ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาในจังหวัดนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา
Factors affecting the administration of educational institutions in pilot provinces Education Sandbox
Keywords:
ปัจจัยการบริหาร, สถานศึกษา, พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาในจังหวัดนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 2) ศึกษาการบริหารสถานศึกษาในจังหวัดนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาในจังหวัดนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา และ 4) เป็นแนวทางในการบริหารสถานศึกษาในจังหวัดนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จำนวน 108 คน ซึ่งได้จากการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan และเจาะจงกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารจำนวน 4 คน ในการสัมภาษณ์จากจังหวัดนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาภาคใต้ ซึ่งประกอบไปด้วย 4 จังหวัด ดังต่อไปนี้ 1) จังหวัดนราธิวาส 2) จังหวัดปัตตานี 3) จังหวัดยะลา และ 4) จังหวัดสตูล เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาปัจจัยการบริหารสถานศึกษาในจังหวัดนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดและมาก 2) ผลการศึกษาการบริหารสถานศึกษาในจังหวัดนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาในจังหวัดนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ได้แก่ การพัฒนาบุคลากร (X3) วัฒนธรรมและบรรยากาศในองค์กร (X4) เทคโนโลยีสารสนเทศ (X6) และ งบประมาณ (X7) 4) แนวทางในการบริหารสถานศึกษาในจังหวัดนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษามี 7 ด้าน ได้แก่ 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร: ผู้บริหารต้องมีความรู้ใน School Concept มีการมองการณ์ไกลและความเข้าใจในความต้องการของสถานศึกษา และจำเป็นต้องเป็นผู้นำที่ชัดเจนและมีความรับผิดชอบในการพัฒนาและส่งเสริมประสิทธิภาพของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งควรสนับสนุนครูให้เข้ารับการอบรมและการเรียนรู้ 2) โครงสร้างองค์กร: ควรมีการวางโครงสร้างที่ชัดเจนและเหมาะสมและควรมีการวางคนให้เหมาะสมกับงานและเหมาะสมกับความสามารถ 3) การพัฒนาบุคลากร: ควรพัฒนาครูให้มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการจัดการเรียนรู้ใหม่ ๆ มีความรู้และเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ของสถานศึกษา ควรมีความรู้ในระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และผู้บริหารจะต้องเน้นการอบรม การวิจัย และการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเสริมสร้างความรู้ ทักษะ และสมรรถนะของบุคลากรให้เหมาะสมกับความต้องการของสถานการณ์ของแต่ละสถานศึกษา 4) วัฒนธรรมและบรรยากาศในองค์กร: ควรส่งเสริมการสร้างความเป็นกัลยาณมิตรภายในองค์กร ควรสร้าง ส่งเสริม และสนับสนุนวัฒนธรรมและบรรยากาศที่ดีในสถานศึกษาของตนเอง และผู้บริหารต้องมองงานให้ออก อ่านคนให้ได้ และต้องรู้ว่าส่วนไหนมีวัฒนธรรมมีบรรยากาศในการทำงานแบบใด 5) การบริหารจัดการและกระบวนการบริหาร: ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญกับภารกิจต่าง ๆ ทั้งการวางแผนการทำงานและการนิเทศที่เกี่ยวข้องกับการสอนและการเรียนรู้ และต้องมีการบริหารจัดการและกระบวนการบริหารที่ดีและมีมาตรการในการจัดการทางการเงิน 6) เทคโนโลยีสารสนเทศ: ควรส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีให้มากขึ้นในการบริหารงานทุกฝ่าย ควรสร้างความเข้าใจในเรื่องของการใช้เทคโนโลยีให้กับบุคลากรของสถานศึกษา และ 7) งบประมาณ: ควรให้ความสำคัญในการจัดสรรและบริหารงบประมาณให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพตามความสำคัญและความจำเป็นของงานต่าง ๆ และโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งผู้บริหารควรมีการนำงบประมาณมาใช้อย่างคุ้มค่ามากที่สุดDownloads
Downloads
Published
2025-03-07
Issue
Section
Articles