consisted of various variables as follows; extraneous variable were 1. The background elements of school administrators consisted of education level, management training and management experience. 2. Related situation elements consisted of use of Positional Power, the relationship between administrators and subordinates, management structures in schools and the relationship between school and community. The internal variables were 1. The leadership characteristics components of the school administrators consisted of personality, intellectual, emotional and psychological, moral and management skills aspects. 2. The components of leadership behaviors of school administrators consisted of creating a vision, achievement motivation, relationship motivation, job satisfaction and participative management. The dependent variable was school effectiveness components which consisted of ability to develop students, ability to modify the school, ability to solve problems in school, workforce development and atmospheric environment in the school. 2. The results of investigating the consistency between the hypothetical model of the administrators leadership affecting the school effectiveness in the Border Patrol Police schools and the empirical data found that a linear structural relationship model of the administrators leadership affecting the school effectiveness in Border Patrol Police schools researchers developed have consistency with the empirical data. The analysis of the influence of the latent variables revealed as follows; The background elements of school administrators had a direct effect on the effectiveness of school and indirect effect by transmission through characteristics components. Moreover, there is also a statistically significant difference at .01 level by transmission through behavior components. Related situation elements had a direct effect on the effectiveness of school and indirect effect by transmission through characteristics components. Moreover, there is also a statistically significant difference at .01 level by transmission through behavior components. When considering the value of weight of the observed variable component also found a statistically significant difference at .01 level. Characteristics components had a direct effect on the effectiveness of school and indirect effect by transmission through behavior components considered statistically significant difference at .01 level. Behavior components had a direct effect on the effectiveness of school considered statistically significant difference at .01 level. When considering the prediction coefficient (R2) for structural equation of the form found that external latent variables which were cause variables included the background elements of school administrators and related situation elements were statistically significant difference on internal latent variables and dependent variable which were behavior, characteristics, effectiveness of school components. Moreover, it can explain variance of each internal latent variable the percent of 67, 63 and 60 respectively. Keywords: Linear Structure Equation Model, Administrators’ Leadership, The school Effectiveness.Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2014-04-08
Issue
Section
Articles