การพัฒนาหลักสูตรเสริมการสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันยาเสพติด

Authors

  • ดิฐภัทร บวรชัย

Abstract

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรเสริมการสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันยาเสพติดสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร มีกระบวนการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรเสริม มี 3 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 การศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรเสริม ขั้นที่ 2 การสัมภาษณ์และตอบแบบสำรวจข้อมูลพื้นฐาน ขั้นที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูล ผลการสำรวจสภาพปัญหายาเสพติดจากความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน พบว่ามีนักเรียนเสพยาเสพติดประเภทบุหรี่ ร้อยละ 33.80, 32.50, 29.40 ดื่มสุรา ร้อยละ 26.80, 29.10, 31.30 พื้นที่รอบๆโรงเรียนมีการเสพยาเสพติด ร้อยละ 32.40, 36.90, 34.10 พื้นที่รอบๆโรงเรียนมีการจำหน่ายยาเสพติด ร้อยละ 29.60, 24.50, 27.90 มีสถานบันเทิงใกล้โรงเรียน ร้อยละ 23.90, 22.20, 23.50 ตามลำดับ ผู้บริหารและครู พบว่าเคยมีผู้ปกครองมาปรึกษาเรื่องลูกสูบบุหรี่ ดื่มสุรา เสพยาเสพติด ร้อยละ 35.20, 43 ทักษะชีวิตที่ต้องการพัฒนามากที่สุด คือ การควบคุมตนเอง ผู้บริหารสถานศึกษามีความต้องการจำเป็นหลักสูตรเสริมมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ขั้นตอนที่ 2 การสร้างหลักสูตรเสริม มี 3 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 การสร้างโครงร่างของหลักสูตรเสริม ขั้นที่ 2 การตรวจสอบโครงร่างของหลักสูตรเสริมโดยการจัดกลุ่มสนทนา ผู้ทรงคุณวุฒิร่วมกันพิจารณาได้ข้อสรุปว่า ร่างหลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินความสอดคล้องของแต่ละองค์ประกอบของหลักสูตร พบว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถนำไปใช้จัดการเรียนการสอนได้ ขั้นที่ 3 การปรับปรุงโครงร่างของหลักสูตรเสริม ผู้วิจัยปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรเสริมตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ จากนั้นนำหลักสูตรเสริมไปทดลองใช้ ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบประสิทธิภาพของหลักสูตรเสริมมี 3 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 การนำหลักสูตรเสริมไปใช้ในโรงเรียน ขั้นที่ 2 การประเมินการใช้หลักสูตรเสริม ขั้นที่ 3 การประเมินความพึงพอใจต่อการใช้หลักสูตรเสริม ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพของหลักสูตรเสริมพบว่า ด้านระดับความรู้ คะแนนระดับความรู้ก่อนการทดลองมีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 12.83 คะแนน ระดับความรู้หลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 20.53 ด้านเจตคติ คะแนนการประเมินด้านเจตคติมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินด้านประสิทธิภาพของหลักสูตรเสริม โดยใช้เกณฑ์ E1/ E2 คือ 80/80 พบว่า ค่าประสิทธิภาพของกระบวนการมีค่าเท่ากับ 80.98 และค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์มีค่าเท่ากับ 82.13 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้หลักสูตรเสริม โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษา และครู พบว่ามีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ คุณลักษณะของวิทยากรมีความเหมาะสม ด้านการแต่งกาย ความประพฤติ และเป็นแบบอย่างที่ดี กิจกรรมการเรียนการสอนสนุกสนาน มีความหลากหลายน่าสนใจ พิธีปิดทำให้นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจ ขั้นตอนที่ 4 การแก้ไขปรับปรุงหลักสูตรเสริม โดยการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรเสริมภายหลังจากนำหลักสูตรไปทดลองใช้แล้ว ได้แก่ บรรยากาศ สถานที่จัดการเรียนการสอน ควรเป็นห้องเรียน เนื้อหาในเอกสารสมุดบันทึกส่วนตัวของนักเรียนปรับปรุงให้สมบูรณ์ ควรเพิ่มเวลาเรียนให้มากขึ้น และให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในพิธีปิด คำสำคัญ : การพัฒนา, หลักสูตร, ทักษะชีวิต, การป้องกันยาเสพติด Abstract This research aims to develop a life skill curriculum in order to promote drug prevention of secondary school students of BMA. The processes of this research can be divided into 4 sections. Section 1. A study of Fundamental data, problems and needs assessment in developing Curriculum can be divided into 3 stages: studying research paper that related to curriculum development, collecting data by interviewing and questionnaires, and analyzing data. The data collected to survey the attitude of school managers, teacher and student toward drug expansion revealed that students were addicted to smoking 33.80, 32.50 and 29.40 percent, were alcoholic 26.80, 29.10 and 31.30 percent, people in the surrounded the school take drug 32.40, 36.90 and 34.10 percent, drugs were sold in the area surrounded the school 29.60, 24.50 and 27.90 percent, and there were entertainment venues near the school 23.90, 22.20 and 23.50 percent. In addition, the results showed that amphetamine and volatile Substances were wide sold around school and there were parents consulting with school managers and teacher about their children smoking, drinking alcohol and taking drugs 35.20 and 43 percent. Besides, life skill that highly needed to develop is self-control. Section 2. Designing Curriculum by using data from section 1 was divided into 3 stages: outlining curriculum, verifying curriculum structure and adjusting curriculum structure. For verifying curriculum structure, experts considered the consistency of the curriculum and gave a consensus that the level of an appropriateness was 4.10 and the index of CVI consistency was .92. This can be accepted to use in teaching and learning. Concerning adjusting a curriculum structure, a research has adjusted and followed expert suggestion before piloted. Section 3. Evaluation the curriculum efficiency was divided into 3 stages: using curriculum in school, evaluating curriculum, and evaluating the Satisfaction of using curriculum. According to this section, the knowledge level of students before using the curriculum is an the average 20.53. For the attitude evaluation, the average is very high. In evaluation the efficiency of teaching and studying procedures, the valuation is 80.98 and the efficiency of the result is 82.13 that is higher than E1/E2 (80/80). Furthermore, the data from interview showed that the characteristics of a lecturer is a good example, also, teaching and learning activities were various and interesting. Section 4. The curriculum was adjusted after using is location for has learning could be of classroom, text of notebook for student is developed of successfully and parent have participation in finish. Keywords: Development, Curriculum, Life skill, Drug Prevention

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

ดิฐภัทร บวรชัย

Downloads

Published

2014-03-03