ปัจจัยที่มีผลต่อการแยกอำนาจหน้าที่ควบคุมวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาออกจากอำนาจหน้าที่ควบคุมของคณะกรรมการคุรุสภา
Keywords:
แยกอำนาจควบคุมวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาออกจากคณะกรรมการคุรุสภา, จัดตั้งสภาผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา, รัฐตรากฎหมายรองรับการควบคุมกันเองAbstract
การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการแยกอำนาจหน้าที่ควบคุมวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาออกจากอำนาจหน้าที่ควบคุมของคณะกรรมการคุรุสภาใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านลักษณะงานที่ทำ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาปฏิบัติงานที่มีลักษณะเหมือนกันคือ ด้านการบริหารวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาเป็นผู้ประกอบวิชาชีพกลุ่มหรือชุมชนเดียวกัน แตกต่างจากผู้ประกอบวิชาชีพครูที่มีลักษณะงานที่ทำเป็นงานการเรียนการสอนเป็นหลัก ด้านจำนวนผู้ประกอบวิชาชีพ พบว่า ณ วันที่ 20 กันยายน 2567 ผู้ประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษามีจำนวน 85,466 คน ผู้บริหารการศึกษามีจำนวน 7,917 คน รวมจำนวน 93,383 คน และจะมีเพิ่มขึ้นมาก ถือได้ว่าผู้ประกอบวิชาชีพทั้งสองมีจำนวนมากเพียงพอที่จะแยกออกจากอำนาจหน้าที่การควบคุมการประกอบวิชาชีพของคณะกรรมการคุรุสภาไปรวมกันจัดตั้งองค์กรวิชาชีพควบคุมดูแลกันเอง และด้านการควบคุมวิชาชีพเดียวกัน พบว่า ผู้ประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาในปัจจุบันอยู่ภายใต้การควบคุมวิชาชีพของคณะกรรมการคุรุสภาซึ่งมีวิชาชีพผู้ประกอบวิชาชีพครูและผู้ประกอบวิชาชีพศึกษานิเทศก์รวมอยู่ด้วย และแตกต่างจากผู้ประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่มีผลต่อการแยกอำนาจหน้าที่การควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาออกจากอำนาจหน้าที่ควบคุมของคณะกรรมการคุรุสภาไปจัดตั้งองค์กรวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา เรียกว่า สภาผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา โดยมีกฎหมายว่าด้วยสภาผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาซึ่งตราโดยรัฐDownloads
Downloads
Published
2025-03-07
Issue
Section
Articles