การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนประถมศึกษา : การสร้างทฤษฎีจากฐานราก
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอข้อสรุปเชิงทฤษฏีเกี่ยวกับ ปรากฏการณ์การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนประถมศึกษา ในด้านรูปแบบและลักษณะการมีส่วนร่วม กระบวนการมีส่วนร่วม ระดับของการมีส่วนร่วม ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการมีส่วนร่วม ปัจจัยเงื่อนไขในการมีส่วนร่วม ผลกระทบของการมีส่วนร่วม และบทบาทของผู้เกี่ยวข้อง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก เลือกพื้นที่ศึกษาโดยวิธีการเลือกเชิงทฤษฎีที่มีลักษณะสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการศึกษา การจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลดำเนินการโดยการสัมภาษณ์ระดับลึก การสังเกตและจดบันทึก การวิเคราะห์เอกสาร และการจัดสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน กลุ่มผู้ปกครองนักเรียน กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มนักเรียน กลุ่มผู้บริหารและครูในศูนย์อำนวยการเครือข่าย กลุ่มผู้ให้การนิเทศ ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มผู้มาศึกษาดูงาน กลุ่มประชาชนผู้มีส่วนร่วมอย่างสม่ำเสมอในการจัดการศึกษา กลุ่มประชาชนผู้มีส่วนร่วมไม่สม่ำเสมอในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มประชาชนผู้ไม่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานรวม 72 คนและการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีแปลความ และตีความหมายข้อมูล แล้วสร้างมโนทัศน์ขึ้นจากความไวทางทฤษฎี และใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นตอนสุดท้าย ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนกับสถานศึกษา ประกอบด้วย 1)รูปแบบการมีส่วนร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล 2) รูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) รูปแบบการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของผู้ปกครอง 4) รูปแบบการมีส่วนร่วมของศิษย์เก่า 5) รูปแบบการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการภาคี 4 ฝ่าย (ผู้แทนครู ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนชุมชน และผู้แทนกรรมการนักเรียน) 6)รูปแบบการมีส่วนร่วมขององค์กรต่างๆ ในชุมชน 7)รูปแบบการมีส่วนร่วมของกลุ่มอาชีพและผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน 8) รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนทั่วไปในชุมชน 9) รูปแบบการมีส่วนร่วมของหน่วยงานราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ 10) รูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและสถานประกอบการ11) รูปแบบการมีส่วนร่วมของศูนย์อำนวยการเครือข่ายและ 12) รูปแบบการมีส่วนร่วมในการระดมทุน 2. กระบวนการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 สำรวจความต้องการการสำรวจข้อมูล พื้นฐาน ขั้นที่ 2 การกำหนดมาตรฐานของสถานศึกษา ขั้นที่ 3 การวางแผนพัฒนาสถานศึกษาตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ ขั้นที่ 4 ขั้นการดำเนินการ ขั้นที่ 5 ขั้นการประเมินผล ขั้นที่ 6 ขั้นการร่วมรับผลประโยชน์ 3. ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 4 ระดับคือ 1) ระดับร่วมวางแผนตัดสินใจ 2) ระดับปฏิบัติการ 3) ระดับการรับประโยชน์ 4) ระดับการประเมินผล 4. ปัจจัยและเงื่อนไขที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย ปัจจัยและเงื่อนไขภายในโรงเรียน ได้แก่ ปัจจัยด้านผู้บริหาร มี 7 ด้าน ปัจจัยด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา มี 17 ด้าน ปัจจัยด้านคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 5 ด้าน ปัจจัยด้านโรงเรียน มี 9 ด้าน ปัจจัยและเงื่อนไขภายนอกโรงเรียน ประกอบด้วย 1) ปัจจัยด้านชุมชน มีทั้งหมด 19 ด้าน 2) ปัจจัยด้านการเมือง มี 4 ด้าน 3) ปัจจัยด้านงบประมาณ 4) ปัจจัยด้านวัฒนธรรม 5) ปัจจัยด้านทรัพยากรและสภาพแวดล้อมในชุมชน 6) ปัจจัยด้าน สื่อและเทคโนโลยี 7)ปัจจัยที่เกิดจากข้อเสนอแนะของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) 5. ยุทธศาสตร์ที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย 1) ยุทธศาสตร์การศึกษาสภาพแวดล้อมชุมชน 2) ยุทธศาสตร์การศึกษาประวัติความเป็นมาและสภาพชุมชน 3) ยุทธศาสตร์การศึกษาประวัติความเป็นมาและสภาพปัจจุบันของสถานศึกษา 4) ยุทธศาสตร์การปรับบุคลิกภาพการทำงานของผู้บริหารสถานศึกษา 5) ยุทธศาสตร์การปรับบุคลิกภาพการทำงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา และ 6) ยุทธศาสตร์การปรับปรุงวิธีการดำเนินงานและผลการดำเนินงานของสถานศึกษา 6. ผลกระทบของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วยผลกระทบต่อนักเรียน ผลกระทบต่อครูและบุคลากรทางการศึกษา ผลกระทบต่อคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลกระทบต่อชุมชน และผลกระทบต่อโรงเรียน 7. บทบาทของผู้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย บทบาทของผู้บริหาร บทบาทของครูและบุคลากรทางการศึกษา บทบาทของผู้เรียน บทบาท ของผู้ปกครอง บทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน บทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบล และ บทบาทการมีส่วนร่วมของชุมชน 8. การเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชน ประกอบด้วย การมีส่วนร่วม 4 ลักษณะ คือ 1) การมีส่วนร่วมในการร่วมคิดและตัดสินใจ 2) การมีส่วนร่วมในการสนับสนุนและร่วมดำเนินงาน 3) การมีส่วนร่วมควบคุม ตรวจสอบการดำเนินงานของโรงเรียน 4) การมีส่วนร่วมในการรับบริการและรับความช่วยเหลือจากโรงเรียน 9. วิธีการในการเข้ามามีส่วน ประกอบด้วย 2 วิธี คือ 1) การเข้ามามีส่วนร่วมโดยความสมัคร ใจหรืออาสาสมัคร 2) การมีส่วนร่วมโดยการถูกชักจูงหรือชักชวน 10. อุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 3 บริบท คือ บริบทจากโรงเรียนและผู้บริหาร บริบทด้านผู้ปกครอง และบริบทด้านชุมชน คำสำคัญ : การมีส่วนร่วม, การมีส่วนร่วมของชุมชน, ทฤษฎีฐานราก, การจัดการศึกษา Abstract The purpose of this study was to present theoretical conclusions on the phenomena of community participation in managing education in primary schools in terms of models and characteristics of participation, processes of participation, degrees of participation, strategies of participation, factors and conditions of participation, effects of participation and roles of those concerned as well. This qualitative research aimed to construct a grounded theory by selecting areas for the study through theoretical sampling consistent with the research objectives. Data collection was done through in-depth interviews, observation and records, documentary analysis and focus group discussion. The key informants included school administrators, teachers, groups of parents/guardians, groups of community leaders, groups of students, groups of administrators and teachers at network centers, groups of educational supervisors. groups of executives in local administration organizations, groups of members of study tours, groups of regular and irregular participants in managing education, as well as groups of those with no participation a total of 72 Data were analyzed using interpretation followed by constructing concepts through the theoretical sensitivity. Eventually, data were analyzed by the computer programs. The findings were as follows: 1. The models of participation in educational management of the schools and communities comprised the following models : 1)participation with local administration organizations, 2)participation of the school boards, 3)participation of parents/guardians, 4)participation of alumni, 5)participation of representatives from 4 parties (teachers, parents/guardians, communities and student committees), 6)participation of various organizations in communities, 7)participation of occupational groups, entrepreneurs and community enterprises, 8)general public in communities 9)participation of public sectors and authorities, 10)participation of private sectors and workplaces, 11)participation of network centers, 12)participation of fund raisers. 2. The procedure of participation was composed of : 1)survey of needs and basic information, 2)setting up the school standards, 3)planning the school development based on school vision and mission, 4)action, 5)evaluation and 6)getting benefits. 3. The degrees of managing basic education included the following levels : 1) planning and decision making, 2) action, 3) getting benefit and 4) evaluation. 4. The factors and conditions of participation affecting basic educational management comprised-factors and conditions in the schools consisting of : Factors on school administrators were composed of 7 factors , factors on teachers and educational personnel included 7 factors, factors on school board members comprised 5 factors. And factors on schools consisted of 9 factors. Factors outside the schools comprised : 1) Factors on community included : 20 factors 2) Factors on politics 3) Factors on budgeting 4) Factors on cultures 5) Factors on school resources and environment 6) Factors on instructional materials and technologies 7) Factors on suggestions from the Office for National Education Standards and Quality Assessment 5. Strategies to promote community participation in basic educational implementation were composed of the following strategies : school conditions and environment, study of community backgrounds and history, study of current backgrounds and history of the schools, adjustment of job performances among the school administrators, adjustment of job performances of the teachers and educational personnel, and improvement of school performances and effects as well 6. The effects of basic educational implementation of communities were composed of the following : effects on the students, on the teachers, on the school committees, on the communities as well as on the schools 7. The roles of the stakeholders in implementing basic education included : the roles of the school administrators, the roles of the teachers and educational personnel, the roles of the learners, the roles of parents/guardians, the roles of the school boards, the roles of the local administration organizations and the roles of community participation 8. The community participation consisted of the following characteristics : 1) participation in collaborative thinking and decision making, 2) participation in support and collaboration, 3) participation in controlling and overseeing the school performances, 4) participation in getting services and assistances from the schools. 9. The means of participation included : 1) voluntary participation and 2) participation by being lured or persuaded. 10. The obstacles toward community participation in managing basic education: comprised the context of the schools and school administrators, the context of the parents/guardians and the context of communities Keywords: Community Participation, Grounded theory, Educational ManagementDownloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2014-03-11
Issue
Section
Articles