การถอดบทเรียนความสำเร็จในการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนพิทักษา

Authors

  • กรรณิการ์ เกิดศรีพันธุ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากระบวนการบริหารที่ก่อให้เกิดความสำเร็จในการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนพิทักษา สังกัดกรุงเทพมหานคร (2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนพิทักษาสังกัดกรุงเทพมหานคร (3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสำเร็จในการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนพิทักษาสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยใช้เครื่องมือที่เป็นแบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้างที่ผู้วิจัยสร้างขี้น ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างจากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง(Purposive Sampling) ที่เป็นผู้บริหารและบุคลากรจำนวน 34 คน  แล้วนำมาตรวจสอบความถูกต้องโดยการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า(Triangulation) แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จากนั้นจึงจัดการประชุมกลุ่ม (Focus Group) เพื่อวิเคราะห์สรุป  ผลการวิจัยพบว่า              1. กระบวนการบริหารที่ก่อให้เกิดความสำเร็จจะมีผู้อำนวยการเป็นผู้บริหารสูงสุดในการกำหนดนโยบายมีคณะกรรมการสถานศึกษาเป็นที่ปรึกษามีรองผู้อำนวยการเป็นผู้รับนโยบายมาปฏิบัติ แบ่งออกเป็น 4 ฝ่าย มีหัวหน้างานวิชาการ หัวหน้างานบริหารบุคลากร หัวหน้างานงบประมาณและหัวหน้างานบริหารทั่วไป มีการส่งเสริมสนับสนุนประสานงานชุมชน แต่ละฝ่ายเน้นการทำงานเป็นทีม มีการประชุมชี้แจงในภาระหน้าที่ของแต่ละแผนงานให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจในเนื้องาน มีระบบติดตามงานอย่างชัดเจน มีการนิเทศงานอย่างเป็นระบบ เป็นที่ยอมรับของผู้บริหาร และบุคลากรที่ได้รับการนิเทศ มีการรายงานผลการนิเทศติดตามงานอย่างเป็นระบบ และให้โอกาสปรับปรุงตนเองภายหลังได้รับการนิเทศแล้ว โดยกำหนดระยะเวลาอย่างชัดเจนตามแผนพัฒนางานของแต่ละฝ่าย มีระบบให้ความช่วยเหลือหลังการประเมินที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือบุคลากร มีการระดมสมองเพื่อใช้ในการตัดสินใจแก้ปัญหาโดยใช้การประชุมอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอก่อนตัดสินแก้ปัญหา เพื่อลดความผิดพลาด และความขัดแย้งให้มากที่สุด              2. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานได้แก่  (1)ปัญหาด้านกายภาพ มีพื้นที่คับแคบ การเดินทางเข้าออกไม่สะดวก ทำให้เกิดปัญหาในการ รับ ส่ง บุตรหลาน ขาดสถานที่จอดรถอย่างพอเพียง (2)จำนวนนักเรียน ที่มีความต้องการที่จะเข้าเรียนมีจำนวนมาก อาคารสถานที่และห้องเรียน ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องไม่เพียงพอ (3)บุคลากร  ได้รับค่าตอบแทนในตำแหน่งอาสาสมัครผู้ดูแลเด็ก ไม่เป็นไปตามวุฒิการศึกษา แตกต่างจากบัญชีเงินเดือนของข้าราชการอื่น ๆ ขาดความมั่งคงในการประกอบอาชีพ และสวัสดิการอื่นที่พึงจะได้รับจากหน่วยงานภาครัฐ (4)งบประมาณ ที่ต้นสังกัดยังจัดให้ไม่เหมาะสมเพียงพอต่อความต้องการและความจำเป็นในการบริหารจัดการให้ได้มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ เมื่อเปรียบเทียบกับองค์กรปกครองท้องถิ่นอื่น ๆ (5)การจัดการเรียนการสอน ที่ไม่ได้รับการดูแล การแนะนำ การนิเทศจากผู้เกี่ยวข้องโดยตรง ในด้านการจัดการศึกษาปฐมวัยจากต้นสังกัดให้มากเท่าที่ควร              3. ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสำเร็จในการบริหาร ประกอบด้วย (1) ผู้บริหารที่มีความสามารถ (2) การบริหารงานอย่างมีระบบ (3) คณะกรรมการสถานศึกษาที่เข้มแข็ง (4) การติดตามตรวจสอบภายในในรูปของคณะกรรมการ         (5) บุคลากรที่มีจิตอาสา (6) การให้ความสำคัญในการพัฒนาบุคลากร (7) การประชุมร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ และ(8) การมีส่วนร่วมของบุคลากรในลักษณะกัลยาณมิตรด้วยจิตอาสา

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2014-02-10