การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนักศึกษา
Abstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนักศึกษาโรงเรียนวัฒนพฤกษาบริหารธุรกิจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษา 2554 โรงเรียนวัฒนพฤกษาบริหารธุรกิจ ทั้งหมด จำนวน 225 คน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการที่เป็นวัฏจักร ประกอบด้วยการวางแผน(Plan) การปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการ(Action) การสังเกตและประเมินผล(Observation) และการสะท้อนผลปฏิบัติ(Reflection) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยภาพรวมมีการพัฒนาเป็นระดับมากทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า (1) ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ก่อนและหลังดำเนินการพัฒนาอยู่ในระดับเดิมเกือบทุกประเด็น ยกเว้นเรื่องถ่ายทอดวิสัยทัศน์ไปยังผู้ร่วมงาน ที่แต่เดิมอยู่ในระดับมาก ลดลงเป็นระดับปานกลาง (2) ด้านการสร้างแรงบันดาลใจทั้งก่อนและหลังดำเนินการพัฒนาอยู่ในระดับมากทุกประเด็น (3) ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ก่อนดำเนินการพัฒนาที่อยู่ในระดับน้อยทุกประเด็นพัฒนาไปสู่ระดับมาก ยกเว้นในเรื่องการกระตุ้นให้ใช้ความคิดในการวางแผนป้องกันมากกว่าการแก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน เรื่องการกระตุ้นให้ผู้ร่วมงานแสดงความคิดเห็นในการทำงานเพื่อคิดค้นวิธีการใหม่ ๆ อย่างมีเหตุผล และเรื่องการส่งเสริมให้ผู้ร่วมงานพัฒนาตนเองโดยการวิเคราะห์เพื่อพิจารณาในเรื่องที่อาจจะเป็นปัญหาโดยการใช้เหตุผลและหลักฐาน มีการพัฒนาอยู่ในระดับปานกลางและ(4) ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ก่อนดำเนินการพัฒนาที่อยู่ในระดับน้อยทุกประเด็นพัฒนาเป็นระดับมากเกือบทุกประเด็น ยกเว้นเรื่องการมอบหมายภาระหน้าที่แก่ผู้ร่วมงานเป็นรายบุคคลโดยคำนึงถึงความสามารถของแต่ละบุคคลและเรื่องส่งเสริมให้ผู้ร่วมงานสนใจพัฒนาจุดเด่นของตนเองด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การเข้าร่วมฝึกอบรม ร่วมกิจกรรมและอื่น ๆ ที่พัฒนามาเป็นระดับปานกลางAbstract This research aims to study The development of the transformational leadership of Wattanapruksa School of Business Administration students in the level of vocational certificate (6 classes) and a vocational diploma (4 classes). The target groups are 225 students. The action research was used in cycling; planning, action, observation and reflection. The data was analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, and content analysis.The research finding showed that the students’ transformational leadership was developed to be higher for all aspects. When examined in each aspect, the finding showed that : (1) The idealized influence; before and after the development was the same level in each item except the relay vision to colleagues which was higher before but it declined to be average. (2) The inspirational motivation was high both before and after the development. (3)The intellectual stimulation was high level after the development from the low level almost of each item except idea stimulation for planning in order to prevent more than in fronted solving problem on work, stimulating the colleagues to share ideas to invent a new method reasonably, encouraging colleagues to improve themselves by analyzing and considering something that might be in trouble by using reasons and evidence was developed in the moderate level. (4)The individualized consideration was developed in the high level from the low level almost of each item except the assignment to colleagues individually, and encourage them to develop the in prominent point in different ways; for example, training, joining other activities were developed to the moderate level.Downloads
Download data is not yet available.
Downloads
Published
2014-02-10
Issue
Section
Articles