การบริหารสถานศึกษาสังกัดเทศบาลปลายบาง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี (The School Administration under Plybang Municipal, Amphor Bangkaew, Nonthaburi Province)
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษา และ 2)กำหนดแนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาสังกัดเทศบาลตำบลปลายบาง อำเภอ บางกรวย จังหวัดนนทบุรี โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นที่มีค่าความเที่ยงตรงรายข้ออยู่ระหว่าง 0.80-1.00 ทั้งฉบับมีค่า 0.87 และมีค่าความเชื่อมั่นเป็น 0.98 กับผู้บริหารและครูทั้ง 7 โรงเรียน จำนวน 155 ฉบับ ได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์กลับคืนทั้งสิ้น จำนวน 130 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 83.87 และใช้แบบสัมภาษณ์เพื่อสัมภาษณ์ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการทั้ง 7 โรงเรียน รวม 14 คนเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารงานสถานศึกษาสังกัดเทศบาลตำบลปลายบาง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรีโดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการบริหารวิชาการ ในแต่ละประเด็นย่อย ๆ อยู่ในระดับมากเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นการนิเทศการเรียนการสอน ในเรื่องการจัดระบบการนิเทศการเรียนการสอนในโรงเรียน การประเมินผลการนิเทศภายในโรงเรียน และการวัดและประเมินผลการเรียนการสอนในเรื่องการกำหนดระเบียบและแนวปฏิบัติในการวัดผลและประเมินผล ที่อยู่ในระดับปานกลาง ด้านการบริหารงานบุคลากร อยู่ในระดับมากในประเด็นของการได้มาซึ่งบุคลากร นอกนั้นอยู่ในระดับปานกลางทุกประเด็นโดยการบำรุงรักษาบุคลากรในเรื่องการส่งเสริมและยกย่องเชิดชูเกียรติ การพัฒนาบุคลากรในเรื่องการดำเนินการพัฒนาบุคลากรในรูปแบบต่าง ๆ และการประเมินบุคลากรในเรื่องการประเมินผลการปฏิบัติงาน การเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางวิชาชีพ และการดำเนินงานทางวินัยและการลงโทษที่อยู่ในระดับปานกลาง ด้านการบริหารงานงบประมาณ อยู่ในระดับมากเกือบทุกประเด็น ยกเว้นการระดมทรัพยากรและการจัดการสินทรัพย์ที่อยู่ในระดับปานกลาง การจัดการงบประมาณในเรื่องการรายงานผลการใช้งบประมาณ และการระดมทรัพยากรและการจัดการสินทรัพย์ ในเรื่องการระดมทรัพยากรจากองค์กรและสถาบันต่าง ๆ การดำเนินการด้านกองทุนต่าง ๆ และการจัดหาผลประโยชน์จากสินทรัพย์ ที่อยู่ในระดับปานกลาง ด้านการบริหารทั่วไป อยู่ในระดับมากเกือบทุกประเด็น ยกเว้นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนที่อยู่ในระดับปานกลาง โดยกิจกรรมนักเรียนและการบริการในเรื่องการพัฒนาเครือข่ายทางการศึกษากับผู้ปกครอง การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ในเกือบทุกเรื่อง และการอำนวยการทั่วไปในเรื่องการพัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ และการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และรายงานการปฏิบัติงานที่อยู่ในระดับปานกลาง 2. แนวทางในการพัฒนาการบริหารงานสถานศึกษาด้านการบริหารงานวิชาการ ประกอบด้วย การวางแผนโดยการมีส่วนร่วมและการบริหารโดยโรงเรียนเป็นฐาน การจัดบุคคลให้เหมาะสมและทำงานเป็นทีม การวางแผนอย่างเป็นระบบ การกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับนโยบายของ สพฐ. การวางแผนพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ การดำเนินการนิเทศ การพัฒนาการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน และการนำผลการประเมินไปใช้ ด้านการบริหารงานบุคลากร ประกอบด้วย การได้มาซึ่งบุคลากรโดยการสอบวัดความรู้ การสัมภาษณ์ ตรวจสอบประวัติการทำงาน การสร้างขวัญและกำลังใจให้กับคณะครู การพัฒนาบุคลากรโดยการสำรวจความต้องการและสนับสนุนงบประมาณ การพัฒนาการประเมินบุคลากรโดยมีเกณฑ์และมีส่วนร่วม ด้านการบริหารงานงบประมาณ ประกอบด้วย การจัดตั้งงบประมาณโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม การจัดสรรที่เหมาะสม มีงบประมาณสำรอง มีการจัดทำเอกสารและหลักฐานให้โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีการประเมิน วิเคราะห์เพื่อปรับปรุงการดำเนินการเกี่ยวกับพัสดุ ครุภัณฑ์ตามขั้นตอน มีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอและเป็นปัจจุบัน มีการรายงาน และการระดมทรัพยากรและการจัดการสินทรัพย์ ด้านการบริหารงานทั่วไป ประกอบด้วย การจัดระบบงาน การตรวจสอบ ประเมิน วิเคราะห์ ปรับปรุงเพื่อเป็นแนวทางในครั้งต่อไปอย่างสม่ำเสมอ การให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมตัดสินใจในรูปของคณะกรรมการ และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนโดยชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม การใช้วิทยากรในชุมชน การปรับปรุงอาคารให้น่าเรียน ปลอดภัย สามารถใช้งานได้ตลอด การจัดทำแผนปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและเป็นปัจจุบัน ดำเนินตามแผน สรุป ประเมิน และปรับปรุง Abstract This research aims to study 1) to study the factors related to the administrative efficiency of a small basic education school; and 2) to study the factors affecting the administrative efficiency of small basic education school in the Uthaithanee educational service area. 265 questionnaires were sent out. All were completed and returned. The data was analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis. The research findings are as follows. 1. The factors related to administrative efficiency of small basic education school in overall were at a high level, in every individual aspect was high , specifically, honesty in working was at the highest level. 2. The level of the administration efficiency was at the moderate level, except the desirable morals, ethics and the value of students. The students had working skills, dedication, team work skills, and good attitudes towards job careers, good behavior, good physical and mental health. Also, the administrators had a good level of leadership and administrational capacity.Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2014-03-05
Issue
Section
Articles