ศึกษาความเป็นภาวะผู้นำทางจริยธรรมตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารสถานศึกษา เขตภาษีเจริญ สังกัดกรุงเทพมหานคร

Authors

  • พระมหาวชิรวิชญ์ คามพินิจ

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความเป็นภาวะผู้นำทางจริยธรรมตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารสถานศึกษา เขตภาษีเจริญ สังกัดกรุงเทพมหานคร จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน วุฒิการศึกษา และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูปฏิบัติงานการสอนในโรงเรียน สำนักงานเขตภาษีเจริญ สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 238 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบประเมินค่า 5 ระดับ ได้แก่ แบบสอบถามระดับการปฏิบัติตนที่เกี่ยวกับความเป็นภาวะผู้นำทางจริยธรรมตามแนวพระพุทธศาสนาด้านหลักทศพิธราชธรรมและด้านหลักพรหมวิหารธรรม ของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ความถี่ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way ANOVA) และเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของ เชพเฟ่ (Scheffe 's test) ผลการวิจัยพบว่า 1. ความเป็นภาวะผู้นำทางจริยธรรมตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารสถานศึกษา เขตภาษีเจริญ สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การปฏิบัติตน อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านพรหมวิหารธรรม รองลงมา คือ ด้านทศพิธราชธรรม 2. การเปรียบเทียบความเป็นภาวะผู้นำทางจริยธรรมตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารสถานศึกษา เขตภาษีเจริญ สังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า 2.1 ครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่ำกว่า 20 ปี และประสบการณ์การทำงานตั้งแต่ 20 ปี ขึ้นไป มีความคิดเห็นต่อความเป็นภาวะผู้นำทางจริยธรรมตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านทศพิธราชธรรมไม่แตกต่างกัน แต่ด้านพรหมวิหารธรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 ครูที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี และสูงกว่าปริญญาตรี มีความคิดเห็นต่อความเป็นภาวะผู้นำทางจริยธรรมตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3 ครูที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันมีความคิดเห็นต่อความเป็นภาวะผู้นำทางจริยธรรมตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารสถานศึกษา เขตภาษีเจริญ สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ : ความเป็นภาวะผู้นำทางจริยธรรมตามแนวพระพุทธศาสนา / ทศพิธราชธรรม / พรหมวิหารธรรม Abstract This study aimed to examine and compare Buddhism Ethical Leadership of Educational Administrators in Schools Under Bangkok Metropolitan in Phasricharoen District classified by work experiences, qualifications, and school sizes. The samples were 238 teachers participated in the study. The research instrument was the five-point-rating scale questionnaire to measure the school administrators’ ethical leadership categorized into the two principles of the Buddhist moral framework, namely the tenfold virtues of a ruler and the four noble sentiments. The questionnaire had a reliability level at .96. The statistical techniques used were percentage, frequency, mean, standard deviation, t-test, One-Way ANOVA, and Scheffe’s test. The results showed that; 1. The ethical leadership within the Buddhist framework practiced by the school administrators perceived by teachers was at a high level in an overall evaluation. Also, the evaluation of each principle category was at a high level, ranging from the four noble sentiments to the tenfold virtues of a ruler respectively. 2. A comparison of the ethical leadership within the Buddhist framework practiced by the school administrators as perceived by teachers showed that; 2.1 Teachers who had less than 20 years of work experiences and more than 20 years of work experience did not have different perceptions towards the ethical leadership of the school administrators for the overall evaluation. However, their perceptions towards the ethical leadership of school administrators in the four noble sentiments were significantly different at the level of .05 2.2 Teachers who had bachelors’ degrees or higher had different perceptions towards the ethical leadership of the school administrators for the overall evaluation and for each principle category at the significant level of .05 2.3 Teachers who engaged in different sizes of schools had different perceptions towards the ethical leadership of the school administrators in Phasricharoen District, Bangkok for the overall evaluation and for each principle category at the significant level of .05. KEYWORDS : A BUDDHISM ETHICAL LEADERSHIP / TENFOLD VIRTUES/FOUR NOBLE SENTIMEN

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

พระมหาวชิรวิชญ์ คามพินิจ

Downloads

Published

2014-03-11