การศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาทักษะดิจิทัลของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

The study of Assessment of the Needs and Guidelines for the 21st Century Teachers’ Digital Skills Development under the Secondary Educational Service Area Office in Bangkok Metropolis

Authors

  • วิณัฐธพัชร์ โพธิ์เพชร

Keywords:

ความต้องการจำเป็น, แนวทางการพัฒนา, ทักษะดิจิทัล, ครูในศตวรรษที่ 21

Abstract

           การวิจัยนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะดิจิทัลของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะดิจิทัลของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำแนกตามสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาทักษะดิจิทัลของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  ผู้บริหารและครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 6 เขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 405 คน สุ่มแบบหลายขั้นตอน ( Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ  คุณภาพเครื่องมือมีค่าความเชื่อมั่น 0.9070 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Window วิเคราะห์ข้อมูลความต้องการจำเป็น (Need Assessment) ด้วยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย (Mean) ระหว่างสภาพปัจจุบัน (Degree of success-D) และความต้องการในการพัฒนา (Importance-I)  ด้วย Modified Priority Needs Index ( PNI Modified) การวิเคราะห์เนื้อหาผลการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ             ผลการวิจัย พบว่า 1) ครูมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะดิจิทัลในศตวรรษที่ 21 ในระดับสูง ทั้ง 6 ด้าน  เรียงลำดับความต้องการเป็นจากมากไปหาน้อย   โดยด้านที่มีค่าความต้องการจำเป็นมากที่สุด คือ ด้านทักษะพื้นฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลมากที่สุด  รองลงมาคือ ด้านทักษะการประยุกต์ใช้สื่อดิจิทัลสำเร็จรูปในการจัดการเรียนรู้ ด้านทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงาน  ด้านทักษะการใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างปลอดภัย  ด้านทักษะการใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social media) และด้านทักษะการสร้างนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้และปัญญาประดิษฐ์(AI) ตามลำดับ 2) ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนา จำแนกตามเขตพื้นที่การศึกษา โดยเปรียบเทียบจากค่าดัชนีความต้องการจำเป็นพบว่า ทุกเขตพื้นที่การศึกษามีความต้องการในระดับสูงทุกเขต โดยครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นมากที่สุด 3) แนวทางการพัฒนาทักษะดิจิทัลของครูที่เหมาะสมคือ สถานศึกษาจัดพัฒนาเป็นการเฉพาะ โดยกระบวนการพัฒนา ได้แก่ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ  ส่งเสริมให้ครูทดลองใช้เครื่องมือดิจิทัลใหม่ๆ ในห้องเรียน ประสบการณ์จริงในการปรับใช้เทคโนโลยี ส่งเสริมให้ครูทำวิจัยแก้ปัญหาการเรียนรู้ในชั้นเรียนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และ สร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศดิจิทัลภายในสถานศึกษา

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2024-09-04