การบริหารการบริการแนะแนวของโรงเรียนขยายโอกาส ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1

School guidance management expands opportunities under the jurisdiction of the Uttaradit Primary Educational Service Area Office 1

Authors

  • พิรญาณ์ ธนคุณากาญจน์
  • หยกแก้ว กมลวรเดช
  • วจี ปัญญาใจ

Keywords:

การบริการแนะแนว, การบริหาร, โรงเรียนขยายโอกาส

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางการบริหารการบริการแนะแนว ของโรงเรียนขยายโอกาส ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้มาจากการคำนวณโดยใช้ตารางเครซี่และมอร์แกน จำนวน 226 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ความต้องการจำเป็นของการบริหารการบริการแนะแนวของโรงเรียนขยายโอกาส ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 ในงานการบริการงานแนะแนวทั้ง 5 บริการมีความต้องการจำเป็นอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงสุดตามลำดับ ได้แก่ บริการให้การปรึกษา บริการจัดวางตัวบุคคล บริการสำรวจ บริการสนเทศ และบริการ ติดตามผล 2. แนวทางการบริหารการบริการแนะแนวของโรงเรียนขยายโอกาส ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 แยกเป็นรายด้าน ดังนี้ 1. บริการสำรวจเป็นรายบุคคล (Individual Inventory Service) โรงเรียนควรจัดทำโครงสร้างหน้าที่ชัดเจนโดยมีครูประจำชั้นเป็นผู้สำรวจข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล และควรมีการส่งต่อข้อมูลให้กับครูในระดับชั้นต่อไป มีการจัดเวลาสำหรับการแลกเปลี่ยนแนวคิดและแก้ปัญหาเกี่ยวกับการสำรวจข้อมูล รวมถึงมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ สำรวจข้อมูล 2.บริการสนเทศ (Information Service) โรงเรียนควรมีการประชุมเพื่อวางแผน กำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์ด้านการบริการสนเทศ รวมถึงการออกแบบกิจกรรมแนะแนว กำหนดปฏิทินการติดตามและประเมินผล และควรมีการสะท้อนผลร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนารูปแบบและวิธีการให้เป็นระบบ 3.บริการให้การปรึกษา (Counseling Service) โรงเรียนควรมีการวางแผนกระบวนการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้รับคำปรึกษา โดยมุ่งเน้นส่งเสริมป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านต่าง ๆ ของนักเรียน มีการกำหนดแบบบันทึกการให้คำปรึกษาเป็นขั้นตอน เพื่อรวบรวมข้อมูลการให้คำปรึกษาอย่างเป็นระบบ ครูผู้เกี่ยวข้องควรมีการประเมินและติดตามผลเพื่อพัฒนารูปแบบและวิธีการให้คำปรึกษาให้ดียิ่งขึ้น 4.บริการจัดวางตัวบุคคล (Placement Service) โรงเรียนควรจัดการประชุมเพื่อวางแผน กำหนดนโยบาย และวัตถุประสงค์ด้านการบริการจัดวางตัวบุคคล กำหนดรูปแบบและจัดระดับความจำเป็นเร่งด่วนในการให้ความช่วยเหลือ มีการเชิญวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญมาสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาที่เหมาะสม รวมถึงครูผู้เกี่ยวข้องควรมีการสะท้อนผลและถ่ายทอดองค์ความรู้ร่วมกัน เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาบุคลากร5. บริการติดตามผล (Follow-up Service) โรงเรียนควรจัดการประชุมเพื่อวางแผน กำหนดนโยบาย และวัตถุประสงค์ด้านการบริการติดตามผล มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อติดตามผล ในการประเมินผลและวิเคราะห์ผล มีการกำหนดตารางการประชุม PLC ที่สม่ำเสมอ เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และแนวทางที่นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

Downloads

Downloads

Published

2025-03-07