การวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดสตูล
Factor Analysis of Administration of Pilot Educational Institutions in the Educational Innovation Area , Satun Province
Keywords:
องค์ประกอบการบริหารสถานศึกษานำร่อง พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา การพัฒนานวัตกรAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อการวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดสตูล และ2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบการบริหารสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดสตูล ประชากร ได้แก่ ครูและผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติหน้าที่การทำงานในสถานศึกษานำร่อง พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดสตูล ปีการศึกษา 2566 จำนวนทั้งหมด 405 คน สำหรับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่ปฏิบัติหน้าที่การทำงานในสถานศึกษานำร่อง พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดสตูล โดยเทียบจากตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan (1970) และเทียบสัดส่วนของจำนวนผู้บริหารสถานศึกษาต่อจำนวนครูจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 201 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 16 คน ครู จำนวน 185 คน ซึ่งทำการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับสลาก เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามความคิดเห็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.992 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดสตูล กับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดสตูล พบว่ามีองค์ประกอบ (ตัวแปรแฝง) 6 องค์ประกอบ และ ตัวแปรสังเกตได้ 23 ตัวบ่งชี้ ซึ่งเรียงลำดับตามค่าน้ำหนักองค์ประกอบ คือ การพัฒนานวัตกร ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม การบริหารงานวิชาการ นวัตกรรมเชิงระบบ การบริหารแบบมีส่วนร่วม และการบริหารแผนนวัตกรรม 2) ผลการตรวจสอบความสอดคล้องโมเดลโครงสร้างองค์ประกอบการบริหารสถานศึกษานำร่อง ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดสตูล กับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับสอดคล้องกลมกลืนดี ซึ่งมีค่าสถิติไค-สแควร์ เท่ากับ 136.091 ที่ P-Value = 0.710 ค่าไค-สแควส์สัมพัทธ์ เท่ากับ 0.932 ค่าดัชนีวัดความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 1.000 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.948 ค่าดัชนีความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.902 ค่าดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (RMR) เท่ากับ 0.011 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อน (RMSEA) เท่ากับ 0.000Downloads
Downloads
Published
2025-03-07
Issue
Section
Articles